ครูแห่งทศวรรษใหม่
นาย นพรัตน์ ครูแห่งทศวรรษใหม่ มหิพันธุ์

แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนคำโพนทองราษฎร์นิยม พ.ศ.2553-2561


แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนคำโพนทองราษฎร์นิยม พ.ศ.2553-2561

แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนคำโพนทองราษฎร์นิยม พ.ศ. 2553 - 2561

 ภูมิหลัง

  โรงเรียนคำโพนทองราษฎร์นิยม  ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  30  มีนาคม  2524  โดยแยกมาจากโรงเรียนนามลวิทยาคาร  ตำบลโพนงาม  อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์  ในขั้นแรกเป็นสาขาของโรงเรียนนามลวิทยาคาร   ต่อมาในปี  2527  ได้ยกฐานะจากโรงเรียนสาขาเป็นโรงเรียนเอกเทศ    โดยมีนายประจักษ์  ถินวิลัย  รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

                ปัจจุบัน  โรงเรียนคำโพนทองราษฎร์นิยม  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่  5  ต.โคกสมบูรณ์  อ.กมลาไสย  จ.กาฬสินธุ์  รหัสไปรษณีย์  46130 มีพื้นที่  5  ไร่  1  งาน  62  ตารางวา  ระยะทางจากอำเภอกมลาไสย  20  กิโลเมตร  ระยะทางจากจังหวัดกาฬสินธุ์  33  กิโลเมตร จัดการศึกษาตั้งชั้นอนุบาล 1  จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ในปีการศึกษา  2552  มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น  65  คน  แยกเป็นนักเรียนชาย  29   คน  นักเรียนหญิง     36  คน  ครูผู้สอน  4  คน  พนักงานบริการ  1  คน    ครูธุรการ 1 คน

วิสัยทัศน์  

 “มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณธรรมนำความรู้  มีจิตสำนึกในความเป็นไทย จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ทันสมัย  พัฒนาครูสู่มารฐานอาชีพ  ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการศึกษา ”

พันธกิจ

1.  พัฒนาโรงเรียนตามแนวยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษารอบ 2   คือ คุณภาพ  โอกาส  และการมีส่วนร่วม

2.  จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มุ่งเน้นให้ผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมดุลทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข   

3.  พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีแห่งการเรียนรู้  และภูมิปัญญาในท้องถิ่น

4.  พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะสู่มาตรฐานวิชาชีพ     มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

5.  บริหารจัดการโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อชุมชน

เป้าประสงค์

1.  ผู้เรียนในเขตบริการทุกคนได้รับบริการการศึกษาอย่างทั่วถึง     ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

2.  ผู้เรียนทุกคนได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรม และสำนึกรักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

3. บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้  มีทักษะในการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนมีประสบการณ์สู่มาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง    มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

4.  ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน  และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

กลยุทธ์

  1. ปลูกฝังคุณธรรม  สำนึกในความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญา 
         เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
  2. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและ  

     ประถมศึกษา

3. เพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรวัยเรียนทั่วถึงและมีคุณภาพ

4. พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางศึกษา สู่มาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง

5. พัฒนาสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียนและชุมชน

6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  ชุมชน  ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

แผนงานการดำเนินงาน  

กลยุทธ์ที่  1. ปลูกฝังคุณธรรม  สำนึกในความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                      สู่การปฏิบัติ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.  โรงเรียนเป็นสถานศึกษา  3D (Democracy, Decency, Drug-free)  ส่งเข้าแข่งขันระดับ สพท.

2.  นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  เข้าร่วมกิจกรรมคุณธรรมนำความรู้   กิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

 3.  ผู้บริหาร และข้าราชการครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 80   มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

                 4.  ครูและบุคลากรในโรงเรียนทุกคน  น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจริง

กิจกรรมที่เป็นจุดเน้น

1.  เข้าค่ายการเรียนรู้หลักธรรมทางศาสนาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และน้อมนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  

                2.  ส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์  สังคมศึกษาและประชาธิปไตย

                3.  ส่งเสริมดนตรี นาฏศิลป์ไทยและพื้นบ้าน

                3.  พัฒนากิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารีในสถานศึกษา

4.  เน้นการส่งเสริมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่ผ่านกระบวนการลูกเสือ

กลยุทธ์ที่ 2  ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  ภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ  สังคมศึกษาฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ของส่วนที่เหลือ

2.  ผู้เรียนทุกคนมีนิสัยรักการอ่าน  และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีแห่งการเรียนรู้

3.  นักเรียนระดับประถมศึกษาทุกคนอ่านหนังสือคล่องและเขียนหนังสือได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามระดับชั้นที่เรียน  ยกเว้นผู้ที่มีข้อบกพร่องในการเรียนรู้ที่ต้องได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ

4.  เด็กปฐมวัยทุกคนมีพัฒนาการทุกด้านที่เหมาะสมกับวัย

 

กิจกรรมที่เป็นจุดเน้น

  1. ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนระดับชาติ  ท้องถิ่น โรงเรียน  ห้องเรียน
  2. พัฒนาการอ่านคล่อง เขียนได้ ในระดับประถมศึกษา สนับสนุนในเรื่องเทคนิคการสอนอ่านเขียน การสอนภาษา ส่งเสริมการสอนเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
  3. ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  โดยพัฒนาห้องสมุด 3  ดี (หนังสือดี  บรรยากาศดี  บรรณารักษ์ดี)   
  4. พัฒนาเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (LD)  และความสามารถพิเศษได้เต็มตามศักยภาพ
  5. ส่งเสริมนักเรียนเข้าแข่งขันศิลปหัตถกรรมหรือมหกรรมทางวิชาการ

กลยุทธ์ที่ 3   เพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรวัยเรียนทั่วถึงและมีคุณภาพ

                ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.  ร้อยละเด็กกลุ่มปฐมวัยที่มีชื่อในทะเบียนราษฎร์ที่มีที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการ ได้เข้าเรียนก่อนประถมศึกษาร้อยละ 100

2.  นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ทั้งนักเรียนปกติ พิการ ด้อยโอกาสได้ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 100

3. นักเรียนทุกคนได้สิทธิเรียนฟรี  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเล่าเรียน  ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน  ค่าชุดนักเรียน  ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

4.  นักเรียนทุกคนได้รับการดูแล ช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาเต็มศักยภาพจนจบการศึกษาโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

กิจกรรมที่เป็นจุดเน้น

1.  จัดทำสำมะโนนักเรียนประชากรวัยเรียนก่อนประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้เข้าเรียน

                3.  จัดสรรโอกาสให้นักเรียนทุกคนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนต่อชั้น

มัธยมศึกษาปีที่  1  ทุกคน

                4.  สนับสนุนงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

                5.  ส่งเสริมการระดมทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และเด็กด้อยโอกาส 

 

กลยุทธ์ที่ 4  พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางศึกษา สู่มาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  1. จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับพื้นฐาน สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน
  2. สามารถพัฒนาครูผู้สอนตามระดับการพัฒนาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ทุกคน
  3. ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาได้เลื่อนวิทยะฐานะสูงขึ้น

กิจกรรมที่เป็นจุดเน้น

  1. พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโดยเน้นการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดโดยใช้รูปแบบที่หลากหลาย
  2. การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนทุกคนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม การปฏิรูปการเรียนการสอน  เป็นครูดี  ครูเก่ง และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง  
  3. พัฒนาระบบนิเทศ  ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของครูผู้สอน
  4. พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีศักยภาพสามารถปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กลยุทธ์ที่  5   พัฒนาสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียนและชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  1. โรงเรียนได้รับการรับรองการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. โดยมีผลการการประเมินทุกมาตรฐานอยู่ในระดับดีขึ้นไป
  2. โรงเรียนพัฒนาให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ยั่งยืน
  3. โรงเรียนมีสภาพภูมิทัศน์ อาคารเรียน อาคารประกอบ  สวยงาม  น่าอยู่  น่าเรียน  และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันและทันสมัย
  4. โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  ห้องปฏิบัติการทางภาษา  ห้องสมุด  อยู่ในสภาพดีและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน

กิจกรรมที่เป็นจุดเน้น

  1. ตรวจสอบ ทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของ สพฐ.  และ  สมศ.
  2. พัฒนาห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการ  แหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  3. พัฒนาส้วมตามมาตรฐานส้วมสุขสันต์ (Healthy  Accessibilty  Safety : HAS)
  4. พัฒนาสภาพภูมิทัศน์ อาคารเรียน อาคารประกอบ  สวยงาม  น่าอยู่  น่าเรียน  และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันและทันสมัย

กลยุทธ์ที่  6           ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  ชุมชน  ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.  สถานศึกษามีการการกระจายอำนาจในด้านวิชาการ   งบประมาณ  บุคลากร  และ  บริหารทั่วไป  สู่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

2.  สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด

3. ผู้รับบริการ ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการให้บริการของสถานศึกษา

กิจกรรมที่เป็นจุดเน้น

1.  ส่งเสริมบทบาทคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีส่วนร่วมในการระดมทุนเพื่อการศึกษาและการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2.  บุคลากรในสถานศึกษาร้อยละ 80 มีศักยภาพในการปฏิบัติงานตามภารกิจตามแนวทางการกระจายอำนาจ

3.  สถานศึกษามีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ยึดชุมชนเป็นหลัก  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.  รายงานผลการดำเนินประจำปีของสถานศึกษา  เสนอหน่วยงานต้นสังกัดและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ

5.  จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ มีครอบคลุม ถูกต้องเป็นปัจจุบันสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว

6.  นำเสนอ Best Practice ของสถานศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ความมุ่งหวังและต้องการของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2553 - 2561

1.  ผู้เรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน   โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน  ค่าอุปกรณ์การเรียน  ค่าเครื่องแบบนักเรียน  ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

2. มีครูครบตามเกณฑ์และสอนตรงตามวิชาเอกและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. มีบุคลากรสนับสนุนการสอนปฏิบัติหน้าที่งานธุรการ การเงิน  พัสดุ และพนักงานบริการ

4. สถานศึกษามีสื่อเทคโนโลยี  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ และมีห้องปฏิบัติการที่ครบสมบูรณ์

5. สถานศึกษามีสภาพภูมิทัศน์ร่มรื่น  สวยงาม  น่าอยู่  น่าเรียน  มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันและทันสมัย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียนและชุมชน

6. ชุมชนมีความเข้มแข็งในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา  และมีส่วนในการบริหารจัดการการศึกษา

หมายเลขบันทึก: 355429เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท