โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา


โครงการ การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9

ผู้จัดทำโครงการ นางสาวศิรินทรา มหาไม้

หลักการและเหตุผล

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เป็นเด็กที่มีความยากลำบากในการรับและแปลผลข้อมูลมากกว่าเด็กปกติทั่วไป จึงทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามรถในการเรียนรู้ช้า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์มักประสบกับความยากลำบาก ตั้งแต่การเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของจำนวนและตัวเลข การเขียนตัวเลขแทนจำนวน หลักเลข และค่าของตัวเลขในแต่ละหลัก รวมถึงการแก้โจทย์ปัญหา เมื่อนักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจในสาระพื้นฐานดังกล่าวแล้ว นักเรียนจะไม่สามารถสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

ผู้จัดทำจึงได้จัดทำชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขึ้น เพื่อมุ่งช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ รวมถึงนักเรียนทุกคนที่มีความยากลำบากในการเรียนคณิตศาสตร์

วัตถุประสงค์

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบวกจำนวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 9

2. นักเรียนสามารถบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ได้

3. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิดคำนวณให้กับนักเรียน

ขอบเขตของสื่อนวัตกรรมที่นำไปใช้

1. เนื้อหาวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9

ส่วนประกอบของชุดการสอน

  • บทเรียนจัดเป็นศูนย์การเรียน 4 ศูนย์ แต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้

ศูนย์ที่ 1 ชุดรูปภาพแทนจำนวน

ศูนย์ที่ 2 ชุดตัวเลข

ศูนย์ที่ 3 เกมโดมิโนการบวก

ศูนย์ที่ 4 ปิงโกจอมปัญหา

  • แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ
  • ซองแบบฝึกปฏิบัติ
  • คู่มือครู 1 เล่ม
  • กล่องชุดการสอน 1 กล่อง

แผนการสอน

เนื้อเรื่อง

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอน

ประเมินผล

 

ก. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1. ทบทวนความรู้เรื่อง การเขียนตัวเลขแทนจำนวน

2. แบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม

บัตรคำ  การเขียนตัวเลขแทนจำนวน

ก. ประเมินผลก่อนเรียน

ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 10 ข้อ

1. การบวกด้วยภาพ

ข. ขั้นประกอบกิจกรรม

1. อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามคำสั่ง

2. อ่านบัตรเนื้อหา

3. ร่วมกันอภิปราย

4. อ่านบัตรคำถาม

5. ตอบคำถามปรนัยแบบเติมคำตอบ 

6. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

1. บัตรคำสั่ง

2.บัตรเนื้อหา

3. บัตรคำถาม

4. บัตรเฉลย

 

ข. ประเมินผลกิจกรรม

นักเรียนสามารถบวกจำนวนสองจำนวนจากภาพได้

2. การบวกด้วยตัวเลข

1. อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามคำสั่ง

2. อ่านบัตรเนื้อหา

3. ร่วมกันอภิปราย

4. อ่านบัตรคำถาม

5. ตอบคำถามปรนัยแบบโยงเส้นคำตอบ

6. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

1. บัตรคำสั่ง

2.บัตรเนื้อหา

3. บัตรคำถาม

4. บัตรเฉลย

 

นักเรียนสามารถบวกจำนวนสองจำนวนจากตัวเลขได้

3. การบวกด้วยรูปภาพและตัวเลข

1. อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามคำสั่ง

2. อ่านบัตรเนื้อหา

3. ร่วมกันอภิปราย

4. เกมโดมิโนการบวก

5. อ่านบัตรคำถาม

6. ตอบคำถามปรนัยแบบวงจำนวนที่ถูกต้อง

7. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

1. บัตรคำสั่ง

2. บัตรเนื้อหา

3. เกมโดมิโนการบวก

4. บัตรคำถาม

5. บัตรเฉลย

 

นักเรียนสามารถบวกจำนวนสองจำนวนจากรูปภาพและตัวเลขได้

4. เกมปิงโกจอมปัญหา  เกมจริงหรือมั่วนิ่ม

1. อ่านบัตรคำสั่ง

2. ร่วมกันเล่นเกมปิงโกจอมปัญหา

3. ร่วมกันเล่นเกมจริงหรือมั่วนิ่ม

1. บัตรคำสั่ง

2.  เกมปิงโกจอมปัญหา

3. จริงหรทอทั่วนิ่ม

นักเรียนสามารถบวกเลขได้อย่างถูกต้องอย่างน้อย 3 ข้อ

 

ค. ขั้นสรุปการเรียน

นักเรียนและครูอภิปรายสรุปร่วมกัน

 

ค.ประเมินหลังเรียน

นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 10 ข้อ

2. ระดับชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 1

3. นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 9

2. นักเรียนสามารถบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ได้

3. นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดคำนวณ

ขั้นตอนการดำเนินงาน 

การดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน

หมายเหตุ

เขียนโครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

26 เม.ย. - 2 พ.ค.

 

รออนุมัติโครงการ

3 - 7 พ.ค.

 

ร่างเนื้อหาที่จะนำไปใช้ในบทเรียน (ชุดการสอน)

8 - 11 พ.ค.

 

สร้างสื่อตามศูนย์ที่กำหนด

12 - 16 พ.ค.

 

ทำคู่มือวิธีการใช้สื่อ

17 -19 พ.ค.

 

ทดลองใช้สื่อ

20 พ.ค.

 

สรุปผลโครงการ

21 พ.ค.

 

ระยะเวลาในการจัดทำ

26 เมษายน 2553 - 21 พฤษภาคม 2553

งบประมาณที่ใช้จริง

1,000 บาท

บรรณานุกรม

สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่ มือฝึกอบรมหลักสูตรบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อยกระดับการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนารูปแบบและประสารความร่วมมือด้านเทคโนโลยี สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553.

ผ่องเพ็ญ อาชาเทวัญ. แบบฝึกคณิตศาสตร์ ป.1. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์ SKYKID.

เสรี วรสิทธิกร. ฝึกคณิตศาสตร์ ป.1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง 09.

หมายเลขบันทึก: 355424เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ICT Program Microsoft Multipoint Thailand เป็นเพียงวิธีการสอนประเภทหนึ่งเท่านั้นครับ ... ต้องมีกระบวนการเรียนที่มากกว่า หลากหลายกว่านั้น ;)

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้คำแนะนำค่ะ

จะทำการปรับปรุงแก้ไขให้เร็วที่สุดค่ะ

ครูหวังว่า 4 ศูนย์การเรียนจะมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันนะครับ

อย่าให้เนื้อหาขาดการเชื่อมโยงกันโดยเด็ดขาด มิฉะนั้น เด็กจะต่อความรู้ไม่ได้

เอ้า ลองลงมือทำดูครับ ;)

ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้คำแนะนำค่ะ

เขียนเป็นแผนการสอนจะเห็นกระบวนการที่ชัดเจนกว่านะครับ

ตามตัวอย่างในคู่มือครู ;)

ดิฉันจะทำการแก้ไขปรับปรุงตามที่อาจารย์แนะนำค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท