บันทึกที่ 7 การเขียนโครงการผลิตสื่อ


การขยายพันธุ์พืช (แบบเสียบยอด)

1ชื่อโครงการ :

         ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชโดย การเสียบยอด (มะม่วง)

 

2.   ชื่อผู้จัดทำโครงการ :   นาย ดนัย     โนพี

 

3.   หลักการและเหตุผล

       เนื่องจากสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ในการศึกษาเรื่องการเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัดทั้งเรื่องเวลาและสถานที่จึงทำให้ขาดทักษะในการเรียนรู้ เช่น จะมีปัญหาในด้านการทำความเข้าใจ การลงมือปฏิบัติ โดยเฉพาะระบบวงจรหรือความแตกต่างพื้นฐานของสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว   ดังนั้นทางผู้จัดทำได้แลเห็นปัญหาดังกล่าว จึงขอจัดทำโครงการ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเสียบยอด(มะม่วง) สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 3  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองโดยการลงมือปฎิบัติจริงและสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องต่อไป

 

4.   วัตถุประสงค์

        1.  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะเกี่ยวการขยายพันธุ์พืช โดยการเสียบยอด(มะม่วง) ที่ถูกต้อง

        2.  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชในด้านการเสียบยอด(มะม่วง)

        3.  เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้หรือชุมชนได้

        4 . เพื่อให้นักเรียนมีทัศนะคติต่อการเกษตรและการขยายพันธุ์พืชใหม่

  

5.  เนื้อหาที่ศึกษา

            1.  ศึกษาขั้นตอนและวิธีการปฎิบัติในเรื่องการเสียบยอด (มะม่วง) โดยการศึกษาตามเอกสารที่ครูกำหนดไว้ให้

            2.  ศึกษาประเภทของเครื่องมือ-และวิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเสียบยอด(มะม่วง)ตามเอกสารที่ครูกำหนดไว้ให้

           

 

6.    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

              1.  นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชโดยการเสียบยอด(มะม่วง)

              2.  นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

              3.  นักเรียนสามารถนำความรู้ไปทำการขยายพันธุ์พืชเองได้ และสามารถที่เผยแพร่ให้กับชุมชนของตัวเองได้            

  

7.   ขั้นตอนการดำเนินงาน

                1.  ขั้นตอนการเตรียมงาน/การวางแผนเพื่อขออนุมัติโครงการ

                2.  กำหนดรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชโดยการเสียบยอด(มะม่วง) โดยทำก่ารแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆกล่มละ 4 -5 คน แล้วให้นักเรียนทำการศึกษาในแต่ละฐานที่กำหนดไว้ พร้อมทำแบบทดสอบในแต่ละฐาน

                3.  ดำเนินรูปแบบและลักษณะการจัดกิจกรรมในโครงการการขยายพันธุ์พืชโดยการเสียบยอด(มะม่วง)โดยใช้ฐานต่างๆมีดังนี้

                4.  จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขยายพันธุ์พืชโดยการเสียบยอด(มะม่วง)

กระบวนการ

เนื้อเรื่อง

กิจกรรมการเรียน

สื่อการสอน

 

ประเมินผล

 

 

ก.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

  1. ทบทวนความรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืช ยกตัวอย่างการขยายพันธุ์พืช พอเข้าใจ
  2. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม

บัตรคำที่มีประเภทต่าง ของการขยายพันธุ์พืช

ก.ประเมินผลก่อนเรียนทำข้อทดสอบก่อนเรียน 10 ข้อ

1.การศึกษาวิธีการการเสียบยอด

ข.ขั้นประกอบกิจกรรม

  1. อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามคำสั่ง
  2. อ่านบัตรเนื้อหา
  3. ศึกษาวิธีการการเสียบยอดจากตัวอย่าง
  4. ตอบคำถามแบบเลือกตอบ
  5. ตรวจคำตอบจากบัตร

ทำตามขั้นตอน

  1. บัตรคำสั่ง
  2. บัตรเนื้อหา
  3. อ่านวิธีการการเสียบยอด
  4. อ่านบัตรเติมคำ
  5. บัตรเฉลย

ข.ประเมินผลกิจกรรม

  1. นักเรียนบอกลักษณะของวิธีการการเสียบยอดได้

      2. นักเรียนบอกวิธีการการเสียบยอดได้

      3. นักเรียนยกตัวอย่างวิธีการการเสียบยอด

ได้

 

2. การศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเสียบยอด

  1. อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามคำสั่ง
  2. อ่านบัตรเนื้อหา
  3. ทำกิจกรรมตามใบงาน
  4. ร่วมกันเล่นเกมการจับคู่อุปกรณ์
  5. อ่านบัตรคำถาม
  6. ตอบคำถามแบบจับคู่

       7.   ตรวจคำตอบจากบัตร

ทำตามขั้นตอน

  1. บัตรคำสั่ง
  2. บัตรเนื้อหา
  3. เกมการจับคู่อุปกรณ์
  4. อ่านบัตรคำถาม

      5.    บัตรเฉลย

  1. นักเรียนบอกลักษณะของอุปกรณ์ ได้
  2.  นักเรียนแยกแยะอุปกรณ์ได้

 

 

3.ระดมความคิดองค์ความรู้

ในการขยายพันธุ์พืชแล้วปฏิบัติ

  1. อ่านบัตรคำสั่งแล้วปฏิบัติตามคำสั่ง
  2. อ่านบัตรเนื้อหา
  3. ลงมือทำในการเสียบยอด
  4. อ่านบัตรคำถาม
  5. ตอบคำถาม
  6. ตรวจคำตอบจากบัตร

ทำตามขั้นตอน

  1. บัตรคำสั่ง
  2. บัตรเนื้อหา
  3. ลงมือปฏิบัติการเสียบยอด
  4. การเขียน mind map
  5. อ่านบัตรคำถาม

      6.   บัตรเฉลย

นักเรียนบอกลักษณะ องค์รวมของการขยายพันธุ์โดยการเสียบกิ่ง ในรูปแบบการปฏิบัติและ การเขียนmind map

 

 

ค. ขั้นสรุปการเรียน

1.   นักเรียนและครูอภิปรายสรุปร่วมกัน

 

 

ค. ประเมินผลหลังเรียนนักเรียนทำข้อทดสอบหลังเรียน 10 ข้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8.   ระยะเวลาการดำเนินงาน    ตั้งแต่วันที่  28  เมษายน 2553  ถึง วันที่  30  พฤษภาคม  2553

                                                                             

                   1.  ศึกษาเอกสาร                           28        เมษายน  -  1       พฤษภาคม 2553

                   2.  เขียนโครงการ/นำเสนออาจารย์     1-8        พฤษภาคม   2553

                   3.  ดำเนินโครงการตามขั้นตอน          8-14      พฤษภาคม   2553

                   4.  ประเมินผลการดำเนินงาน            15-22     พฤษภาคม   2553

                   5.  สรุปผลการดำเนินงาน และจัดส่ง   23-28     พฤษภาคม   2553

                   6.  จัดทำรูปเล่มรายงาน                   26-30     พฤษภาคม   2553

 

9.  งบประมาณที่ใช้จริง

      -  ค่าถ่ายเอกสาร/ปริ้นงาน/หมึกพิมพ์                        400         บาท

      -  ค่ากระดาษ A4 / กระดาษวาดภาพ                        200         บาท

      -  ค่าอุปกรณ์เครื่องมือในการเสียบยอด                      200         บาท

      -  เข้าเล่มรายงาน                                                150         บาท

                                          งบประมาณ                    950         บาท

 

10.  บรรณานุกรม

          การขยายพันธุ์พืช  รวมภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ พร้อมภาพประกอบ  นันทิยา  สมานนท์  2526 สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพ

             คู่มือพืชสวนเศรษฐกิจ    ส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร   มีนาคม  2543  พิมพ์  ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

            

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 355318เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ ว่าที่คุณครู ท่านขุน ;)

ผมว่า ท่านทำเป็น "ชุดการสอนแบบรายบุคคล" ไปเลยดีไหมครับ

เขียน Flowchart ขั้นตอนการเรียนดู แล้วมีสื่อการสอนที่หลายหลากอยู่ภายใน เช่น PPT ที่นำเสนอก็เป็นส่วนหนึ่ง หาสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะกับเนื้อหามาอีกครับ

ว่าแต่ ช่วงชั้นที่ 4 - 5 นี่ มีจริง ๆ เหรอครับ ???

ขอเป็นตามหลักสูตรจริงนะครับ ;)

ลองแก้ไขในบันทึกนี้เลยก็ได้ครับ

อาจารย์ครับ

ผมทำการแก้ไขการผลิตสือใหม่แล้วนะครับ

ขื่อโครงการ ... น่าจะเป็น "ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ..."

ชุดการสอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ... ???

เวลาเรียน เรียนเป็นกลุ่ม หรือ รายบุคคล ครับ

เรียนตามศูนย์การเรียนใช่ไหมครับ ?

ทั้ง 4 ศูนย์การเรียน ต้องเป็น "เนื้อหา" ครับ

ดังนั้น ศูนย์ที่ 4 ไม่น่าใช่ เพราะการทดสอบต้องมีทุกศูนย์อยู่แล้ว เพื่อวัดความเข้าใจ

อ่านหนังสือการผลิตชุดการสอนดูนะครับ ... ว่าแต่ละศูนย์ควรเป็นอย่างไร

แล้วปรับใช้กับเนื้อหาที่เลือก ;)

ศูนย์การเรียนมี 3 ศูนย์ แต่ละศูนย์มีเนื้อหาที่ถูกแบ่งออกมา และกิจกรรม/เกม/วิธีการเรียนรู้ แล้วมีแบบฝึกหัดวัดความรู้ว่าเข้าใจหรือไม่

ดนัย ... ไปอ่านคู่มือครู / วิธีการผลิตชุดการสอนให้ดี ๆ ครับ

ขั้นตอนภายในแบบนี้ ... ต้องอ่านครับ และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำด้วย

ปรับครับ ;)

ครับ ทำการแก้ไขแล้วครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมไก้ไขแล้วนะครับ

แผนการสอน ในช่อง กิจกรรมการเรียน ... ไม่มีสื่อการสอนที่เลือกใช้หรือครับ ... หาทางแทรกด้วยครับ ทุกศูนย์

แล้วก็ศูนย์การเรียนที่ 3 ครูว่า น่าจะเป็นศูนย์ที่เด็กมีโอกาสได้ลงมือทำจริงเลยไม่ใช่เหรอครับ หากมาทำ Mind Map ก็จะไม่มีประโยชน์เท่ากับการลงมือ แต่ต้องเขียนบัตรคำสั่งและเตรียมอุปกรณ์ให้ดี ๆ มิฉะนั้น เด็กจะทำไม่ได้

ถ้าจะใช้ Mind Map เป็นตัวสรุปหลังจากการทำจริง ก็ย่อมได้ เพราะ 1 ศูนย์การเรียน สามารถใช้เครื่องมือ/สื่อการเรียน/กิจกรรม ได้มากกว่า 1 สื่อแน่นอนครับ

ปรับเลยครับ ;)

อาจารย์ครับ

ผมทำการแก้ไขแล้วครับผม

ยืนยันตามความคิดเห็นที่ 7 ครับ

อย่าลืมแก้ไขโครงการด้วยนะครับ ตรง MIND MAP ;)

อาจารย์แล้วผมจะแก้ที่ไหนครับ

ช่วยบอกหน่อยครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท