ช่างไฟฟ้ามิใช่ช่างเถอะ! (นวัตกรรมของพวกเขา)


ถอดบทเรียนงานช่างไฟฟ้า

          บุคลากรในหน่วยอาคารสถานที่ของสำนักหอสมุด มีสมาชิกส่วนหนึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ และช่างเครื่องยนต์ พวกเขาได้จับกลุ่มคุยกัน เพื่อร่วมกันหาแนวทางการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้าแสงสว่าง

         พวกเขามีการล้อมวงระดมความคิดแก้ไขปัญหาหรือหาทางพัฒนาต่อยอดงานร่วมกันเป็นประจำสม่ำเสมอ เดือนละหนึ่งครั้ง เป็นการคุยอย่างไม่เป็นทางการ คุยแบบสบายๆนอกห้องประชุม (ปกติมีกลุ่มงานช่างหน่วยอาคารสถานที่ของสำนักหอสมุดจะมีงานประชุมอย่างเป็นทางการ เดือนละ 2 ครั้ง)

         การล้อมวงของพวกเขา มีกิจกรรมที่โดดเด่นมากพอที่ฉันจะขอนำมาเล่าต่อเนื่องบันทึกที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนยืนยันกิจกรรมการสื่อสารที่นำมาใช้ในกระบวนการจัดการความรู้ของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสำนัก

         การล้อมวงคุยกันที่ว่านั้น พวกเขาต้องการหาแนวทางลดการใช้กระแสไฟฟ้าด้านแสงสว่างสำนักหอสมุด(อาคารเดิม) เนื่องจากปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคารมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอยู่เรื่อยๆ ผลสรุปของพวกเขาทำให้ได้ผลงานอยู่สองประการ ดังนี้

  1. ติดตั้งสวิทช์กระตุก พื้นที่ให้บริการชั้นหนังสืออาคารเดิมและอาคารใหม่
  2. กำหนดการเปิด-ปิด สวิทช์ไฟแสงสว่างในช่วงเช้าเวลาเวลาพนักงานเข้าทำความสะอาด   ก่อนเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงาน  โดยจะกำหนดเป็นมาตรการให้ปฏิบัติเป็นประจำ ทั้งนี้หากได้กำหนดเป็นมาตรการเรียบร้อยแล้วจะได้ทำบันทึกแจ้งผู้บริหารเพื่อทราบ ต่อไป

         สิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่ฉันขอนำมาเล่าต่อไปนี้คือ การทำงานประจำของพวกเขาทำให้เกิดมีผลงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมเกิดขึ้น

 

การติดตั้งสวิทช์กระตุก พื้นที่ให้บริการชั้นหนังสืออาคารเดิมและอาคารใหม่ นับเป็นกิจกรรมในงานเชิงสร้างสรรค์/นวัตกรรม

         จากการซักถามที่มาที่ไปของสวิทซ์ไฟฟ้าแบบกระตุก นั้น พวกเขาพาเราย้อนกลับไปในช่วงเวลาหนึ่งที่กลุ่มคนในงานช่างไฟฟ้าคุยกันจนเกิดแนวคิดว่า ปกติชาวช่างไม่ได้ปฏิบัติงานอยู่กับโต๊ะทำงานตลอด และหากจะปิดไฟฟ้าเฉพาะที่โต๊ะทำงานก็ทำไม่ได้เพราะว่าสวิทช์ไฟฟ้าต่อพ่วงกันทั้งห้อง(ปิดไฟฟ้าแสงสว่างเท่ากับปิดไฟฟ้าทั้งห้อง)

         ปัญหาคือ จะทำอย่างไรให้มีการประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่โต๊ะทำงาน

         เพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มมีโอกาสได้เรียนรู้รับประสบการณ์ผ่านการศึกษาดูงานหน่วยงาน/ห้องสมุดต่างๆ ได้เล่าให้ฟังว่า ขณะที่ไปดูงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรงานช่างไฟฟ้าด้วยกัน และมองเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนา ปรับ ต่อยอดการทำงาน  ดังนั้นพวกเขาจึงทดลองหาสวิทช์เปิด-ปิด แบบสายกระตุกมาติดตั้งเฉพาะในส่วนของโคมไฟฟ้าแสงสว่างที่อยู่เหนือโต๊ะทำงานของช่าง และเมื่อไม่มีการทำงานที่โต๊ะก็เพียงแต่ดึงสายกระตุกปิดไฟฟ้าแสงสว่างเท่านั้น  ซึ่งจะไม่มีผลต่อไฟฟ้าแสงสว่างของโต๊ะทำงานอื่นๆ 

         จากแนวความคิดนี้กลุ่มงานช่างได้นำไปทดลองทำ ผลปรากฏว่าสามารถดำเนินการได้  จึงได้มีการขยายการดำเนินการออกไปยังพื้นที่ให้บริการในห้องสมุด  โดยจัดทำโครงการเพื่อของบประมาณมาจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อดำเนินการ  ซึ่งมีผลทำให้สำนักหอสมุดสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้  และยังสามารถขยายการดำเนินการดังกล่าวมาจัดทำโครงการ  ของบประมาณมาดำเนินการในส่วนของห้องปฏิบัติงานบุคลากรในงานอื่นๆได้ ต่อไป

สิ่งที่สำคัญของกิจกรรมครั้งนี้ ฉันคิดว่าอยู่ที่กระบวนการจัดการความรู้ของพวกเขา ที่มีการคิดมองปัญหาร่วมกัน พัฒนาทดลองปฏิบัติงานด้วยกัน จนเกิดความมั่นใจว่าจะช่วยให้เป้าหมายของงานที่ตั้งไว้บรรลุ ถึงขั้นตอนนำเสนอโครงการต่อฝ่ายบริหาร เพื่อให้ความเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณ และดำเนินการพัฒนาในงานประจำของพวกเขาต่อไป

นับเป็นการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมตามนโยบายของหน่วยงาน

 

หมายเลขบันทึก: 353802เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2010 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดี ครับ คุณ ดาวลูกไก่

ขอปรบมือให้ กับ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์นี้ นะครับ

ทำยากมั้ย ครับ....

ที่สำคัญรูปทรงมองดูสมัยใหม่ มาก ๆ นะครับ

จะคอยติดตาม บันทึกต่อยอดจากบันทึกนี้ อีก นะครับ

ขอบพระคุณ ครับ

ทุกคนมีส่วนสำคัญ ยินดีด้วยคะ ช่างไฟคิดนวตกรรมได้สำเร็จ

สวัสดีค่ะคุณ แสงแห่งความดี

งานของบุคลากรทำงานช่างค่ะ สิ่งที่เขาคิดแปลกดี กระตุกเปิดไฟเฉพาะพื้นที่ ติดตามกิจกรรมพวกเขาอยู่ห่างๆ มาเรื่อยๆ พองานสำเร็จก็เป็นความภาคภูมิใจของพวกเขาคนทำงานนะคะ เราก็พลอยยินดีไปด้วย (แอบเอาหน้า...)

ณ เวลานี้ดาวลูกไก่กำลังเรียนรู้การถอดบทเรียนไปด้วยค่ะ (มือใหม่ๆ) ยังมีเรื่องของงานอื่นๆ อีกหลายเรื่อง และเรื่องของงานตัวเองด้วย ที่เข้าแถวรอดาวลูกไก่(ว่าง)อย่างอดทนค่ะ (ช่วงนี้เผื่อเวลาไปเรียนรู้เล่นเกมอยู่ด้วยค่ะ)

สวัสดีค่ะคุณพี่ไก่ ประกาย~natachoei ที่~natadee

สนับสนุนความคิดเห็นของพี่ไก่ค่ะ การผลักดันกิจกรรมกระบวนการทำงานโดยให้แต่ละคนมีส่วนได้แสดงออก ทำให้ เกิดการมองกว้างมากขึ้น รอบคอบมากขึ้น มีเหตุผลประกอบและคนลงมือทำถูกใจพอใจเพราะเป็นคนคิดเองทำเอง สำเร็จก็เป็นเรื่องน่ายินดี

แต่ถึงจะไม่สำเร็จก็นับเป็นบทเรียนที่มีค่าที่ได้ทราบ นำมาบอกเล่ากัน เพื่อไม่ทำซ้ำหรือไม่ก็เพื่อบอกคนอื่นๆ ว่าไม่ต้องทำตามนั้น (Bad Practice) นะคะ

การตั้งคำถาม...อยากประหยัดพลังงานไฟฟ้า..แต่มีความสว่างกว่าเดิม..ก็จุดประกายการคิดสร้างสรรค์ของช่างฯ แล้วนะคะ..การประหยัดพลังงานได้ผลแน่นอนนะคะ

สวัสดีค่ะน้องครู

P

rinda

ประกายความคิดของพวกเค้า มีแว้บๆ บ่อยมากเลยค่ะ แต่เค้าปิดกั้นตัวเองมากไป ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท