ร่องรอยที่เหลือไว้และได้ไปจากการประชุม PCU ในฝัน ที่หาดใหญ่


หมอ(อนามัย) พยาบาล แพทย์ เนี่ยรู้มาก (เยอะ) แต่ชาวบ้านยังขาดทำยังไงดี ให้ชาวบ้านรู้เยอะด้วย อย่างเช่น "ยุง" คำเดียวรัฐบาลหมดเงินไปเท่าไร ปี ๆ นึง อันนี้ต้องให้ชาวบ้านรู้ และเห็นความสำคัญจะได้ตระหนัก ให้บอกด้วยว่าถ้าไม่เอาไปจัดการยุง จะเหลือได้ทำอะไรเพื่อเขา เมื่อเขาไม่รู้เขาก็เฉย ๆ เรื่องนี้สำคัญ

ร่องรอยที่เหลือไว้และได้ไปจากการประชุม PCU ในฝัน ที่หาดใหญ่

เรื่องของคุณ(ลุง) ลับ ลัภย์ หนูประดิษฐ์

     วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PCU ในฝัน ภาคใต้ วันที่ 5 - 6 กันยายน 2548 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ช่วงเช้าของวันนี้ คุณ(ลุง) ลับ ลัภย์ หนูประดิษฐ์ ("ลุง" ใช้สื่อถึงความเคารพต่อท่าน) เป็นวิทยากรกร ฟังท่านเล่า (ภาษากลาง) ไปหัวเราะไป เก็บทองแดงไปด้วย แต่คนพูดไม่เห็นจะสนใจว่าทองแดงตกเลยท่าก็พูดไปเรื่อย พูดเล่าจากประสบการณ์จริง เลยพูดได้ตรงกับปัญหา คือรู้จริงกับปัญหา และทายได้ด้วยว่าถ้าจะไปทำก็ต้องเจอจะมากหรือน้อยเท่านั้น เจอก่อนแล้วปรับแก้ไปตามเรื่องที่เจอ แล้วจึงสำเร็จ ถ้าไม่เจอเพราะไม่ลงมือทำ แล้วก็จะไม่สำเร็จ (สรุปได้ว่าอย่างนั้น) ผมจดคำกลอนที่ท่านสอดแทรกไม่ทัน (พูดเร็วแบบคนใต้) แต่ก็ช่วย ๆ กันจดไว้จากทีมงานที่มาด้วยกัน กลับไปต้องขอลอกกันหน่อย

     มีประเด็นหนึ่งที่ท่านได้พูดที่ผมจับใจมากคือการเริ่มต้นทำงานในชุมชนบางครั้ง พูดจริงทุกเรื่องไม่ได้ในทันที ต้องมีกลเม็ดบ้าง แต่ต้องไม่หวังร้าย คือต้องเจตนาดีจริง ๆ ไม่งั้นไม่สำเร็จ ยกตัวอย่างที่ท่านเล่าการทวงเงินกองทุนที่ชายคนหนึ่งไม่ยอมจ่ายว่า ท่านแกล้งเดินผ่านทุกวัน แต่ไม่ยอมพูดเรื่องเงินที่ยืมไป จนวันหนึ่งเขาทักทายขณะที่เดินผ่านบ้านไปอีกครั้ง "ไปไหนทางนั้น" ท่านบอกว่าท่านนึกไว้แล้วต้องทักเราเองสักวัน "อ่อจะไปเอาเงินที่บ้านท้ายถนนโน่น เขานัดคืนกองทุนวันนี้" (จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ท่านแกล้งเดินผ่านเฉย ๆ) ท่านบอกว่าโดนสวนมาทันทีเหมือนกัน "งั้นก็ไปเก็บคนอื่นให้หมดก่อน และค่อยมาเก็บที่แก จะคืนให้เหมือนกัน แต่ขอคนหลังสุด" สุดท้ายชายคนนี้ก็ไม่สบายท่านไปเยี่ยมพร้อมของฝากที่ซื้อจากเงินส่วนของกองทุน และบอกว่าเป็นของฝากจากกองทุน หายป่วยแล้วก็ทยอยคืนเงินเข้ากองทุน และเป็นสมาชิกที่ดีของกองทุนจนทุกวัน

     อีกเรื่องที่สรุปได้ คือ ท่านบอกว่า จนท.ดูอย่างวันนี้มีการพัฒนาความรู้กันอย่างดี และมีมาก ท่านบอกว่าเชื่อมานานแล้วว่า หมอ(อนามัย) พยาบาล แพทย์ เนี่ยรู้มาก (เยอะ) แต่ชาวบ้านยังขาดทำยังไงดี ให้ชาวบ้านรู้เยอะด้วย อย่างเช่น "ยุง" คำเดียวรัฐบาลหมดเงินไปเท่าไร ปี ๆ นึง อันนี้ต้องให้ชาวบ้านรู้ และเห็นความสำคัญจะได้ตระหนัก ให้บอกด้วยว่าถ้าไม่เอาไปจัดการยุง จะเหลือได้ทำอะไรเพื่อเขา เมื่อเขาไม่รู้เขาก็เฉย ๆ เรื่องนี้สำคัญ ต้องทำยังไงดี ท่านก็เสนอว่า หมอนี่แหละที่ต้องไปบอก แต่คนที่ไปบอกต้องสร้าง "ศรัทธา" ให้เกิดก่อนนะ ไม่งั้นไม่ได้ผล การจัดการให้มีการเรียนรู้กันเองได้แบบชาวบ้าน ๆ น่าสนใจนะ แล้วจะสบายกันทุกฝ่ายรับรอง

     ยังมีประเด็นอีกหลายประเด็นที่ท่านได้กล่าวถึง โดยสรุปคือท่านได้พยายามบอกว่าสิ่งที่คนในชุมชนคิดในแต่ละเรื่องแต่ละครั้งนั้น ขนาดท่านอยู่ประจำท่านก็ยังคาดเดาไม่ถูก ฉะนั้นขอให้คนที่จะลงไปทำงานตรงนี้คิดเสมอว่า ต้องตรวจสอบชุมชนก่อนลงมือทุกครั้ง และอย่าตัดสินไปก่อนไม่งั้นพอผลออกมาไม่เหมือน จะทำให้รู้สึกท้อถอยเสีย

เรื่องของข้อสรุปที่ได้จากการประชุมกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 กระบวนการพัฒนาบริการสุขภาพของ PCU

กลุ่มที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรชุม และการประสานความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ

     โดยกลุ่มให้ความหมาย "การมีสุขภาพดีทุกคน ด้วยความสมัครใจ" เป็นประเด็นนำการสร้างการมีส่วนร่วม และมีการใช้โอกาสในทุก ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นช่องทางในการสร้างการมีส่วนร่วม เช่นการจัดทำแผนชุมชน เราก็ไปร่วมและช่วยเหลือ พอเสร็จเราก็ถอดเอาด้านสุขภาพออกมาจัดการ และพยายามใช้ทรัพยากรเช่น อสม./ผู้นำฯ/ อบต. โดยการสนับสนุนเขาก่อนในการดำเนินงานของเขา จากนั้นจึงใช้จังหวะที่เราจะดำเนินการสอดแทรกทันที

     แต่ข้อจำกัดก็มีเช่นช่วงการเลือกตั้ง ไม่สามารถทำได้ หรือสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป อย่ายกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนใกล้เขตโรงงาน/เขตเมือง ต้องตื่นไปทำงานแต่เช้า "ลูกยังไม่ตื่น ก็วางเงินไว้บนตู้เย็น ลูกตื่นมาไปโรงเรียนก็ยกมือไหว้ตู้เย็นแล้วไปโรงเรียน ไม่ได้เจอหน้ากันเลย" อย่างนี้เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 การพึ่งตนเอง

     พบว่าการให้บริการเข้าไม่ถึงชุมชน เช่นกรณีการส่งเสริมให้หญิงตรวจเต้านม ต้องมีการใช้ "ใจ ซื้อ ใจ" ด้วยการให้ อสม.เป็นต้นแบบทำเองได้ก่อน ==> ชักจูง/เชิญชวนคนอื่นให้ทำตาม ==> พัฒนาให้ อสม.เป็นผู้เชี่ยวชาญ (การตรวจเต้านม)

     ตอนแรกอาจจะต้องให้ค่ารถ ค่าตอบแทน เช่นกรณีหญิงไม่ไปคลอดที่ รพ. เพราะกลัวว่าไม่ได้ดำเนินการตามความเชื่อ ในขณะที่ รพ.เปิดโอกาสให้ทำได้ ก็ต้องให้ค่าตอบแทนในช่วงแรกเพื่อให้คนเหล่านั้นไปเห็นกับตา แล้วมาเล่าต่อ คนอื่น ๆ ก็จะได้เชื่อและไปใช้บริการ เพราะเราบอกเขาไม่เชื่อเรื่องนี้ ยากและต้องเข้าใจเขาจริง ๆ ต้องเข้าใจชุมชน/บริบทของชุมชนด้วยและถ่องแท้

     อีกเรื่องคือการพยายามใช้เวลาราษฎร หลีกเลี่ยงเวลาราชการ เพราะเวลาราชการเราจะเข้าไม่ถึงชุมชน เรื่องนี้ยังเป็นปัญหาอีกมาก ด้วยระเบียบราชการมากมาย อีกทั้งคนที่ทำได้ก็จะต้องเสียสละมาก จึงไม่ค่อยต่อเนื่องก็เพราะสาเหตุนี้ส่วนหนึ่ง

     ด้านตัว จนท.ก็เหมือนกัน สิ่งแรกที่ต้องปรับเปลี่ยนคือการไม่ทำงานเฉพาะที่ถนัดเท่านั้น ต้องทำงานได้ในทุกเรื่อง ชาวบ้านเขาคาดหวังกับเราทุกเรื่อง แม้บางเรื่องทำเองไม่ได้เลย ก็ต้องรู้และช่วยหาทางออกให้เขาได้ เขาพร้อมที่จะพึ่งตนเองอยู่แล้ว ในอดีตเขาก็เคยพึ่งตนเองมาตลอด เพียงแต่วันนี้เขาอาจจะไม่มั่นใจเท่านั้น

ข้อสรุปจาก น.พ.ครรชิต  คุณาวุฒิ

     "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเข้มแข็งได้ก็ต้องเพราะบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่ใช้หลักการเวชปฏิบัติครอบครัว" ฉะนั้นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (KSF) ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่แท้จริง และยั่งยืน คือ ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่ใช้หลักการเวชปฏิบัติครอบครัวมีความสำเร็จและยั่งยืน

     อะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคของการพัฒนาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในปัจจุบัน (แต่ไม่ได้หมายถึงอุปสรรคของการพัฒนาระบบใหญ่ของประเทศ)

     1. โครงการ Medical HUB ที่จะดึงทรัพยากร/บุคคลจากระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมินี้ไปอีกมาก
     2. โครงการ Maga Project เช่นการสร้างให้มี รพ.ในทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ อันนี้ก็จะทำให้เกิดการดึงทรัพยากรที่จะถึงชุมชนไว้ที่ระดับอำเภอ เช่นกัน

     แต่ทั้งหมดนี้เมื่อเราเริ่มรู้ล่วงหน้าเราก็จะสามารถป้องกันได้ ในปี 2549 จึงจะยังคงมีวิธีการจัดสรรงบประมาณที่เน้นให้ถึงชุมชนอยู่อีกหลายรูปแบบ

     ความคาดหวังต่อบุคลากรในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ

     1. Provider --> family medicine

                      --> community medicine

     2. Health Care Managment

     3. Network Managment

     4. Supporter and Coordinator

     5. Researcher

     6. Trainer

หมายเลขบันทึก: 3530เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2005 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PCU ในฝัน ภาคใต้ด้วยในครั้งนี้  เป็นโครงการดีที่ สปสช.สร้างสรรค์ ให้กำลังใจคนทำงานในชุมชน  เปิดโอกาสให้หมออนามัยฝันในสิ่งที่อยากจะทำให้ใกล้กับความเป็นจริง หรืออาจจะเป็นจริงขึ้นมาได้ในสักวันข้างหน้า   เพิ่มเติมสักนิด  ชื่อลุงลับเขียนยังไม่ถูก  ที่ถูกคือ   "ลัภย์  หนูประดิษฐ์"   

   ขอบคุณมากก็ถือโอกาส แก้เสียเลยครับ เป็นลุงลัภย์ หนูประดิษฐ์ จากเดิมที่เขียนผิดเป็น (ลุงลับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท