อ่านมาว่าดีจึงบอกต่อ: พัฒนาลูกน้อยด้วยการอ่าน (จากคู่สร้างคู่สม)


 
        ทุกวันที่ ๑๐ , ๒๐, และสิ้นเดือน   คำถามติดปากเมื่อเจอกันระหว่าง พี่สาวน้องสาว   แม่กับลูก และน้ากับหลาน(รวมทั้งหมด ๓ คน)ก็คือ ซื้อหนังสือคู่สร้างคู่สมรึยัง ?  เพื่อจะได้ไม่ต้องมีใครคนใดคนหนึ่งซื้อซ้ำให้สิ้นเปลืองเงิน   ปัจจุบันมีสมาชิกการอ่านเพิ่มอีกหนึ่งคนคือพี่เขยเพราะชอบสารคดีต่างๆที่มากด้วยความรู้   จากที่ใกล้เกลือกินด่างมาหลายสิบปี

 

       ฉบับนี้(๒๐-๓๐ เมษายน ๒๕๕๓)หัวข้อเด่นที่ชวนให้ครูภาษาไทยสนใจก็คือ  "สอนลูกให้รักการอ่าน  อย่าให้อ่าน ก.ไก่  ข.ไข่"  มันน่าสนใจดี  อะไร ทำไม  รึอย่างไร  เมื่ออ่านแล้วก็เห็นว่าเป็นความรู้จากประสบการณ์ของคุณแม่อีกแง่คิดหนึ่ง  พร้อมกับทางผู้ดูแลคอมลัมน์ได้ต่อยอดความรู้ความคิดด้วยการ
นำเสนอเอกสารอ้างอิงประกอบเกี่ยวกับการพัฒนาการอ่านอีก  ทำให้บทความที่อ่านมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

 

      ผู้เขียนเล่าคือ  แม่จ๋า   จาก ปทุมธานี 


               พฤติกรรมของแม่จ๋าคือ  เริ่มจากการสร้างความคุ้นเคยด้วยการจับลูกนอนตักตั้งแต่เล็กๆ แล้วชวนลูกดูภาพที่น่าสนใจ จากหนังสือที่แม่อ่าน  เมื่อเด็กนั่งได้ เด็กจะนั่งใกล้บริเวณที่มีหนังสือ  เด็กจับหนังสือบ้างฉีกบ้าง ดูบ้าง  ไม่ว่ากัน   เมื่อลูกมาใกล้แม่ที่อ่านหนังสืออยู่  แม่จ๋าจะชี้ให้ลูกดูภาพอ่านออกเสียงให้ฟัง พร้อมทำเสียงประกอบ เมื่อลูกเริ่มติดการฟังการอ่านของแม่จ๋า  ลูกมาขอให้อ่าน  แม้ว่าแม่จะเหนื่อยจากงานแค่ไหนก็จะไม่ละโอกาสในการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง  แม่จ๋าเล่าว่าปัจจุบันลูกสาวอายุ ๔ ขวบ มีพัฒนาการทางภาษาดีกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

 

 

    สำหรับข้อมูลที่หนังสือคู่สร้างคู่สมหามาเพิ่มเติมให้กับผู้อ่านก็คือข้อมูลจากแผนงานสื่อสารสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย)และมูลนิธิปูนซิเมนต์ไทย

          สอน  ก.ไก่เร็วไปเด็กก็ไม่รักหนังสือเพราะเป็นการถูกบังคับให้จำทั้งๆที่ไม่รู้สึกสนุก     หนังสือภาพสำหรับเด็กคือหนังสือที่ผู้ใหญ่อ่านให้เด็กฟัง   ไม่ใช่สำหรับเด็กอ่านเอง


          ก่อนตัดสินใจซื้อหนังสือเพื่อลูกสิ่งที่พ่อแม่ควรพิจารณาที่สุดคือ
หนังสือเล่มนี้จะทำให้ลูกมีความสุขมากเพียงใด เมื่ออ่านให้เด็กฟังหรือให้เด็กอ่านเอง

 

          มหัศจรรย์วันละ ๒๐ นาที   พ่อแม่ใช้เวลาวันละ ๒๐ นาทีค้นหาหนังสือที่เหมาะสมกับวัยแความสนใจบอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้นให้ลูกฟังวันละ ๒-๔ เรื่อง
การอ่านออกเสียงให้ลูกฟังตัวต่อตัวจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารระหว่างกันและทักษะการฟัง ทำให้เด็กกล้าที่จะตอบคำถาม  รู้สึกผ่อนคลาย  อยู่กับตัวเอง  อุ่นใจ  และกล้าที่จะเปิดเผย  กล้าถามเมื่อสงสัย

 

          พ่ออ่านแม่สอน   จากงานวิจัย ที่ศึกษากลุ่มตัวอย่างครอบครัวจากสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก พบว่าพ่อแม่ที่อ่านหนังสือ  ให้ลูกฟังตั้งแต่ทารก เมื่อเด็กโตขึ้นจะสามารถเข้าใจภาษาคำศัพท์และมีพัฒนาการด้านสติปัญญาดีกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้อ่านหนังสือให้ฟัง

 

ที่มา: หนังสือคู่สร้างคู่สม ปีที่ ๓๑ ฉบับที่๖๗๒ประจำวันที่ ๒๐-๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ หน้า ๖๗-๖๙

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สอนลูกอ่าน
หมายเลขบันทึก: 352623เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2010 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นประโยชน์มากครับ ผมกำลังมีหลานวัน 2 ขวบ มาอยู่ด้วยทำให้ทราบแนวทางการสอนภาษาเด็ก

จริงอย่างที่ว่า เอา ซี.ดี. ก.ไก่มาเปิดให้ดูเขาไม่สนใจ แต่เขาชอบฟังนิทานที่แม่เขาเล่าให้ฟัง ผมเอาหนังสือผ้าให้ดู

เขาจะชวนเราเล่าเรื่อง

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายและมาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

สวัสดีค่ะ  ผอ.พรชัย   ไม่ได้ทักทายกันนานมากแล้วนะคะ

วิธีการนี้อาจจะเป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่ง   แต่ในสังคมปัจจุบัน จะมีพ่อแม่สักกี่คนที่มีเวลาเอาใจใส่ลูกได้ตามวิธีการนี้   สำหรับกรณีของ ผอ.หลานอาจจะฟังคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยายอ่านให้ฟังก็ได้นะคะ

 

สวัสดีค่ะ คุณบุษรา   ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ   ครูภาทิพเป็นชาวสวีค่ะ

ปิยะรัตน์ วิมานทอง

สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นแฟนหนังสือคู่สร้างคู่สมเหมือนกัน หนังสือดีๆๆไม่จำเป็นต้องแพงค่ะ เห็นด้วยกับบทความเบื้องต้น นิสัยรักการอ่านเริ่มที่ครอบครัวจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท