การประกาศใช้นโยบาย (4)


การประกาศใช้นโยบายจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเป็นอย่างดี

การประกาศใช้นโยบาย

                การประกาศใช้นโยบายเป็นผลโดยตรงจากการตัดสินใจเลือกนโยบาย ดังนั้นการประกาศใช้นโยบายจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเป็นอย่างดี การพิจารณาถึงกลยุทธ์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติควบคู่กันไปในกระบวนการกำหนดนโยบายก่อนที่จะทำการประกาศใช้นโยบาย จะทำให้โอกาสของการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จมีสูง

                1. องค์ประกอบของการพิจารณาประกาศใช้นโยบาย นักวิเคราะห์นโยบายควรพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญของการประกาศใช้นโยบายดังนี้ (Weimer and Vining, 1992: 313)

                ประการแรก  นักวิเคราะห์นโยบายไม่สามารถจะทำนายผลที่จะเกิดขึ้นจากการประกาศใช้นโยบายได้อย่างเที่ยงตรง โดยปราศจากการให้ความสนใจอย่างละเอียดรอบคอบเกี่ยวกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนั้นการพิจารณาถึงกลยุทธ์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติในกระบวนการกำหนดนโยบาย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการกระทำดังกล่าวจะทำให้นักวิเคราะห์เข้าใจกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติได้ชัดเจนขึ้น

                ประการที่สอง  ประชาชนโดยทั่วไปต้องการให้นักวิเคราะห์นโยบายพิจารณาความเป็นไปได้ทางการเมือง (political feasibility) ของทางเลือกนโยบายทั้งหมด ในบางกรณีอาจถือว่าความเป็นไปได้ทางการเมืองเป็นเป้าประสงค์หนึ่งในจำนวนเป้าประสงค์หลายประการของการวิเคราะห์นโยบาย การที่ประชาชนเรียกร้องให้นักวิเคราะห์นโยบายทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเมืองอย่างรอบคอบรัดกุมของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือก ก็เพื่อให้มั่นใจว่าการประกาศใช้นโยบาย จะมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง การวิเคราะห์นโยบายที่ดีควรคำนึงถึงการพิจารณาเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย (strategic thinking)

                ประการที่สาม  การออกแบบทางเลือกนโยบายที่มีประสิทธิผลต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ที่ชัดเจน การพิจารณาเชิงกลยุทธ์จะช่วยให้นักวิเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น โดยให้ความสนใจต่อความได้เปรียบในการพิจารณาพฤติกรรมของผู้อื่น ในทำนองเดียวกันจะช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นสภาพปัญหาและโอกาสที่จะออกแบบการวางแผนการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมีศักยภาพมากขึ้น

                ประการสุดท้าย โดยส่วนใหญ่นักวิเคราะห์นโยบายจะมีส่วนร่วมในความพยายามเกี่ยวกับการประกาศใช้นโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในบางกรณีที่ประชาชนจะพยายามที่จะขอความเห็นจากนักวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนการผลักดันนโยบาย โดยการเชิญนักวิเคราะห์เข้าร่วมในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค (Technical experts) ในการต่อรองหรือส่งเข้าร่วมประชุม เพื่อถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นนโยบายที่สนใจ หรือในบางกรณีอาจให้มีส่วนในการติดสินใจด้วย ดังนั้นในหลายกรณีนักวิเคราะห์นโยบายอาจถูกเชิญมาให้คำแนะนำ กำกับ ดูแล หรือจัดการการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในสถานการณ์เช่นนี้ทำให้นักวิเคราะห์ต้องแปลงเปลี่ยนการพิจารณาเชิงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริง

                2. กลยุทธ์การประกาศใช้นโยบาย  เพื่อให้การประกาศใช้นโยบายมีผลในการแก้ไขปัญหาสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ การประกาศใช้นโยบายจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเมืองเป็นสำคัญ แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่านักรัฐศาสตร์อาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยากรณ์และอิทธิพลของความเป็นไปได้ทางการเมืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (Webber, 1986:545-553) ดังนั้น ในทางปฏิบัตินักการเมืองและนักธุรกิจจึงอาจต้องพึ่งพาการพยากรณ์ทางการเมืองจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งมีความคุ้นเคยเกี่ยวกับปัญหาเหล่านั้นโดยตรง

                องค์ประกอบพื้นฐานของกลยุทธ์ทางการเมือง (political strategy) ประกอบด้วย

                1) การประเมินผลและอิทธิพลของความเป็นไปได้ทางการเมือง (assessing and influencing political feasibility) ประกอบด้วยแนวทางที่สำคัญดังนี้ (Meltsner, 1972:859-867)

                ประการแรก  การจำแนกบทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง (identifying the relevant actors) นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องจำแนกให้ได้ว่าปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่แสดงความต้องการหรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหานโยบายนั้น โดยทั่วไปอาจจะมีผู้เกี่ยวข้อง 2 ส่วน ที่มีบทบาทคาบเกี่ยวกัน คือกลุ่มที่สนใจสาระสำคัญของประเด็นปัญหานโยบายอย่างแท้จริง และอีกส่วนหนึ่งคือเจ้าหน้าที่ที่มีบทบาทในการตัดสินใจต่อปัญหานโยบายดังกล่าว

                นักวิเคราะห์นโยบายจะจำแนกบุคคลส่วนแรกได้โดยพิจารณาจากความสนใจของผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีบทบาทมากน้อยเพียงใด เช่น ความสนใจทางเศรษฐกิจของผู้ที่สังกัดพรรคการเมือง ผู้เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง หรือนักวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงความต้องการของตน

                ประการที่สอง  ความเข้าใจถึงสิ่งจูงใจ และความเชื่อของผู้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนโยบาย (understanding the motivation and beliefs of actors) โดยปกติกลุ่มผลประโยชน์จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสิ่งจูงใจและความเชื่อของตนต่อการเรียกร้องในปัญหานโยบายต่างๆ แต่กลุ่มเจ้าหน้าที่อาจมีสิ่งจูงใจและความเชื่อต่างกัน เช่น นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ผู้ได้รับการแต่งตั้งทางการเมืองและข้าราชการที่รับผิดชอบ กลุ่มคนเหล่านี้จะมีสิ่งจูงใจที่ต่างกัน

                การพิจารณาความแตกต่างเหล่านี้อาจพิจารณาได้จากแนวความคิดที่ว่า “จุดที่คุณยืนขึ้นอยู่กับจุดที่คุณนั่งอยู่” (Stokes, 1986:52) แสดงให้เห็นว่าบุคคลแต่ละกลุ่มต่างมีจุดยืนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยตรงของตนเองอย่างชัดเจน

                ประการที่สาม  การประเมินผลทรัพยากรของผู้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนโยบาย (assessing the resources of actors) โดยปกติผู้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนโยบายมีทรัพยากรทางการเมืองต่างกัน กลุ่มผลประโยชน์อาจอ้างถึงอำนาจในการลงคะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งของตนหรือบางกลุ่มผลประโยชน์อาจมีทรัพยากรทางการเงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับนักล็อบบี้ นักวิเคราะห์ นักประชาสัมพันธ์ และนักรณรงค์หาเงินทุน เป็นต้น ผู้นำกลุ่มอาจมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทรัพยากรทางการเมืองทั้งสิ้น แต่จะมีผลต่อการตัดสินใจนโยบายเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งจูงใจของกลุ่มและของผู้นำเป็นสำคัญ

                ประการสุดท้าย  การเลือกฝ่ายทางการเมือง (choosing the arena) นักการเมืองแต่ละฝ่ายต่างมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการตัดสินใจของตน โดยอาจกำหนดกฎพื้นฐานไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติ อาทิเช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ มีกฎสำหรับการปฏิบัติ (rules of order) และข้าราชการก็มีระเบียบปฏิบัติของตนเอง ดังนั้น การจะผลักดันผ่านกลุ่มการเมืองฝ่ายใดจึงจะประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงศักยภาพและความสนใจของฝ่ายการเมืองแต่ละฝ่ายที่มีต่อประเด็นนโยบาย และอำนาจในการต่อรองของกลุ่มตนด้วย

                2) กลยุทธ์ในเวทีทางการเมือง (strategies within political arenas) ในการต่อสู้ทางการเมืองนั้น จะปรากฏการแบ่งปันระหว่างกลุ่มการเมืองที่ต้องการจะช่วงชิงการนำในเวทีทางการเมืองอยู่เสมอ ดังนั้น นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องตระหนักว่าการนำเสนอนโยบายเพื่อให้กลุ่มการเมืองอื่นๆ ยอมรับหรือร่วมให้การสนับสนุนเพื่อให้ข้อเสนอนโยบายของคุณประสบความสำเร็จในการนำไปประกาศใช้ นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องให้ความสนใจต่อกลยุทธ์ทางการเมืองดังต่อไปนี้

                ประการแรก สร้างความร่วมมือจากกลุ่มอื่น (co-optation) กลยุทธ์ทางการเมืองที่สำคัญประการหนึ่งคือ ทำให้ผู้อื่นเชื่อว่าข้อเสนอนโยบายของคุณคือส่วนหนึ่งของความคิดของเขา        กลยุทธ์ดังกล่าวจะเห็นได้จากการเสนอร่างพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะปรากฏว่ามีผู้ร่วมเสนอ (cosponsorship) อย่างกว้างขวางจากกลุ่มการเมืองในรัฐสภา ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่าความสำเร็จของการประกาศใช้นโยบายนั้นเป็นผลงานร่วมกันของกลุ่มการเมืองจำนวนมาก เพราะในเวทีการเมืองนั้นไม่มีกลุ่มการเมืองใดที่ต้องการจะเห็นกลุ่มการเมืองอื่นสร้างความสำเร็จแต่เพียงผู้เดียว หรือในฝ่ายบริหารจะปรากฏลักษณะของการจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษา (advisory group) ในการพิจารณาข้อเสนอนโยบายขึ้น เพื่อนำเสนอข้อเสนอนโยบายตามที่ฝ่ายบริหารปรารถนา การกระทำดังกล่าว จะทำให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในกลุ่มที่ปรึกษารู้สึกว่าเขาได้ร่วมเนอแนะความคิดเห็นตลอดกระบวนการ ดังนั้นข้อเสนอแนะจึงเป็นผลงานของเขาด้วย กลยุทธ์ดังกล่าวจะทำให้การคัดค้านอ่อนกำลังลงหรือหมดไป และกลายมาเป็นพลังของการสนับสนุน ซึ่งจะทำให้ข้อเสนอนโยบายของฝ่ายบริหารได้รับความเห็นชอบอย่างกว้างขวาง

                กลุ่มบางกลุ่มอาจจะมีลักษณะของการเป็นพันธมิตรโดยธรรมชาติ (natural allies) แต่เขาอาจจะรู้สึกว่าถูกคุกคามด้วยข้อเสนอของผู้อื่นที่รุกล้ำเข้ามาในเวทีหรือในพื้นที่ของเขา       ดังนั้นกลยุทธ์ที่สำคัญคือคุณจะต้องนำเขาเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาข้อเสนอร่วมกัน เมื่อเขารู้สึกว่าเขาได้มีส่วนร่วม แต่ยังจำเป็นต้องแสดงการโต้แย้ง เขาก็จะโต้แย้งโดยมิได้เน้นประเด็นสำคัญที่มุ่งจะหักล้างให้ข้อเสนอนโยบายของคุณตกไปแต่อย่างใด ดังนั้นการสร้างความร่วมมือจากกลุ่มอื่นจะเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์มาก เมื่อความสำเร็จของข้อเสนอของคุณต้องขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของกลุ่มการเมืองอื่น (Selznick, 1943:13-14; sapolsky, 1972: 15)

                ในบางกรณีนักการเมืองอาจจะไม่แสดงความสนใจต่อข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาสาธารณะบางประการ จนกว่าหัวหน้าหน่วยงานนั้นจะยอมเข้ามาเจรจา ขอร้องให้นักการเมืองให้การสนับสนุน ลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการให้ข้อเสนอนโยบายของหน่วยงานตนได้รับการสนับสนุนจนสามารถประกาศใช้ได้ จำเป็นจะต้องแสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มการเมืองที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ

                อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องตระหนักเสมอว่าการใช้กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือจากกลุ่มอื่น จะประสบความสำเร็จไม่ได้ ถ้าคุณไม่ต้องการให้เขามีส่วนร่วมในความสำเร็จในข้อเสนอนโยบายของคุณด้วย ธรรมชาติของงานของนักวิเคราะห์ก็คือนักวิเคราะห์จะต้องยอมให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมกับความคิดที่ดีของคุณ และทำให้เขารู้สึกว่าความคิดที่ดีนั้นเป็นความคิดของเขาด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อเสนอนโยบายของคุณจะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอในการประกาศใช้เป็นนโยบาย

                ประการที่สอง  การประนีประนอม (compromise) นักวิเคราะห์นโยบายใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงการดัดแปลงหรือปรับปรุงข้อเสนอนโยบายเพื่อทำให้กลุ่มการเมืองอื่นยอมรับ ในกรณีที่นักวิเคราะห์นโยบายของกลุ่มการเมืองใดเห็นว่าข้อเสนอนโยบายของฝ่ายตนได้รับเสียงสนับสนุนไม่พอในการประกาศใช้นโยบาย กลยุทธ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการประนีประนอม ซึ่งหมายความว่านักวิเคราะห์นโยบายจะต้องดัดแปลงหรือปรับปรุงให้ข้อเสนอนโยบายของกลุ่มตนสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มการเมืองอื่น ในกรณีที่การวิเคราะห์นโยบายประกอบด้วยเป้าประสงค์หลายประการ นักวิเคราะห์จะต้องประนีประนอมโดยนำเป้าประสงค์ของกลุ่มการเมืองอื่นมาร่วมด้วย เพื่อให้ข้อเสนอนโยบายของตนมีความเป็นไปได้ในทางการเมืองมากขึ้น การประนีประนอมจะเป็นสิ่งจำเป็นทางการเมืองมากที่สุด เมื่อคุณต้องการให้กลุ่มการเมืองอื่นร่วมสนับสนุน ข้อเสนอนโยบายของคุณให้ผ่านความเห็นชอบและประกาศใช้เป็นนโยบาย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการประนีประนอมนโยบายให้ผ่านความเห็นชอบเท่านั้น (Rider, 1962:32-33; Schwartz and Lesher, 1983:21-27)

                ในการประนีประนอมนั้น บางครั้งนักวิเคราะห์นโยบายอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญของนโยบายของคุณ แต่คุณอาจจะปรับเปลี่ยนส่วนประกอบที่ไม่สำคัญที่ฝ่ายตรงกันข้ามไม่เห็นด้วย ก็จะทำให้ข้อเสนอของคุณได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ หรือกลยุทธ์อีกด้านหนึ่งก็คือการนำส่วนที่ดีของกลุ่มการเมืองอื่นเข้ามาร่วมไว้กับข้อเสนอนโยบายของคุณด้วย ก็จะทำให้คุณได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอต่อการนำนโยบายไปประกาศใช้เป็นทางการ

                ประการที่สาม  การใช้สำนวนโวหารทางการเมือง (rhetoric) นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องตระหนักว่า ในหลายกรณีกลยุทธ์ทางการเมืองที่สามัญ (common) ที่สุดคือ การใช้สำนวนโวหาร ซึ่งเป็นทักษะในการใช้ภาษาในการชักจูงให้ผู้อื่นเห็นคล้อยตาม หรือเกิดความประทับใจและเต็มใจที่จะให้การสนับสนุน ในอีกทางหนึ่งสำนวนโวหารอาจช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้อง และการพูดที่น่าเชื่อถือจะทำให้ข้อเสนอนโยบายมีความเป็นไปได้ทางการเมืองมากขึ้น

                อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์นโยบายจำเป็นจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในการใช้สำนวนโวหารของลูกค้า (clients) ที่อาจก่อให้เกิดความสับสน (obfuscate) มากกว่าความชัดเจน หรือการนำข้อมูลมากล่าวให้น่าเชื่อถือโดยอาศัยการมีสำนวนโวหารที่ดีเพื่อโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นคล้อยตามหรือให้การสนับสนุน ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์นโยบายที่มีจริยธรรมจะต้องระมัดระวังไว้ให้มาก (Linsky, 1986:148-168; Kahneman and Tversky, 1979:263)

                ประการสุดท้าย  การผลักดันนโยบาย (heresthetics) เป็นกลยุทธ์ทางการเมืองที่พยายามจะช่วงชิงความได้เปรียบโดยผ่านกระบวนการจัดตั้ง (manipulation) โดยใช้สถานการณ์ของการเลือกทางเมืองเป็นเงื่อนไขสำคัญ อาจกระทำโดยผ่านวาระการพิจารณาของที่ประชุม ซึ่งได้มีการตกลงไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือโดยผ่านมิติของการประเมินผล ซึ่งสนับสนุนข้อเสนอนโยบายของกลุ่มตน (Ricker, 1986)

                กล่าวโดยสรุป การใช้กลยุทธ์ทางการเมืองเพื่อแสวงหาการสนับสนุนการยอมรับข้อเสนอนโยบายเพื่อนำไปสู่การประกาศใช้อย่างเป็นทางการเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทักษะ มนุษย์สัมพันธ์ประสบการณ์ และความรอบรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์และความสนใจของกลุ่มการเมืองต่างๆ อย่างกว้างขวาง จึงจะมีโอกาสสร้างความสำเร็จตามความประสงค์

 สรุป

                การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบายเป็นกระบวนการที่พัฒนามาจากการก่อรูปนโยบาย โดยมีปัญหาสาธารณะ (public problems) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการ

                ในกระบวนการก่อรูปนโยบาย การกำหนดทางเลือกนโยบายและการตัดสินใจนโยบายสิ่งที่นักวิเคราะห์จะต้องคำนึงถึงตลอดเวลาคือความเป็นไปได้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบายที่มิได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ มีโอกาสที่จะประสบความล้มเหลวได้มากเมื่อต้องนำไปปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริง และจะส่งผลกระทบทางลบต่ออนาคตทางการเมืองของผู้ตัดสินใจนโยบายดังกล่าวอย่างรุนแรง

                การกำหนดทางเลือกนโยบาย จะต้องคำนึงถึงคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ การจินตนาการ (imagination) การสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation) ทางเลือกนโยบายที่ดีควรจะเริ่มจากการมีจินตนาการในการแก้ไขปัญหาสาธารณะเพื่อให้เกิดสังคมที่ดี และนำไปสู่การสร้างสรรค์ โดยการคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ ให้ปรากฏเป็นจริง แล้วนำทางเลือกที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ไปใช้ประโยชน์ โดยทำให้การแก้ไขปัญหาประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้จะต้องคำนึงอยู่เสมอว่าทางเลือกนโยบายที่มีลักษณะสร้างสรรค์ดังกล่าวจะต้องมีความเป็นไปได้ทั้งทางการเมืองและการนำไปปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริง

                สำหรับการตัดสินใจเลือกนโยบายนั้น ในเชิงวิชาการประกอบด้วยทฤษฎีที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจนโยบาย 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีหลักการเหตุผล (Rational-Comprehensive Theory) และทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน (Incremental Theory) และทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก (Mixed Scanning) ซึ่งทั้ง 3 ทฤษฎีมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในตัว ซึ่งทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกเป็นการนำจุดเด่นของทฤษฎีหลักการเหตุผล และทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขจุดอ่อนของทฤษฎีทั้งสอง และดำรงจุดเด่นเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุด

                ส่วนปัจจัยที่มีผลหรืออิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ ค่านิยมความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง ผลประโยชน์ของเขตการเลือกตั้ง มติมหาชน และผลประโยชน์ของสาธารณชน

                อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตัดสินใจนโยบายเป็นกระบวนการทางการเมือง ดังนั้นรูปแบบหลักที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในการตัดสินใจนโยบายของรัฐบาล คือ การต่อรอง (bargaining) โดยมีรูปแบบของการโน้มน้าว (persuasion) และการใช้คำสั่ง (command) เป็นรูปแบบประกอบในการตัดสินใจนโยบาย

                กล่าวโดยสรุปการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบาย จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ทางการเมือง และความเป็นไปได้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งเป็นประเด็นที่นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องตระหนักอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันการประกาศใช้นโยบายเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การต่อรองและการประนีประนอมระหว่างกลุ่มการเมือง เพื่อให้มั่นใจว่าข้อเสนอนโยบายจะได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเพียงพอในการประกาศใช้เป็นกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีหรือกฎระเบียบต่างๆ แล้วแต่กรณี

อ้างอิงจาก..

หนังสือนโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ

                   2546.นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ.ศาสตราจารย์ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ พิมพ์ครั้งที่ 10 (ธันวาคม 2546) สำนักพิมพ์เสมาธรรม กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 352170เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2010 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

เจิมค่ะ

สวัสดีปีใหม่ด้วยน้า

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่าน ไม่มีแรงแบกความรู้ออกไปค่ะ
  • ยายแก่...แล้วค่ะ

P...ค่ะมีความสุข..สอบได้และได้เรียนในสิ่งที่หวังนะคะ...

P..คริๆกลัวเหมือนกันนะคะนี่พี่ครูคิม..กลัวความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด..แต่ก็เอาน่า...ต้องเรียนรู้ ต้องยอมรับมัน เน๊าะ..

สวัสดีค่ะ

  • ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนใหม่นะคะ
  • มีความสุขมาก ๆ ค่ะน้องรัก

P...ขอบคุณค่ะพี่ครูคิมในคำอวยพร..ท้อได้แต่จะไม่ถอย ชีวิตเราก็แค่นี้ มีโอกาสทำในสิ่งที่มีคนให้การสนับสนุนและทำงานกันอย่างเป็นบัดดี้ก็น่าต่อสู้ค่ะ..

  • อ่านแล้วเป็นทฤษฎีที่น่านำไปปฏิบัติมากเลยค่ะ ท่านอาจารย์สมบัติเก่งมากจริง ๆ ในด้าานรัฐศาสตร์มีอ้างอิงถึงท่านมากค่ะ
  • อีกไม่กี่ชั่วโมงก็นับ count down เตรียมเริ่มงานใหม่แล้วนะคะ ขอให้มีความสุขกับการพักผ่อนก่อนลุยงานด้วยกันในวันพรุ่งนี้ค่ะ
  • Have a nice time.

P...ขอบคุณค่ะน้องศิลา..No change , No pain.มีความสุขกับงานใหม่เช่นเดียวกันนะคะ...

 

สวัสดีค่ะ

สวัสดีค่ะครูอ้อยเล็กที่คิดถึง

 

* วันนี้ครูอ้อยสรุปนโยบายสาธรณะส่งอาจารย์หรือจ๊ะ.... เป็นทางการมากค่ะ..ฮิ ฮิ

* ครูใจดีได้เคาะสนิทแล้ว  อ่านแล้วได้ความรู้กลับไปเยอะเลย  ไม่ตกยุคค่ะ..

* เฮ่อ..เห็นหัวข้อบันทึก  ตอนแรก  คิดว่า ครูอ้อยจะประกาศนโยบาบ สภาะฉุกเฉินซะแล้ว..

* มีความสุขทุกวันนะคะ

* คิดถึงเสมอค่ะ

           

 

 

 

  • สวัสดีค่ะ
  • น้องสาวแวะมาเยี่ยมพี่สาวค่ะ สบายดีนะค่ะ
  • ไม่ค่อยกล้าคอมเม้นท์กลัวไม่ตรงวัตถุประสงค์ เพราะคนละวิชาชีพกันพี่สาวคงไม่ว่ากันนะค่ะ

                       

 

P...แม่นแล้วค่ะ...ประโยชน์ได้ทั้งคนทำรายงานและคนอ่านรายงานค่ะ..โพสต์ไว้ไหนๆก็ทำส่งอาจารย์แล้ว ก็ทำให้เพื่อนอ่าน เผื่อใครต้องการนำไปใช้มาพบเข้าก็ติดไม้ติดมือไปใช้ได้ค่ะ...ระลึงถึงเช่นกันค่ะ..

P..ไม่ว่าจ้า..แต่มีประโยชน์จ้าไม่มีโทษ อ่านแล้วไม่คอมเม้นท์แค่มาเยี่ยมเยือนพี่ครูอ้อยเล็กก็ดีใจแล้วค่ะ...ด้วยความระลึกถึงจ้า...

มาชม

ทักทายแบบสบาย ๆ ครับ

มาสอบถามความเป็นอยู่ในบ้านหลังใหม่

เป็นไงบ้างสบายดีไหม  ฉลุยเลยใช่ไหม คนเก่ง

 

                            คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

สาระแน่นเพียบ น่าสนใจมากค่ะ..เห็นความเชื่อมโยงต่างๆชัดเจนจริงๆ...

ชวนไปอ่านเรื่องเบาๆกับความรักของหนุ่มสาวผู้ให้สิ่งดีแก่สังคมค่ะ..

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/353061

เยี่ยมจริงๆเพื่อนรัก

       

ขอบพระคุณท่านมากๆครับที่ร่วมอนุโมทนาบุญด้วยในครั้งนี้เชื่อว่าอานิสงค์จากการร่วมอนุโมทนาบุญจะส่งผลถึงท่านแน่นอนครับ บุญจากการร่วมอนุโมทนาอาจจะมองไม่เห็นแต่ผมเชื่อว่าท่านจะได้รับครับ

Pขอบพระคุณค่ะอาจารย์ยูมิ..ระลึกถึงเสมอนะคะ..

Pอ้อยกับพี่น้อยสอบเรียบร้อยแล้ว..โล่งๆมากๆค่ะ..

Pไปแสดงความยินดีกับน้องทั้งสองมาแล้วค่ะ...

Pประกาศนโยบาย..เรารักประเทศไทย รักในหลวงของเรา..

P..อนุโมทนาสาธุด้วยตั้งใจเลยจ้า...

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาเยี่ยมและได้นำภาพมาฝากพี่สาวค่ะ "ตกแต่งภาพโดยคุณครูบันเทิงค่ะ"

                       

 

  • ลุงมหา แวะมาอ่าน

การประกาศใช้นโยบาย (4)

  • ขอบคุณที่ให้ความรู้

สวัสดีค่ะ

ผลวันเสาร์เป็นยังไงบ้างคะ

รอร่วมชื่นใจน่ะ

สวัสดีค่ะ พี่สาวอ้อยเล็กคนงาม ไม่ได้คุยกันหลายวันน่ะค่ะ

สบายดีรึปล่าวค่ะ..พี่สาวคงยุ่งกับงานน่ะค่ะ

เอาใจช่วยค่ะ

สาระเพียบ...แบกกลับได้น้อย...สมองตึ๊บค่ะ..อิ..อิ

มาชวนไปถวายพระพรครบ ๖๐ ปีวันราชาภิเษกสมรสค่ะ :

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/354672

2274022y9b148k6z9 

PP...ยอดเยี่ยมมากเลยน้องสาวทั้ง 2 คน...

 

Pนโยบายของเราคือ...ขอให้คนไทยรักกันไงคะลุงมหา...

Pผลวันเสาร์24เม.ยดูหนังสือหนัก..วันอาทิตย์25เม.ย.ทำได้โล่งสบายค่ะ...

Pจ้าร่วมด้วยช่วยกันจ้า...

P..ไม่เป็นไรค่ะค่อยๆรับนะคะ..

P...วันเกิดลูกชายพอดีเลยค่ะ..เลยจำได้แม่นค่ะพี่นงนาท..ระลึกถึงเสมอค่ะ...

ขอบคุณมากๆค่ะ...

และใครที่มีความสนใจเกี่ยวกับ Road map(อี๊แอ~แห่งชาติ) สามารถเข้ามาได้ตามลิงก์นี้เลย

http://www.thailandforum2010.com/magazine/magazine_4/#/0

หรือต้องการติดตามข่าวสารในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้เลย http://thailandforum2010.com/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท