Trip ไปเนปาล (วันที่สาม)


เทือกเขาอานาปุระ และ มัจฉาปุร์ชเร

วันที่สาม ไกด์บอกว่าพรุุ่้งนี้พระอาทิตย์ขึ้นประมาณ ตีห้าห้าสิบห้า เราต้องขึ้นเขาไปถึงประมาณ ตีห้าครึ่ง

     ดังนั้นปลุกตอนเข้าประมาณ 4.30 น. และออกเดินทางตอนเฃ้าประมาณตีห้า ถึงที่เขาซางรางก็อตประมาณ ตีห้าครึ่ง ลูกทัวร์ก็น่ารักนะ ไม่มีใครพูดอะไรสักคำ ที่จริงเวลา 30 นาทีสำหรับห้องสองคนคงทำธุระไม่เสร็จแน่ พี่ก้อยก็ปลุกประมาณตีสี่ ทำธุระกันประมาณคนละ 30 นาทีั

     จุดชมวิวซางรางก็อตจะทำให้เราเห็นเทึือกเขาหิมาลัยตะวันตก ซึ่งมีเทีือกเขาที่หลายคนอยากชมคือ ยอดเขาอันนาปุระ ซึ่งจะมีทั้งหมด 4 ยอดเขา และยอดเขามัจฉาปุร์ชเร สำหรับพันธ์ไม้นานาพันธ์ที่บรรยายไว้ในคู่มือการท่องเที่ยว หรือ โปรแกรมทัวร์ของเรา หาไม่เจอ (มาไม่ถูกเวลา) 

      ยอดเขาอันนาปุระ มองไม่ออกแม้ว่าไกด์ชี้ให้ดูก็ตาม ไม่เห้นความสวย ยอดที่มองเห็นชัดที่สุดในวันนี้ คือมัจฉาปุร์ชเร แม้ว่าจะเก็บภาพไม่ได้ พวกเราส่วนใหญ่เลยชื้อภาพมาเก็บไว้ บนจุดชมวิว ขายราคา 200 รุปี (ราคาต่อแล้ว) เราเดินดูอยู่สักพัก ยังไม่ตัดสินใจ เริ่มสงสัยทำไมราคาจะลงที่ร้อย หรือ 50 ไม่มีราคาอื่น ไม่รู้เป็นเทคนิคการขายหรือเปล่า ท้ายที่สุดเราต่อไป 2 รูป 300 รูปี เด็กสาวขายให้เรา 

      เดินลงมาเห็นพวกเรากำลังชื้ออยู่อีกเจ้าเดินเข้าไปถาม กลัวว่าเราจะซื้อแพง (ยังไงโยังอยากรู้อยู่ดี) หมอวิศิษฎ์ และ คุณอุทัยกำลังรวมพลังซื้อ โดยต่อที่ 30 รูป 500 รูปี จ่ายเงินไปแล้ว แต่เราบอกว่าอีกร้านราคา 150 รูปี เราก็ซื้อมาแล้ว เจ้าของที่เป็นลุงบอกหลานว่าขายไม่ได้ หมอเลยดึงเงินคืนและไปซื้ออีกร้าน แต่เมื่อเดินลงมาขึ้นรถ ร้านที่ข้างล่างไม่ต้องต่อราคา 150 รูปี ถ้าต่อน่าจะได้ 100 รูปี แต่พวกเราซื้อกันหมดแล้ว 

       จุดที่นักท่องเที่ยวตืนเต้นและถ่ายภาพกันมาก นอกเหนือจากมัจฉาปุร์ชเร แล้วก็พระอาิทิตย์ขึ้นนี่แหละ 

       ไกด์มีการนำกาแฟ ไมโลมาบริการ จิปกาแฟไปดูพระอาิทิตย์ แต่คนเยอะจังหลายฃาติภาษา 

        กลับโรงแรมทานอาหารเช้า และไปล้องเรือ ทะเลสาบเฟวา (Phewa tal) และชมวัดเบราฮิ (Varhi Temple) เป็นของเทพธิดาที่ทรงพลังของฮินดู พี่ก้อยถามคนที่พายว่าได้ค่าจ้างเท่าไร คนพายบอกว่า 80 รูปี นั่งประมาณ 10-15 นาที แดดร้อนกำลังดี

         วัดฮิดูอีกวัดในเมืองโภครา คือ Bindhabasani มีศาลาต่าง ๆ (จำได้ไม่หมด) ของพระศิวะ เจ้าแม่กาลี พระลักษมี (ไม่ค่อยแน่ใจ) มีสัญลักษณ์ศิวะลึงค์ ขนาดใหญ่ พวกเราดูตอนแรกคิดว่าเป็นป้ายบอกผู้บริจาคภายหลังเพื่อนในกลุ่มบอกว่าคือสํญลักษณ์ของศิวะลึงค์

ภายในวันต้องยอมรับว่าวัดส่วนใหญ่ดูสกปรก ไม่แน่ใจว่ามาจากเครื่องบู ชาหรือเปล่า แต่การบูฃาของคนเนปาลจะลูบและนำมาสัม ผัสที่หัว หรือ ใช้หัวสัมผัสสิ่งศักสิทธฺ์นั้น ๆ 

        กลับโรงแรมทานอาหารกลางวันและ check out (ดีไม่ต้องแบกกระเป๋าเอง) 

        ช่วงบ่ายเราแวะไปศูนย์อพยพชาวธิเบต น่าจะเป็นศูนย์ของยูเนสโกที่ให้การช่วยเหลือ ไ่ม่ค่อยเห็นหรอกว่าเขาอยู่กันอย่างไร แต่เป็นการแสดงการทอผ้ามากกว่า ลูกทัวร์๋หลายคนก็หัดลองทอดู เหมือนเป็นการถักนิกติ้งมากกว่า จากนั้นก็เป็นการขายพรม รอบ ๆ มีร้านขายของ จี้รูปต่่าง ๆ สามารถซื้อได้ที่นี่คิดว่ามีรูปแบบต่าง ๆ น่าสนใจ ราคาก็ต่อกันเองค่ะ

        ไปดูแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ Seti Rever ซึ่งมีน้ำสีขาว คล้ายน้ำนม เมื่อสัมผัส น้ำจะเลื่อน ๆ ไกด์บอกว่าในทางวิทยาศาสตร์มีธาตุบางอย่างที่มาจากเทือกเขาหิมาลัย (ใช้เวลาไ่ม่นานเก็จบ )

        ที่สุดท้ายในเมืองโภครา คือ Davi's Fall เป็นเหวมหัศจรรย์ หรือ นำตกไหลผ่านเหวลึก เหวหรือน้ำตกนี้ตั้งชื่อตามชาวสวิสที่ตกลงไปตาย (ตำราท่่องเที่ยวบอกเป็นฃาย และำไกด์บอกเป็นจริง) ที่เราไปดูก็มีการทำราวกั้น แต่ก็ยังไม่หลายคนปีนราว โชกตัวออกไปดูอีก

         เดินทางต่อไปที่สนามบินในเมืองโภครา บินโดยสายการบิน Yeti เป็นประสบการณ์ทีแปลกครั้งแรกในชีวิต สนามบินภายในไม่มีเครื่องมือใด ๆ ในการตรวจรักษาความปลอดภัย ทุกกระเป๋าต้องเปิดให้เจ้าหน้าที่ดู ก่อนส่งขึ้นเครื่อง

         เรื่องของการบินล่าช้าเป็นเรื่องปกติ สำหรับการบินในประเทศ เที่ยวบินของเราล่าช้าไป 2 ชั่วโมง เวลาว่าง ๆ ก้นั้งหลับไป อ่านหนังสือที่ได้เตรียมกันมา 

        การ Check in แยกเป็นสองแถว หญิง และ ซาย เพื่อตรวจดูว่าใตรจะนำอาวุธ หรือ สิ่งอื่นแปลกปลอมหรือไม่ ต้องยืนให้ลูปตัว โชคดีที่ไม่โดยลูปมาก   

        การบินในประเทศ ไม่มีการกำหนดที่นั้ง ใช้วิธีการเก้าอี้ดนตรีเอา รถสำหรับลากกระเป๋า เป็นรถเข็นด้วยคน 

        สนามบินภายในที่กาฐมัณฑุ ไม่มีสายพานสำหรับกระเป๋า เมื่อรถเข็นกระเป๋ามาถึง เจ้าหน้าที่หยิบลงจากรถ ต่างคนก็ต่างมองหากระเป๋าของตัวเอง แล้วลากขึ้นรถ 

       เวลาล่าช้าอีกวันหนึ่งทำให้ไม่สามารถเป็นไปตามโปรแกรมได้ ออกจากสนามบินก็ตรงไปที่นากาก็อตทันที่ใช้เวลาประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง เส้นทางไปไต่ไปบนเขา พวกเราต้องช่วยกันขับ (เกรงไปหมด มองไปก็เห็นไหล่เขา) 

       ถึงโรงแรม NIVA NIVA ประมาณทุมเศษ เป็นโรงแรมรูปแบบญี่ปุ่น แต่เจ้าของที่เป็นญี่ปุ่นได้เสียชีวิตไปแล้ว เหลือแต่เจ้าของที่เป็นชาวเนปาลี 

       ห้องทุกห้องของโรงแรมสามารถมองเห็นเทีือกเขา และ เห็นพระอาทิตย์ขึ้น อากาศหนาวเย็นตลอดปี (น่าจะเพราะตัวโรงแรมไม่มีแอร์) 

       อาหารมื้่อนี้เป็นสไตล์ญี่ปุ่นหลาย ๆ มีซุป 

       เขียนมาตั้งสามวันแล้ว ยังไม่ได้เขียนถึงดูไทย อย่างไร เลย 

       แน่นอนว่าทุกครั้งที่เราไปเที่ยวประเทศที่พัฒนาด้อยกว่าเรา เราจะรู้สึกรักเมืองไทยมากขึ้น แม้ว่าประเทศเนปาลจะมีทรัพยากรที่มีค่ามาก แต่เพราะประเทศขาดการส่งเสริมด้านการศึกษาึถึง 104 ปี ทำให้ประเทศพัฒนาไปช้า และพรรคการเมืองก็มีหลายฝักฝ่าย คงไม่วิจารณ์การเมืองของเนปาล

        แต่ไทย ไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรกันอยู่ ประชาชนไทย ถือได้หรือยังว่าเรามีการศึกษาพอเพียงที่เราจะคุยกันได้ คนเนปาลบอกว่าเราโชคดีที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คนเนปาลบอกว่ารักพระมหากษัตริย์ไทย 

        จำได้ว่าเมื่อประมาณไม่เกิน 6 เดือนที่ผ่านมา ทาง สำนักประกันคุณภาพ จะโปรแกรมนำสิ่งที่จะำเป็นไปบริจาคชาวเขาที่เพรชบูรย์ ตอนไปบริจาค มีความรู้สึกว่าเค้ามีอะไรพร้อม ๆ หลาย ๆ อย่าง สิ่งที่เราเอาไปให้ มีกระเป๋าที่แจกการประชุมสัมนา ต่าง ๆ บางใบก็ดูสวยงาน บางใบ ก็ไม่สวย แต่เมื่อเราเอาไปให้เค้า ดูไม่สนใจเลย ไม่แน่ใจว่าเพราะเค้าจน หรือ เค้ารวย (จนคือใช้ไม่เป็น รวยคือเห็นข้อมูลข่าวสารมาก มองว่าอยากได้ของอย่างอื่นมากมาก) โดยสรุปว่าประเทศเราน่าจะพัฒนาไปเยอะมากแล้ว มีทีวีดูทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น 

         ที่เขียนเล่ามาจากประสบการณ์ไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วเรายังมีคนจนอยู่จริงหรือไม่ สิ่งสารธูปโภคยังไม่ถึงจริงหรือไม่ที่เนปาล แม้เมืองหลวงเก่า ชาวบ้านยังต้องมาขนน้ำจากก็อกนำ้ำสารธณะ  

          เราคนไทยที่มีการศึกษาจะคุยกันเพื่อแก้ปัญหาไม่ได้หรือ พวกเราแตกแยกกันมาก มองกันเกือบจะเป็นศัตรูกัน คนละสี คนละพวก กลัวจริง กลัวว่าวันหนึ่ง พวกเราจะไม่สามารถบอกตัวตนของเราว่าเราสีอะไร ผู้มีอำนาจทั้งหลาย ทุกฝ่ายคุยกันได้หรือไม่ ประชาชนตาดำ ๆ เป็นเหยือของผู้มีอำนาจทั้งสิ้น 

           ไทยจะทำอย่างไร ให้ผู้มีอำนาจ มาคุยกัน เรื่องบางเรื่องช้านิด ก็น่าจะรอกัน 

คำสำคัญ (Tags): #โภครา
หมายเลขบันทึก: 351716เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2010 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท