กีฬาพาเพลิน (ตอนเทนนิส)


"กีฬาเป็นอาชีพที่ทำรายได้อย่างมหาศาลถ้าสนใจจริง"

กติกาเทนนิส

 

การแข่งขันประเภทเดี่ยว

1. สนามเทนนิส (THE COURT)

สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 78 ฟุต (23.77 เมตร) กว้าง 27 ฟุต (8.23 เมตร) สนามจะต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยตาข่าย (NET) ซึ่งห้อยลงมาจากเชือกหรือลวดขึงตาข่ายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1/3 นิ้ว (0.8 เซนติเมตร) ปลากเชือกหรือลวดขึงตาข่ายต้องติดกับหัวเสาหรือพาดผ่านหัวเสาสองต้น เสาต้องเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวไม่เกิน 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) หรือเป็นเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) เสาทั้งสองจะต้องไม่สูงกว่าส่วนบนของเชือกขึงตาข่ายเกิน 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) จุดกึ่งกลางของเสาทั้งสองต้นต้องอยู่ห่างจากสนามข้างละ 3 ฟุต (.914 เมตร) ความสูงของเสาต้องทำให้ส่วนบนของเชือกหรือลวดขึงตามข่ายอยู่สูงจากพื้นสนาม 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร)

ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวโดยใช้สนามและตาข่ายประเภทคู่ (ดูกติกาข้อ 34) จะต้องปรับตาข่ายให้สูง 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร) โดยเพิ่มเสาขึ้นสองต้น เสาที่เพิ่มเรียกว่า “ไม้ค้ำตาข่าย” เสานี้จะต้องเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวไม่เกิน 3 นิ้ว (7.5 เซนติเมตร) หรือเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3 นิ้ว (7.5 เซนติเมตร) จุดกึ่งกลางของไม้ค้ำตาข่ายต้องอยู่ห่างจากสนามประเภทเดียวข้างละ 3 ฟุต (.914 เมตร)

ตาข่ายต้องขึงเต็มปิดช่องระหว่างเสาทั้งสองต้นได้ทั้งหมดตามข่ายต้องมีขนาดเล็กพอที่จะไม่ให้ลูกเทนนิสลอดได้ ตรงกึ่งกลางของตาข่ายต้องสูงจากพื้น 3 ฟุต (.914 เมตร) และต้องมีแถบขึงตาข่ายสีขาวกว้างไม่เกิน 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) ยึดไว้กับพื้นแต่ละด้านของตาข่ายต้องมีแถบหุ้มตาข่ายสีขาวหุ้มเชือกหรือลวดขึงตาข่ายและขอบบนของตาข่าย แถบนี้ต้องกว้างไม่เกิน 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) และต้องไม่มากกว่า 2 ½ นิ้ว (6.35 เซนติเมตร)

ต้องไม่มีการโฆษณาใด ๆ บนตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือไม้ค้ำตาข่าย เส้นที่อยู่ปลายสุดของสนามทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นหลัง” เส้นที่อยู่ด้านข้างของสนามทั้งสองข้าง เรียกว่า “เส้นข้าง” เส้นที่ลากขนานกับตาข่ายทั้งสองด้าน และห่างจากตาข่ายด้านละ 21 ฟุต (6.40 เมตร) เรียกว่า “เส้นเสิร์ฟ” เส้นตรงที่ลากจุดกึ่งกลางของเส้นเสิร์ฟด้านหนึ่งขนานกับเส้นข้างไปยังจุดกึ่งกลางของเส้นเสิร์ฟอีกด้านหนึ่งเรียกว่า “เส้นนี้ต้องกว้าง 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) และจะแบ่งพื้นที่แต่ละข้างของตาข่าย ระหว่างเส้นเสิร์ฟกับเส้นข้างออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนเรียกว่า “คอร์ตเสิร์ฟ” เส้นหลังทั้งสองด้านจะถูกแบ่งครึ่งโดยจุดกึ่งกลาง ซึ่งจะเป็นเส้นขีดให้สัมผัสและ ตั้งฉากกับเส้นหลังเข้าไปในสนามและอยู่ในแนวเดียวกับเส้นเสิร์ฟกลาง จุดกึ่งกลางนี้ต้องยาว 4 นิ้ว (10 เซนติเมตร) กว้าง 2 นิ้ว ( 5 เซนติเมตร) เส้นอื่น ๆ นอกจากนี้ ต้องกว้างไม่เกินกว่า 4 นิ้ว (10 เซนติเมตร) ความกว้าง และขนาดของส่วนต่าง ๆ ของสนามต้องวัดจากขอบด้านนอกของแต่ละเส้น เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน

ประกาศโฆษณาหรือวัสดุใด ๆ ที่อยู่ด้านของสนามต้องไม่มีสีขาว สีเหลือง สีอ่อนอื่น ๆ อาจใช้ได้ถ้าไม่รบกวนสายตาของผู้แข่งขัน

ประกาศโฆษณาที่ติดอยู่กับเก้าอี้ของผู้กำกับเส้นซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังของสนามต้องไม่มี สีขาว สีเหลือง สีอ่อนอื่น ๆ อาจใช้ได้ถ้าไม่รบกวนสายตาของผู้แข่งขัน

 

หมายเหตุ 1 ในการแข่งขันเดวิสคัพหรือการแข่งขันชิงชนะเลิศซึ่งจัดขึ้นเป็นทางการโดยสหพันธ์เทนนิสนานาชาติได้กำหนดไว้ว่าจะต้องมีพื้นที่หลังแต่ละข้างไม่น้อยกว่า 21 ฟุต (3.66 เมตร) เก้าอี้ผู้กำกับเส้นต้องวางไว้หลังสนามภายในระยะไม่เกิน 21 ฟุต (6.4 เมตร) และด้านข้างสนามไม่เกิน 12 ฟุต (3.66 เมตร) แต่จะล้ำเข้ามาได้ไม่เกิน 3 ฟุต (0.914 เมตร)

หมายเหตุ 2 สนามสำหรับการแข่งขัน เดวิสคัพเวิลด์กรุ๊ป และการแข่งขัน เฟดคัพรอบเมนดรอว์ กำหนดพื้นที่ด้านหลังแต่ละด้านต้องไม่น้อยกว่า 27 ฟุต (8.23 เมตร) และพื้นที่ด้านข้างต้องไม่น้อยกว่า 15 ฟุต (4.75 เมตร)

หมายเหตุ 3 สำหรับสนามระดับสโมสร พื้นที่ด้านหลังแต่ละข้างต้องไม่น้อยกว่า 18 ฟุต (5.5 เมตร) และพื้นที่ด้านหลังต้องไม่น้อยกว้า 10 ฟุต (3.05 เมตร)

2. สิ่งติดตั้งถาวร (PERMANENT FIXTURES)

)

สิ่งติดตั้งถาวรของสนามเทนนิสมิได้หมายถึงตาข่าย เสา เชือก ไม้ค้าข่าย ลวดขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย และแถบหุ้มตาข่ายเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่ใช้กั้นด้านหลังและด้านข้างสนาม อัฒจันทร์ เก้าอี้ ที่ติดตั้งอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ได้ ซึ่งตั้งไว้รอบสนาม รวมทั้งผู้เล่นที่นั่งอยู่บนสิ่งเหล่านั้น เครื่องติดตั้งอื่น ๆ ซึ่งอยู่รอบและเหนือสนาม ผู้ตัดสินกรรมการตาข่าย กรรมการ ฟุตฟอลท์ ผู้กำกับเส้น และเด็กเก็บลูก ซึ่งประจำตามหน้าที่อีกด้วย

หมายเหตุ ตามความมุ่งหมายของกติกาข้อนี้ คำว่า “ผู้ตัดสิน” หมายถึง ผู้ตัดสินและผู้ช่วยเหลือผู้ตัดสินทั้งหมด

3. ลูกเทนนิส (THE BALL)

ผิวนอกของลูกจะต้องกลม เรียบเสมอกันทั้งลูก ส่วนที่ห่อหุ้มต้องเป็นสีขาว หรือสีเหลือง ถ้ามีรอยต่อจะต้องไม่เป็นตะเข็บ

ลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากว่า 2 ½ นิ้ว (6.350 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 2 ½ นิ้ว (6.668 เซนติเมตร) มีน้ำหนักมากกว่า 2 ออนซ์ (56.7 กรัม) แต่น้อยกว่า 2 ½ ออนซ์ (58.5 กรัม)

การกระดอนของลูกเมื่อปล่อยจากที่สูง 100 นิ้ว (254 เซนติเมตร) บนพื้นคอนกรีตจะต้องกระดอนสูงระหว่าง 53 นิ้ว (147.32 เซนติเมตร)

เมื่อกดปลายทั้งสองของเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกด้วยกำลัง 18 ปอนด์ (8.165 กิโลกรัม) ผิวของลูกจะยุบเข้าไปมากกว่า 0.220 นิ้ว (0.559 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 0.290 นิ้ว (0.737 เซนติเมตร) ส่วนที่โป่งออกมาต้องมากกว่า 0.315 นิ้ว (0.800 เซนติเมตร) ตัวเลขเหล่านี้คิดเฉลี่ยจากการกดลูกในแนวนอน ทั้งสามลูก และค่าที่ได้จากการกดในระหว่างแกนที่ต่างกัน คู่หนึ่งต้องไม่ต่างกันมากกว่า 0.030 นิ้ว (0.076 เซนติเมตร)

หากมีการแข่งขันในสถานที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,000 ฟุต (1,219 เมตร) อาจใช้ลูกได้อีก 2 แบบ

แบบแรก มีลักษณะเหมือนกันดังกล่าวข้างต้นแต่จะต้องมีแรงกระดอนระหว่าง 48 นิ้ว (121.92 เซนติเมตร) ถึง 53 นิ้ว (134.62 เซนติเมตร) และจะต้องมีแรงอัดภายในสูงกว่าแรงอัดภายนอกลูกเทนนิสแบบนี้รู้จักกันในนามลูกเทนนิสแบบมีแรงอัด

แบบที่สอง มีลักษณะเหมือนกับที่กล่าวมาแล้วแต่ต้องมีแรงกระดอนระหว่าง 53 นิ้ว (134.62 เซนติเมตร) และจะต้องมีแรงอัดภายในพอ ๆ กับแรงอัดภายนอก และจะต้องนำมาไว้ที่สถานที่แข่งขันประมาณ 60 วันหรือมากกว่านั้น เพื่อให้ปรับสภาพอากาศ ลูกเทนนิสแบบนี้เรียกว่า “ลูกเทนนิสไร้แรงอัด”

การทดสอบแรงกระดอน ขนาดและการผิดไปจากรูปถือตามกฎในผนวก 1 สหพันธ์เทนนิสนานาชาติจะเป็นผู้ตัดสินใจกรณีที่มีปัญหาว่าลูกเทนนิสแบบใดมีลักษณะตรงตามข้อกำหนดข้างต้นหรือไม่หรือจะนำลูกเทนนิสนั้นมาใช้ในการเล่นได้หรือไม่ การตัดสินนี้จะทำได้เมื่อเห็นสมควรหรือเมื่อผู้เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น นักเทนนิส บริษัทผู้ผลิต สมาคมแห่งชาติ หรือจากกลุ่มสมาชิกได้ทักท้วงขึ้นด้วย ความบริสุทธิ์ใจ ข้อกำหนดต่างๆ สหพันธ์เทนนิสนานาชาติเป็นผู้ดำเนินการโดยขอสำเนาข้อกำหนดได้จากสหพันธ์

4. ไม้เทนนิส (THE RACKET)

ไม้เทนนิสที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ จะนำมาใช้แข่งขันภายใต้กติกาเทนนิสไม่ได้ คือ

1. พื้นที่ส่วนที่ใช้ตีลูกของไม้เทนนิส ต้องแบนเรียบประกอบด้วยเอ็นถักเป็นแบบเดียวกันติดกับกรอบ และต้องถักแบบสลับหรือมัดติดกันตรงบริเวณที่เอ็นซับซ้อนกัน การถักต้องสม่ำเสมอและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตรงกลางของไม้เทนนิส จำนวนเอ็นต้องไม่ตึงน้อยกว่าบริเวณอื่น

เอ็นของไม้เทนนิส ต้องไม่มีวัสดุใด ๆ ที่ติดอยู่กับยื่นออกมา นอกจากสิ่งที่ใช้เพื่อป้องกันหรือจำกัดการสึกหรอหรือการสั่นสะเทือนเท่านั้น สิ่งดังกล่าวต้องมีขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมกับจุดประสงค์นั้น ๆ

2. สำหรับการเล่นระดับอาชีพ กรอบรวมทั้งด้ามของไม้เทนนิสต้องมีความยาวไม่เกิน 29 นิ้ว (73.66 เซนติเมตร) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป สำหรับการเล่นที่มิใช่ระดับอาชีพกรอบรวมทั้งด้ามของไม้เทนนิสต้องยาวไม่เกิน 29 นิ้ว (73.66 เซนติเมตร) และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 กรอบไม้เทนนิสต้องมีความกว้างไม่เกิน 12 ½ นิ้ว (31.75 เซนติเมตร) พื้นที่ขึงเอ็นต้องมีความยาวไม่เกิน 15 ½ นิ้ว (39.37 เซนติเมตร) และมีความกว้างไม่เกิน 11 ½ นิ้ว (29.21 เซนติเมตร)

3. กรอบและด้าม ต้องไม่มีวัสดุใดที่ติดอยู่หรือยื่นออกมา นอกจากสิ่งที่ทำไว้เพื่อป้องกันหรือจำกัดการสึกหรอ การสั่นสะเทือนหรือการกระจายน้ำหนักเท่านั้น สิ่งดังกล่าวต้องมีขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมกับจุดประสงค์นั้น ๆ

4. กรอบ ด้าม และเอ็นต้องไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ซึ่งทำให้ผู้เล่นใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือเปลี่ยนแปลงการกระจายน้ำหนักของไม้เทนนิสในทิศทางตามแกมแนวนอน ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงเฉื่อยในระหว่างการเล่นแต้มหนึ่ง ๆ

สหพันธ์เทนนิสนานาชาติจะเป็นผู้ตัดสินใจในกรณีที่มีปัญหาว่าไม้เทนนิสใดจะมีลักษณะตรงกับหัวข้อกำหนดข้างต้นหรือไม่หรือสามารถนำไม้เทนนิสนั้นมาใช้ในการเล่นได้หรือไม่ การตัดสินจะทำได้เมื่อเห็นสมควร หรือมีผู้เกี่ยวข้อง เช่นนักเทนนิส บริษัทผู้ผลิต สมาคมแห่งชาติ หรือจากกลุ่มสมาชิกที่ได้ทักท้วงขึ้นด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข้อกำหนดต่าง ๆ สหพันธ์เทนนิสนานาชาติจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยขอสำเนาข้อกำหนดได้จากสหพันธ์

ปัญหาที่ 1 ไม้เทนนิสอันหนึ่งจะขึงเอ็นได้มากกว่าหนึ่งชุดได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ได้ ตามกติกาได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าการขึงเอ็นไม้เทนนิสอย่างไรถูกต้องและอย่างไรไม่ถูกต้อง

ปัญหาที่ 2 การขึงเอ็นไม้เทนนิสจะถูกต้องหรือไม่ถ้าระดับเอ็นที่ขึงสูงต่ำไม่เท่ากัน

ข้อชี้ขาด ไม่ถูกต้อง

ปัญหาที่ 3 นักเทนนิสสามารถใช้ชิ้นส่วนกันสะเทือนติดบนเอ็นของไม้เทนนิสได้หรือไม่ ถ้าใช้ได้จะต้องติดตรงไหน

ข้อชี้ขาด ติดได้ แต่ต้องติดไว้นอกเส้นที่ไม่ไขว้กันของเอ็นเทนนิสเท่านั้น

ปัญหาที่ 4 ในขณะเล่น หากเอ็นเทนนิสของผู้เล่นขาดผู้เล่นสามารถจะใช้ไม้เทนนิสที่เอ็นขาดเล่นต่อไหได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ใช้เล่นได้

5. ผู้เสิร์ฟและผู้รับ (SERVER & RECEIVER)

ผู้เล่นจะต้องอยู่คนละข้างของตาข่าย ผู้เล่นที่ส่งลูกก่อนเรียกว่า “ผู้เสิร์ฟ” ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”

ปัญหาที่ 1 ผู้เล่น ขณะพยายามตีลูก หากล้ำแนวเส้นสมมติที่ลากตรงต่อจากตาข่ายออกไปจะเสียแต้มหรือไม่

(1) ก่อนตีลูก

(2) หลังตีถูกลูกแล้ว

ข้อชี้ขาด ไม่เสียแต้มทั้งสองกรณี เว้นแต่นั้นจะล้ำเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้ กติกา ข้อ 20 (5) ในกรณีที่เกิดการขัดขวางใด ๆ ขึ้น คู่ต่อสู้ของผู้นั้นอาจจะขอคำตัดสินจากผู้ตัดสินได้ตามกติกาข้อ 21 และข้อ 25

ปัญหาที่ 2 ผู้เสิร์ฟอ้างว่า ผู้รับจะต้องยืนอยู่ภายในเส้นของขอบสนาม ถูกต้องหรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ถูกต้อง ผู้รับจะยืนอยู่ที่ใดในด้านของตนก็ได้ตามใจชอบ

6. การเลือกข้างและการเลือกเสิร์ฟ (CHOICE OF ENDS & SERVICE)

การเลือกข้างก็ดี การเลือกสิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับในเกมแรกก็ดี ให้ชี้ขาดด้วยการเสี่ยง ผู้เล่นที่ชนะในการเสี่ยง จะมีสิทธิ์เลือกหรือบังคับให้คู่ต่อสู้เลือก

(1) สิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับ ในกรณีนี้ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้เลือกข้างหรือ

(2) เลือกข้าง ในกรณีนี้ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิ์ที่จะเลือกเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับ

ปัญหาที่ 1 ผู้เล่นที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์จะเลือกใหม่ได้หรือไม่ หากการแข่งขันได้เลื่อนหรือหยุดลงชั่วคราว

ข้อชี้ขาด ได้ สิทธิ์ของการชนะในการเสี่ยงให้คงไว้ แต่การเลือกใหม่สามารถเลือกได้เฉพาะการเลือกเป็นผู้เสิร์ฟหรือเลือกข้าง

7. การเสิร์ฟ (THE SERVICE)

การเสิร์ฟจะต้องกระทำดังนี้ คือ ก่อนเสิร์ฟผู้เสิร์ฟต้องยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างหลังเส้นหลัง (คือให้เส้นหลังอยู่ระหว่างตาข่ายกับผู้เสิร์ฟ) และยืนอยู่ระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลางและเส้นข้าง ต่อจากนั้นให้ผู้เสิร์ฟใช้มือโยนลูกขึ้นไปในอากาศในทิศทางใดก็ได้แล้วใช้ไม้เทนนิสตีลูกนั้นก่อนลูกตกถึงพื้น เมื่อไม้เทนนิสสัมผัสลูกก็ถือว่าการเสิร์ฟครั้งนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ถ้าผู้เล่นมีแขนข้างเดียวจะใช้ไม้เทนนิสช่วยในการโยนลูกในการเสิร์ฟก็ได้

ปัญหาที่ 1 ในการเล่นเดี่ยว ผู้เสิร์ฟจะยืนหลังเส้นหลังในแนวที่อยู่ระหว่างเส้นข้างของสนามประกอบเดี่ยวกับเส้นข้างของสนามทุกประเภทคู่ได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ได้

ปัญหาที่ 2 ผู้เล่นขณะทำการเสิร์ฟ โยนลูกขึ้นไป 2 ลูกหรือมากกว่า แทนที่จะโยนลูกเดียว จะถือว่าผู้นั้นเสิร์ฟเสียหรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ถือว่าเสีย ผู้ตัดสินควรขาน เล็ท แต่ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ อาจจะถือปฏิบัติตามกติกา ข้อ 21 ก็ได้

8. ฟุตฟอลท์ (FOOT FAULT)

ตลอดการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้อง

(1) ไม่เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง ผู้เสิร์ฟที่เคลื่อนไหวเท้าเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้เท้าเคลื่อนที่จากจุดเดิม จะไม่ถือว่าเปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง

(2) ไม่สัมผัสพื้นส่วนใด นอกจากพื้นที่อยู่หลังเส้นในระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อไปจากจุดกึ่งกลางและเส้นข้าง

 

9. วิธีการเสิร์ฟ ( DELIVERY OF SERVICE)

(1) ในการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟต้องยืนหลังเส้นของสนามด้านขวาและด้านซ้ายสลับกัน โดยเริ่มจากด้านขวาก่อนทุกเกม ถ้ามีการเสิร์ฟผิดด้าน โดยไม่มีผู้ทักท้วง แต้มและการเสิร์ฟที่ผ่านไปคงใช้ได้ทั้งหมดแต่เมื่อพบข้อผิดพลาดให้เปลี่ยนไปเสิร์ฟในด้านที่ถูกต้องทันที

(2) ลูกเสิร์ฟจะต้องข้ามตาข่ายไปสัมผัสพื้นสนามภายในคอร์ตซึ่งอยู่ทแยงกันหรือบนเส้นใดเส้นหนึ่งที่ล้อมรอบคอร์ตเสิร์ฟเท่านั้น ก่อนที่ผู้รับจะตีโต้ลูกกลับ

10. ลูกเสิร์ฟเสีย (SERVICE FAULT)

การเสิร์ฟถือว่าเสีย คือ

(1) ถ้าผู้เสิร์ฟทำผิกกติกาข้อ 7, 8 หรือ 9

(2) ถ้าผู้เสิร์ฟตีลูกอย่างเจตนาแต่ไม่ถูก

(3) ถ้าผู้เสิร์ฟไปนั้นสัมผัสกับสิ่งติดตั้งถาวรใด ๆ (นอกจากตาข่าย แถบขึงตาข่าย) ก่อนสัมผัสพื้น

ปัญหาที่ 1 หลังจากโยนลูกเพื่อเสิร์ฟแล้วผู้เสิร์ฟเปลี่ยนใจไม่ตีลูกแต่ใช้มือรับ

ลูกจะถือว่าลูกนั้นเสียหรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่เสีย

ปัญหาที่ 2 ในการเล่นประเภทเดี่ยวที่ใช้สนามประเภทคู่ โดยมีเสาขึงตาข่ายอยู่ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ หากเสิร์ฟลูกไปกระทบเสาขึงตาข่ายประเภทเดี่ยวและตกลงในสนามที่ถูกต้องลูกนั้นจะถือว่าเสียหรือเล็ท

ข้อชี้ขาด ถือว่าเสีย เพราะเสาขึงตาข่ายทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่รวมทั้งตาข่ายและแถบหุ้มตาข่ายที่อยู่ระหว่างเสาทั้งสองถือว่าเป็นสิ่งติดตั้งถาวร

11. การเสิร์ฟลูกที่สอง (SECOND SERVICE)

เมื่อเสิร์ฟเสีย (หากเป็นการเสิร์ฟลูกแรก) ผู้เสิร์ฟจะได้เสิร์ฟอีกลูกหนึ่งจากด้านเดิมที่เสิร์ฟลูกแรกไป ถ้าลูกแรกที่เสิร์ฟเสียผู้เสิร์ฟยืนผิดด้าน ให้ผู้เสิร์ฟนั้นเสิร์ฟใหม่อีกลูกเดียวหลังสนามอีกด้านหนึ่ง ตามกติกาข้อ 9

ปัญหาที่ 1 ผู้เล่นยืนผิดด้าน เสิร์ฟลูกและเสียแต้มไปแล้วจะอ้างว่าเสิร์ฟเสียเพราะยืนผิดด้านได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ได้ แต้มต้องเป็นไปตามที่เล่นไปแล้ว การเสิร์ฟลูกต่อไปต้องเสิร์ฟจากด้านที่ถูกต้องตามแต้มที่เล่นเสร็จไปแล้ว

ปัญหาที่ 2 ขณะแต้ม 15 เท่ากัน ผู้เสิร์ฟทำผิดโดยเสิร์ฟจากสนามด้านซ้ายและได้แต้ม ต่อมาเขาเสิร์ฟจากด้านขวาและเสียไปหนึ่งลูกจึงรู้ว่าเสิร์ฟผิดด้าน ผู้เสิร์ฟผิดด้านนั้นจะได้แต้มที่ได้ไปแล้วหรือไม่และลูกต่อไปจะเสิร์ฟด้านใด

ข้อชี้ขาด แต้มที่ได้นั้นถือว่าถูกต้อง ลูกต่อไปต้องเสิร์ฟจากด้านซ้ายตามแต้มที่ได้คือ 30-15 และผู้เสิร์ฟเสียไปแล้วหนึ่งลูก

12. โอกาสที่จะเสิร์ฟ (WHEN TO SERVE)

ผู้เสิร์ฟจะเสิร์ฟไม่ได้จนกว่าผู้รับพร้อมที่จะรับ หากผู้รับได้พยายามรับลูกต้องถือว่าผู้รับพร้อมที่จะรับลูกแล้ว ถ้าผู้รับแสดงท่าทางว่าตนยังไม่พร้อมที่จะรับลูก ผู้รับจะอ้างว่าลูกเสิร์ฟนั้นเสียไม่ได้ หากลูกเสิร์ฟนั้นไม่ได้สัมผัสพื้นสนามที่ถูกต้อง

13. การขานเล็ท (THE LET)

ทุกกรณีที่ขานคำว่า “เล็ท” ตามกติกานี้หรือขานเพื่อหยุดการเล่นครั้งใดก็ตามให้ตีความหมาย ดังนี้

(1) เมื่อขานขึ้นเฉพาะการเสิร์ฟลูกหนึ่ง ให้เสิร์ฟลูกนั้นใหม่

(2) เมื่อขานขึ้นในกรณีอื่น ๆ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่

ปัญหาที่ 1 ถ้าการเสิร์ฟมีสิ่งขัดขวางเกิดขึ้นนอกจากที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 14 ควรให้เสิร์ฟลูกนั้นใหม่หรืออย่างไร

ข้อชี้ขาด ไม่ใช่ ต้องเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมด

ปัญหาที่ 2 ถ้าลูกที่อยู่ในการเล่นเกิดแตกขึ้นควรขานเล็ทหรือไม่

ข้อชี้ขาด ควร

14. การขนาดเล็ทในขณะเสิร์ฟ (THE “LET” IN SERVICE)

การเสิร์ฟที่ถือว่า เล็ท คือ

(1) เมื่อลูกเสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่ายหรือแถบหุ้มตาข่ายแล้วตกในสนามที่ถูกต้อง หรือเมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายแล้วสัมผัสร่างกายผู้รับหรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนลูกนั้นจะสัมผัสพื้น

(2) เมื่อได้เสิร์ฟไปในขณะผู้รับยังไม่พร้อมที่จะรับไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟที่ดีหรือเสียก็ตาม

เมื่อการเสิร์ฟเป็นเล็ท ไม่มีฝ่ายใดได้แต้มและผู้เสิร์ฟต้องเสิร์ฟลูกนั้นใหม่ การเสิร์ฟที่เป็นเล็ทไม่ทำให้การเสิร์ฟที่เสียไปในลูกแรกกลับเป็นลูกดีได้

15. ลำดับการเสิร์ฟ (ORDER OF SERVICE)

เมื่อจบเกมแรก ผู้รับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้เสิร์ฟและผู้เสิร์ฟต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบการแข่งขัน ถ้าผู้เล่นคนใดเสิร์ฟผิดรอบ ผู้เล่นที่ควรจะเป็นผู้เสิร์ฟจะต้องเป็นผู้เสิร์ฟต่อไปทันทีที่ได้พบข้อผิดพลาด ลำดับการเสิร์ฟเกมต่อ ๆ ไป ให้เป็นตามที่ผิดพลาดไปแล้วนั้น แต่ลูกที่ผู้เสิร์ฟผิดรอบเสิร์ฟเสียไปลูกหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นก่อนพบข้อผิดพลาดไม่ต้องนับ

16. การเปลี่ยนข้าง (WHEN PLAYERS CHANGE ENDS)

ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่หนึ่ง เกมที่สาม และทุก ๆ เกมคี่ของแต่ละเซต และต้องเปลี่ยนข้างเมื่อเซต นอกจากจำนวนแกมในเซตนั้นรวมกันแล้วเป็นเลขคู่ ในกรณีนี้จะเปลี่ยนข้างจนกว่าจะจบเกมหนึ่งของเซตต่อไป

ถ้าเกิดข้อผิดพลาดทำให้ลำดับการเปลี่ยนข้างไม่ถูกต้อง ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างให้ถูกต้องทันทีที่พบข้อผิดพลาด และดำเนินการต่อไปตามลำดับการเปลี่ยนข้างที่เลือกไว้แต่เดิม

17. ลูกอยู่ในการเล่น (THE BALL IN PLAY)

นับตั้งแต่เมื่อได้ทำการเสิร์ฟไปแล้วจนกระทั่งผู้เล่นได้หรือเสียแต้ม ถือว่าลูกนั้นอยู่ในการเล่น เว้นแต่จะมีการขานว่าเล็ทหรือเสีย

ปัญหาที่ 1 ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งตีโต้ลูกไปแต่เสียกรรมการไปขานว่า “เสีย” และการเล่นยังคงดำเนินต่อไป ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าตนได้แต้มนั้นหลังจากตีโต้กันจนจบแล้วได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ได้ ถ้าผู้เล่นยังเล่นต่อไปหลังจากมีลูกเสียเกิดขึ้นแล้ว ฝ่ายใดจะอ้างว่าตนได้แต้มนั้นไม่ได้ เว้นแต่คู่ต่อสู้จะถูกขัดขวางการเล่น

18. ผู้เสิร์ฟได้แต้ม (SERVER WINS POINT)

ผู้เสิร์ฟจะได้แต้มเมื่อ

(1) ลูกที่เสิร์ฟมิได้เป็นเล็ทตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 14 ไปสัมผัสผู้รับหรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนจะสัมผัสพื้น

(2) ผู้รับทำเสียแต้ม ดังที่ระบุไว้ในกติกา ข้อ 20

 

19. ผู้รับได้แต้ม (RECEIVER WINS POINT)

ผู้เล่นจะเสียแต้มเมื่อ

(1) ผู้เสิร์ฟเสียสองลูกติดกัน

(2) ผู้เสิร์ฟทำเสียแต้ม ตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 20

20. ผู้เล่นเสียแต้ม (PLAYER LOSES POINT)

ผู้เล่นจะเสียแต้มเมื่อ

(1) ผู้นั้นไม่สามารถตีลูกที่อยู่ในการเล่นข้ามตาข่ายกลับไปก่อนที่ลูกจะสัมผัสพื้นสองครั้ง (เว้นแต่ที่ระบุในกติกาข้อ 24 (1) หรือ (3) หรือ

(2) ผู้นั้นตีลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสพื้นสิ่งติดตั้งถาวรหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอยู่นอกเส้นที่ล้อมรอบสนามของคู่ต่อสู้ (เว้นแต่ที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 24 (1) หรือ (3) หรือ

(3) ผู้นั้นตีลูกก่อนลูกนั้นตกถึงพื้นแต่เสีย แม้จะยืนอยู่นอกสนามก็ตามหรือ

(4) ผู้นั้นใช้ไม้เทนนิสสัมผัสลูกหรือตีลูกที่อยู่ในการเล่นมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือ

(5) ร่างกายหรือไม้เทนนิสของผู้นั้น (ไม่ว่าจะถืออยู่หรือหลุดจากมือแล้วก็ตาม) หรือสิ่งที่ผู้นั้นสวมหรือถืออยู่สัมผัสตาข่าย เสาไม้ค้ำตาข่าย เชือก หรือลวดขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายหรือสนามของคู่ต่อสู้ในขณะที่ลูกอยู่ในการเล่น หรือ

(6) ผู้นั้นตีลูกก่อนลูกตกพื้นก่อนลูกนั้นข้ามตาข่ายมา หรือ

(7) ลูกที่อยู่ในการเล่นสัมผัสร่างกายของผู้นั้น หรือสิ่งใดที่สวมอยู่หรือถืออยู่ เว้นแต่ไม้เทนนิสที่เขาถืออยู่ด้วยมือเดียว หรือสองมือก็ตาม หรือ

(8) ผู้นั้นขว้างไม่เทนนิสไปถูกลูก หรือ

(9) ผู้นั้นตั้งใจทำให้รูปร่างของไม้เทนนิสที่ใช้ตีอยู่เปลี่ยนแปลงไปในระหว่างการเล่นเล่นแต้มนั้น

ปัญหาที่ 1 ในการเสิร์ฟ ถ้าไม้เทนนิสหลุดมือไปสัมผัสตาข่ายก่อนลูกสัมผัสสนาม จะถือว่าผู้เสิร์ฟเสียลูกนั้นหรือเสียแต้มทั้งหมด

ข้อชี้ขาด ผู้เสิร์ฟเสียแต้ม เพราะไม้เทนนิสสัมผัสตาข่ายขณะลูกอยู่ในการเล่น

ปัญหาที่ 2 ในการเสิร์ฟ ถ้าไม้เทนนิสหลุดมือไปสัมผัสตาข่ายหลังลูกสัมผัสพื้นนอกเขตสถานที่ถูกต้อง จะถือว่าผู้เสิร์ฟเสียลูกนั้นหรือเสียแต้มทั้งหมด

ข้อชี้ขาด เสียเฉพาะลูกนั้น เพราะขณะไม้เทนนิสสัมผัสตาข่ายลูกมิได้อยู่ในการเล่น

ปัญหาที่ 3 ก. และ ข. กำลังแข่งขันกับ ค. และ ง. ขณะ ก. เสิร์ฟไปที่ ปรากฏว่า ค.สัมผัสตาข่ายก่อนที่ลูกที่ ก.เสิร์ฟ จะสัมผัสสนาม หลังจากนั้นผู้ตัดสินขานว่า เสีย เพราะลูกที่ ก.เสิร์ฟตกนอกคอร์ตเสิร์ฟ ดังนั้น ฝ่าย ค. และ ง. จะเสียแต้มหรือไม่

ข้อชี้ขาด การขานว่า เสีย ไม่ถูกต้อง เพราะ ค. และ ง. ได้เสียแต้มนั้นแล้ว ก่อนขานว่า เสีย เนื่องจาก ค. สัมผัสตาข่ายขณะลูกอยู่ในการเล่น (กติกาข้อ 20 (5))

ปัญหาที่ 4 ขณะลูกอยู่ในการเล่นผู้เล่นจะกระโดดข้ามตาข่ายไปในสนามของคู่ต่อสู้ได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ได้ ผู้นั้นต้องเสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (5))

ปัญหาที่ 5 ก. ตีลูกตัด ลูกวิ่งข้ามตาข่ายไปแล้วแต่ลอยย้อนกลับมาในสนามด้านของ ก. อีก ดังนั้น หาก ข.ไม่สามารถเอื้อมตีลูกไม้ทัน จึงขว้างไม้เทนนิสไปกระทบลูก ทั้งลูกและไม้เทนนิสของ ข.ข้ามตาข่ายไปตกในสนามด้านของ ก. ก.ตีลูกกลับแต่ไปตกนอกสนามด้านของ ข. ดังนี้ จะได้แต้มหรือเสียแต้ม

ข้อชี้ขาด เสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (7)เว้นแต่จะเป็นไปตามกติกาข้อ 14 (1))

ปัญหาที่ 6 ผู้เล่นยืนอยู่นอกสนาม ใช้ไม้เทนนิสตีลูกหรือใช้มือรับลูกแล้วอ้างว่าตนได้แต้มนั้น เนื่องจากลูกนั้นจะต้องตกนอกสนามอย่างแน่นอน

ข้อชี้ขาด ผู้เล่นนั้น จะอ้างว่าตนได้แต้มไม่ได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ

(1) ถ้าใช้มือรับลูก ผู้นั้นเสียแต้มตามกติกาข้อ 20 (7)

(2) ถ้าตีลูกก่อนลูกนั้นถึงพื้นแต่เสีย ผู้นั้นเสียแต้มตามกติกา 20 (3)

(3) ถ้าตีลูกก่อนลูกนั้นตกพื้นและเป็นลูกตี การแข่งขันคงดำเนินต่อไป

21. การขัดขวางคู่ต่อสู้ (PLAYER HINDERS OPPONENT)

หากผู้เล่นฝ่ายใดกระทำโดยจงใจเพื่อขัดขวางไม่ให้คู่ต่อสู้ตีถือว่าผู้เสียแต้ม หากมิได้กระทำโดยจงใจให้เล่นแต้มนั้นใหม่

ปัญหาที่ 1 ผู้เล่นจะถูกลงโทษหรือไม่ ถ้าหากขณะตีลูกผู้นั้นสัมผัสตัวคู่ต่อสู้

ข้อชี้ขาด ไม่ถูกลงโทษ เว้นแต่ผู้ตัดสินเห็นว่าจำเป็นต้องลงโทษตามกติกาข้อ 21

ปัญหาที่ 2 เมื่อลูกซึ่งข้ามตาข่ายมาสัมผัสพื้น แล้วกระดอนข้ามตาข่ายกลับไปอีก ผู้เล่นที่จะต้องตีลูกนั้นสามารถเอื้อมมือข้ามตาข่ายไปตีลูกนั้นได้ จะใช้กติกาข้อไหนตัดสินถ้าหากผู้เล่นนั้นถูกคู่ต่อสู้ขัดขวางไม่ให้ตีลูก

ข้อชี้ขาด ใช้กติกาข้อ 21 คือผู้ตัดสินอาจให้ผู้เล่นที่ถูกขัดขวางได้แต้มนั้น หรืออาจสั่งให้เล่นแต้มใหม่ก็ได้

ปัญหาที่ 3 การตีลูกสองครั้ง โดยไม่จงใจถือว่าเป็นกระทำเพื่อขัดขวางคู่ต่อสู้ตามกติกาข้อ 21 หรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ใช่

22. ลูกที่ตกบนเส้น (BALL FALLS ON LINE)

ลูกที่ตกบนเส้นใด ๆ ก็ตามให้ถือว่าตกในสนามที่เส้นนั้นล้อมอยู่

23. ลูกสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวร (BALL TOUCHES PERMANAENT FIXTURES)

)

ถ้าลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรใด ๆ (นอกจากตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกหรือลวดขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย หรือแถบหุ้มตาข่าย) หลังจากที่ได้สัมผัสสนามแล้ว ผู้เล่นที่ตีลูกนั้นได้แต้ม แต่ถ้าลูกนั้นสัมผัสติดตั้งถาวรดังกล่าวข้างต้นก่อนสัมผัสสนาม คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายได้แต้ม

ปัญหาที่ 1 อ้างไม่ได้ ต้องถือว่าผู้นั้นเสียแต้ม

ข้อชี้ขาด อ้างไม่ได้ ต้องถือว่าผู้นั้นเสียแต้ม

24. การตีโต้ที่ดี (A GOOD RETURN)

การตีโต้ที่ถือว่าดี คือ

(1) ถ้าลูกสัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือก ลวดขึงตาข่าย หรือแถบหุ้มตาข่าย แล้วข้ามสิ่งดังกล่าวไปตกในสนาม

(2) เมื่อลูกเสิร์ฟหรือตีโต้กลับมา ข้ามตาข่ายตกลงในสนามที่ถูกต้องแล้วกระดอนข้ามตาข่ายกลับไป ถ้าผู้เล่นที่ถึงรอบจะต้องตีลูกเอื้อมข้ามตาข่ายไปตีลูก โดยไม่ฝ่าฝืนกฎข้อ 20 (5) หรือ

(3) ถ้าลูกวิ่งอ้อมเสาหรือไม้ค้ำตาข่ายไม่ว่าจะวิ่งไปในระดับสูงหรือต่ำกว่าตาข่ายหรือแม้จะสัมผัสเสา หรือไม้ค้ำตาข่ายแล้วไปสัมผัสสนามที่ถูกต้อง หรือ

(4) ถ้าไม้เทนนิสของผู้เล่นข้ามตาข่ายหลังจากตีลูกกลับไปแล้ว แต่ต้องมิใช่ตีลูกก่อนข้ามตาข่ายเข้ามาในสนามของตน และเป็นการตีโต้ที่ดี หรือ

(5) ถ้าลูกที่ตีโต้ไปแล้ว หรือเสิร์ฟไปแล้วกระทบลูกอื่นซึ่งอยู่ภายในสนาม

หมายเหตุ ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวในสนามประเภทคู่ เพื่อความสะดวกจะใช้ไม้ค้ำตาข่ายมาค้ำตาข่ายไว้ กรณีเช่นนี้ เสา ส่วนของตาข่าย เชือกหรือลวดขึงตาข่าย และแถบหุ้มตาข่ายซึ่งอยู่นอกไม้ค้ำตาข่าย ต้องถือว่าเป็นสิ่งติดตั้งถาวรและไม่ถือว่าเป็นเสาหรือตาข่ายของการแข่งขันประเภทเดี่ยว

ลูกที่ตีโต้ หากวิ่งลอดใต้เชือกขึงตาข่าย ระหว่างไม้ค้ำตาข่ายและเสา โดยไม่ได้สัมผัสเชือก ลวดขึงตาข่าย ตาข่าย หรือเสา แล้วตกในสนาม ถือว่าเป็นลูกดี

ปัญหาที่ 1 ลูกซึ่งกำลังจะวิ่งออกไปนอกสนาม แต่ชนเสาหรือไม้ค้ำตาข่ายและตกลงในสนามคู่ต่อสู้ จะถือว่าเป็นลูกที่ดีหรือไม่

ข้อชี้ขาด ถ้าเป็นลูกเสิร์ฟถือว่าเสีย ตามกติกาข้อ 10 (3) ถ้าเป็นลูกอื่นนอกเหนือจากลูกเสิร์ฟถือว่าดี ตามกติกาข้อ 24 (1)

ปัญหาที่ 2 จะถือว่าลูกที่ตีโต้กลับไปเป็นลูกดีหรือไม่ ถ้าผู้นั้นจับไม้สองมือในการตีลูก

ข้อชี้ขาด ถือว่าเป็นลูกดี

ปัญหาที่ 3 ถ้าลูกเสิร์ฟหรือลูกที่อยู่ในการเล่นไปกระทบลูกซึ่งอยู่ในสนามจะถือว่าเสียแต้มหรือไม่

ข้อชี้ขาด ยังไม่ได้แต้มหรือเสียแต้ม การแข่งขันต้องดำเนินต่อไป หากผู้ตัดสินไม่แน่ใจว่า ลูกที่ตีโต้กันอยู่นั้นจะเป็นลูกที่ถูกต้องก็ควรขานเล็ท

ปัญหาที่ 4 ในระหว่างการเล่น ผู้เล่นจะใช้ไม้เทนนิสมากกว่าหนึ่งอันได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ได้ กติกาที่มีอยู่ทั้งหมดนี้หมายถึงการใช้ไม้เทนนิสเพียงอันเดียวเท่านั้น

ปัญหาที่ 5 ผู้เล่นจะขอให้เอาลูกที่ตกในสนามของคู่ต่อสู้ออกไปก่อนได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ได้ แต่ต้องไม่ใช่ขณะลูกอยู่ในระหว่างการเล่น

 

25. ผู้เล่นถูกขัดขวาง (HINDRANCE OF A PLAYER)

ในระหว่างการตีลูก ถ้าผู้เล่นถูกขัดขวางโดยสิ่งใดซึ่งพ้นวิสันที่เขาจะแก้ไขได้ เว้นแต่สิ่งติดตั้งถาวรหรือเว้นแต่สิ่งที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 21 ให้ขานเล็ท

ปัญหาที่ 1 ถ้าผู้ดูเข้าขัดขวาง ทำให้ผู้เล่นไม่ตีโต้ได้ ผู้เล่นจะขอให้ขานเล็ทได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ได้ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่า ผู้เล่นลูกขัดขวางโดยสภาพที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้เล่นแต่ต้อง ไม่ใช่เนื่องจากสิ่งตติดตั้งถาวรหรือเครื่องประดับของสนาม

ปัญหาที่ 2 ผู้เล่นถูกขัดขวางเช่นเดียวกับปัญหาข้อที่ 1 และผู้ตัดสินขานว่าเล็ทแล้ว ถ้าผู้เสิร์ฟได้เสิร์ฟลูกเสียไปแล้วหนึ่งลูก ก่อนการขานเล็ทผู้เสิร์ฟมีสิทธิ์เสิร์ฟสองลูกหรือไม่

ข้อชี้ขาด มีสิทธิ์ เพราะลูกกำลังอยู่ในระหว่างการเล่นซึ่งตามกติกาจะต้องเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่เล่นเฉพาะลูกเดียว

ปัญหาที่ 3 ผู้เล่นจะขอให้เล่นแต้มนั้นใหม่ตามกติกาข้อ 25 เนื่องจากผู้เล่นคิดว่าคู่ต่อสู้จะถูกขัดขวางไม่ให้เล่นลูก และผู้เล่นไม่คิดว่าลูกนั้นจะถูกตีโต้กลับมาจะได้หรือไม่

ข้อชี้ขาด ไม่ได้

ปัญหาที่ 4 จะถือว่าเป็นลูกดีหรือ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3515เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2005 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท