สถิติ(statistics)อาจพิจารณาได้ 3 ความหมายคือ
สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts )ของ เรื่องต่างๆ ที่เราต้องศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติในความหมายนี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (statistics)สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราสนใจรายได้เฉลี่ยของคนในหมู่บ้าน แล้วเราสามารถนำรายได้ของทุกคนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยของรายได้ ค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้นี้ถือว่าเป็นค่าพารามิเตอร์ แต่ถ้าเราสุ่มตัวอย่างคนในหมู่บ้านมาจำนานหนึ่งแล้วคำนวณรายได้เฉลี่ย ค่าเฉลี่ยที่ได้นี้จะเป็นค่าสถิติ
- สถิติประชากรและการเคหะ
- สถิติแรงงาน
- สถิติการศึกษา การฝึกอบรม ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงสถิติสื่อสารมวลชน
- สถิติด้านสุขภาพ
- สถิติสวัสดิการสังคม
- สถิติเกี่ยวกับหญิงและชาย
- สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน
- สถิติด้านสังคม ประชากรศาสตร์ และสถิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สถิติบัญชีประชาชาติ
- สถิติการเกษตร การป่าไม้และการประมง
- สถิติอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
- สถิติพลังงาน
- สถิติการค้าส่ง ค้าปลีกและการค้าระหว่างประเทศ
- สถิติการขนส่ง
- สถิติการคมนาคม
- สถิติการท่องเที่ยว
- สถิติการเงิน การธนาคาร การประกันภัย และดุลการชำระเงิน
- สถิติการคลัง
- สถิติราคา
- สถิติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิทธิบัตร
- สถิติด้านเศรษฐกิจอื่นๆ
- สถิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถิติอุตุนิยมวิทยา
ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (fatcts) ที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจเป็นข้อที่เท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ในหมู่บ้าน ราคาของพืชผักและผลไม้ต่างๆ ในหมู่บ้าน เป็นต้นหรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่น การศึกษา หรือ อาชีพของคนในหมู่บ้าน เป็นต้น
สารสนเทศหรือข่าวสาร (Information) หมายถึง ผลลัพธ์จากการนำเอาข้อมูลที่สังเกตและบันทึกไว้มาทำการจัดการข้อมูล ประมวลผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และแปลความหมาย แล้วเลือกนำเสนอขึ้นเป็นสารสนเทศหรือความรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับตัดสินใจปฏิบัติการต่างๆ
ขอบข่ายของสถิติ
ในกรณีที่สถิติ หมายถึง ข้อมูลสถิติ
ข้อมูลสถิติได้ครอบคลุมไปในแทบทุกแขนงของวิชาการในกิจกรรมต่างๆ ของการดำรงชีวิตประจำวัน การวางแผน การติดตามผล เป็นต้น
ในวงการสถิติของรัฐบาล ไม่ว่าข้อมูลสถิตินั้นๆ จะอยู่ในลักษณะของผลพลอยได้จากการบริหารงาน หรือจัดทำขึ้นมาเพื่อการสถิติโดยตรง สามารถจำแนกข้อมูลสถิติ ดังกล่าว ออกเป็น 23 สาขาด้วยกัน คือ