การอยู่ร่วมกันของคนต่างสี


ผมกลับถึงเมืองไทยด้วยจิตภาวนาว่าอย่าให้รอยร้าวในเมืองไทยฝังรากลึกไปกว่านี้เลย....ผมกลัว

     เปล่า...ผมไม่ได้คิดจะพูดถึงสีต่างๆในประเทศไทย แต่รู้สึกว่าต้องบันทึกถึงความรู้สึกที่สัมผัสได้จากการได้ไปเหยียบดินแดน แอฟริกาใต้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปกับคณะของ สปสช. ที่มีวัตถุประสงค์ในการไปดูงาน ระบบบริการสุขภาพของประเทศที่ได้ชื่อว่า เจริญที่สุดในทวีปแอฟริกาใต้ รายได้ต่อหัวสูงกว่าเมืองไทยเกือบสองเท่าใช้จ่ายเงินเพื่อด้านสุขภาพมากกว่าประเทศไทยเกือบสี่เท่า ค่าเฉลี่ยจำนวนแพทย์ต่อประชากรดีกว่าเรา แต่อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy) ต่ำกว่าเรา ทั้งนี้ไม่นับคุณภาพชีวิตต่างๆที่ยากจะเข้าใจได้ด้วยดัชนีตัวเลขอย่างหยาบๆ นอกเสียจากการไปดูให้เห็นด้วยตา และพูดคุยสัมผัสด้วยใจเท่านั้นที่จะรับรู้ได้

   เป็นตัวอย่างอันดีของประเทศที่มีประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่ของมนุษย์ผู้เพียงแค่มีสีผิวแตกต่าง ดำกับขาว ความไม่เท่าเทียมแตกต่างระหว่างชนชั้น แม้ เนลสัน แมนเดลลา ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของคนผิวดำคนแรกที่ได้มีโอกาสขึ้นบริหารประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1994 แล้วก็ตาม ก็ยังได้เห็นถึงผลพวงจากความไม่เท่าเทียมได้ในปัจจุบัน ไม่มีความไว้วางใจระหว่างสีผิว ต่างฝ่ายต่างมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดผวาอาชญากรรมเกิดขึ้นเนืองๆกลางสี่แยกหรือบนท้องถนนเมื่อมีรถติด บ้านทุกหลังต้องมีรั้วและประตูแน่นหนา ขนาดโรงพยาบาลที่เราไปดูงานยามยังต้องพกปืน และตรวจสอบการเข้าออกอย่างละเอียด และหากได้ไปเห็นภายในโรงพยาบาลที่มีประตูเหล็กกั้นเป็นชั้นๆแล้วจะรู้สึกหดหู่อย่างบอกไม่ถูก

สภาพความเป็นอยู่คนผิวดำ

   

   

     ผมกลับถึงเมืองไทยด้วยจิตภาวนาว่าอย่าให้รอยร้าวในเมืองไทยฝังรากลึกไปกว่านี้เลย....ผมกลัว

  7 เมษายน 2553

หมายเลขบันทึก: 351449เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2010 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นภาพแล้วยังรู้สึกว่าเมืองไทยปัจจุบันยังน่าอยู่กว่านะครับ

แต่ถ้าเรายังคงยอมให้คนทำผิดได้โดยไม่ต้องรับโทษ (ซึ่งทางศาสนาถือว่าเป็นอุเบกขา คนทำผิดก็ต้องได้รับผลที่ไม่ดี)

ต่อไปบ้านเมืองเราก็คงจะเป็นเช่นในภาพแน่ๆ หากประเทศไทยไม่สิ้นคนไม่ดี หรือไม่สามารถควบคุมคนไม่ดี

อยากเดาว่า แม้รายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่าไทย แต่ยังมีความยากแค้นให้เห็นชัดๆ แสดงว่ามีความเหลื่อมล้ำมากมายในสังคมเขาใช่ไหมครับ แค่ใช้จ่ายด้านสาธารณสุขสูงมากเพราะเหตุใดครับ

ใช่ครับ...ผมไม่มีตัวเลขความเหลื่อมล้าแต่จากสายตาที่เห็นแม้เพียงบางส่วน บอกได้เลยว่าช่องว่างมากกว่าเรา (แม้ว่าเราก็มากพอดูแล้วนะครับ) สาเหตุคงเป็นผลพวงจากการกดขี่ระหว่างชนชาติและสีผิว ที่นี่มี 9 มลรัฐดูแลระบบสุขภาพของตนเอง รัฐบาลกลางจ่ายให้ในเรื่อง primary care แต่น้อย และบุคลากรด้านสุขภาพจะกลับด้านกับเมืองไทยคือทำงานเอกชนเป็นส่วนใหญ่(และแน่นอนที่สุดคืออยู่ในเขตเมืองที่เจริญ) รัฐต้องจ้างแพทย์และพยาบาลเอกชนมาทำ part time ถ้าเราไม่ตกข่าวจะทราบว่า โรงพยาบาลในเมือง Cape town เป็นโรงพยาบาลแรกในโลกที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จเมื่อหลายปีมาแล้ว.. ครับพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท