โครงการรพ.ไร้ความแออัดรพ.หาดใหญ่ ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขคลองเตย เทศบาลนครหาดใหญ่


เรื่องเล่าจากการไป Mini KM ศูนย์บริการสาธารณสุขคลองเตย

MINI KM ศูนย์เทศบาลคลองเตย  

18  กุมภาพันธ์   2553

 

ทีมจากโรงพยาบาลหาดใหญ่                วรวรรณ อรพรรณ  สุนันทา

                                                    ทีมนิพัทธ์สงเคราะห์          

ทีมศูนย์บริการสาธารณสุขคลองเตย       วไลพร  อารีย์  ป้าจัด วัชรี  เจนจิรา

จนท.จากรพ.หญ.ที่ประจำศูนย์ฯ           ชุมพล บุหงา

เปิดวงสนทนาโดยคุณวรวรรณ เป็นคุณอำนวย ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการมาครั้งนี้

                Ø   ภาพฝันระยะสั้น,ยาวก็ได้

                Ø   ณ.ปัจจุบันสิ่งที่เราเห็นในหน่วยงานเป็นอย่างไร

                Ø   ทำอย่างไรจึงจะทำภาพฝันให้เป็นจริง

คุณสุนันทาเป็นคุณลิขิต

ภาพฝัน

           บุหงา    ” คาดหวังให้บริการที่ศูนย์มีความครอบคลุม ครบถ้วน เหมือนโรงพยาบาล ”

            เจนจิรา” อยากให้ที่ทำงานจัดระบบเป็นสัดส่วน มีอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้น  ”

            วัชรี  ”  อยากให้มีระบบงานที่ดีขึ้น เจ้าหน้าที่มี Uniform ที่สวยงาม ”

            อารีย์ “อยากได้อุปกรณ์ในที่ทำงานมีความพร้อม พอเพียง เช่น คอมพิวเตอร์  ”

            วไลพร ” อยากให้คนไข้ได้รับบริการที่ถูกต้อง ครอบคลุม กลับไปอย่างมีความสุขและประทับใจ”

            ชุมพล   ”  อยากให้เป็นหน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจ ให้ชาวบ้านนึกถึงศูนย์เป็นอย่างแรกในการมารับบริการเบื้องต้น โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น และต้องพัฒนาศูนย์ให้พร้อม  ”

             ป้าจัด  ” อยากให้ช่วยกันทุกอย่าง  “

           วไลพร เสริมว่า ป้าจัดอยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม ปัดกวาดของทีอยู่ใกล้ตัว

           วรวรรณ สรุปว่า ภาพฝัน ทุกคนอยากให้ทุกคนร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบ 

และพัฒนาการบริการให้พร้อม เพื่อให้ชาวบ้านพึงพอใจ

หลังจากนั้น เริ่มพูดคุย เรื่องสิ่งที่เห็นในปัจจุบันที่หน่วยงานเป็น ความประทับใจ , การพัฒนางานดีๆที่อยากบอก หรือปัญหาที่มี

           บุหงา “ ประสบการณ์ที่เคยช่วยสถานีอนามัยหรือในเวชกรรมสังคม(คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว)ต่างกัน แต่เมื่อมาอยู่ที่ศูนย์เทศบาล รู้สึกว่ามีความยุ่งยากในการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์เพราะต้องเชื่อมโยงกับการเมือง แต่แก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งโดยหัวหน้า”

              วไลพร   “  ทีมงานที่อยู่ร่วมกันเข้าใจกัน มองปัญหาเหมือนไม่มีปัญหา ทำได้เท่าไรเท่านั้น”

              ชุมพล     “ ผลการปฏิบัติในช่วง 2ปี ในเวลามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น  นอกเวลาคงเดิม  ชาวบ้านทราบบริการมากขึ้น  ”

              อารีย์      “   ชาวบ้านไม่ชอบนำบัตรสิทธิมา การตรวจสอบบัตรประชาชนพบปัญหาสิทธิซ้อน  ”

              วรวรรณเสนอว่าควรชี้แจงให้เป็นนโยบาย

              วไลพร   “  อยากให้ทุกคนนำบัตรสิทธิมาด้วย ถึงแม้ว่ามีนโยบายให้ใช้บัตรประชาชนอย่างเดียวได้  ”

              วัชรี     “ ปัจจุบันคีย์งานไม่ทัน คอมพิวเตอร์มีน้อย  ในเวลาต้องคีย์ผู้ป่วยที่มารับบริการในเวลา ทำให้ไม่สามารถคีย์ข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการนอกเวลา  ”

               บุหงา   “  มีคอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง ใช้print ยา 1 เครื่อง   แพทย์คีย์ 1  เครื่อง  อีก 1  เครื่อง   คีย์ลงทะเบียน  สาเหตุที่คีย์ไม่ทันเพราะนอกเวลามีพยาบาลข้างนอกมาอยู่เวร ไม่ได้คีย์ให้   ต้องแก้ที่นอกเวลา  ( นอกเวลามีRN 1 คน  จัดยา , TN  1 คนทำแผล  ผู้ชวย 2 คน ทำบัตร แพทย์ 1 คน ”

              วไลพร   “   บางครั้งอยากหนีไปจากงานนี้ น้องที่ค้นบัตรนอกเวลาก็มาจากที่อื่นทำให้ค้นบัตรได้อย่างเดียว ไม่สามารถช่วยคัดกรองหรือวัดสัญญาณชีพหรือ ช่วยทำอย่างอื่นได้ ต้องแก้ที่ระบบ ให้ความรู้เรื่องHCIS กีบทีมนอกเวลา ”

               อารีย์     “  ต้องมีใจรักในหน้าที่ความรับผิดชอบ มิฉะนั้นต้องมีคนตามเก็บงานให้  ”

              วไลพร   “  เป็นข้อบกพร่องที่แก้ไม่ได้ รู้สึกเหมือนเป็นทาส  ”             

              วรวรรณถามว่า “  มีผลกับการส่งรายงานหรือไม่  ”

              วไลพรและชุมพล   “ ไม่มี แต่ต้องทำแบบหามรุ่งหามค่ำ  ”               

              เจนจิรา   “   คนไข้เพิ่มขึ้น  เก้าอี้ไม่เรียบร้อย  อยากได้ตู้เก็บเอกสารที่เป็นสัดส่วน  มีอุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์ทางการแพทย์ รถเข็นนั่ง ปรอทDigital ”            

             ชุมพล  “  แนวคิดของเทศบาลไม่เอื้อให้คัดกรอง  ”  

               บุหงา   “  คัดกรองมีปัญหาเรื่องเบิกจ่าย   ”  

              ประณีต "เสริมว่าเทศบาลเข้างบกลาง เวลาเบิกจ่ายจะทำได้ยาก ต้องอาศัยการประสานกับชุมชน"

              วรวรรณเสนอว่าต้องปรึกษาผู้บังคับบัญชาระดับสูง

               บุหงา  “ จะทำให้เป็นจริงได้หัวหน้าบางครั้งทำให้เกิดปัญหา ควรนัดทีม  นอกเวลาทั้งหมดมาประชุมให้หมอหัวหน้าทีมบริหารคุยให้เพื่อให้งานสำเร็จได้"          

                           

 

หมายเลขบันทึก: 351171เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2010 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แก้ไขประโยคสุดท้าย "บุหงา พูดว่า จะทำให้เป็นจริงได้หัวหน้าควรดำเนินการแก้ไขปัญหา ควรนัดทีม นอกเวลาทั้งหมดมาประชุมให้หมอหัวหน้าทีมบริหารคุยให้เพื่อให้งานสำเร็จได้"

วไลพร สู้ๆ

หวังว่าอีกไม่นานคงได้อ่านบันทึกประสบการณ์ของทีมสามชัยบ้างคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท