กระจายอำนาจพื่อความมั่นคงท้องถิ่น


นายก อปท.คิดนอกกรอบ ทำงานเพื่ออนาคตท้องถิ่น

ประเด็นบรรยาย : กระจายอำนาจเพื่อความมั่นคงท้องถิ่น  

สรุปย่อ : อุปสรรคกระจายอำนาจ คือระบบราชการส่วนกลาง  การผลักดันกระจายอำนาจต้องเน้นที่คุณภาพผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น โดยมีประชาชนเข้าร่วมและตรวจสอบ สร้างงานวิชาการใหม่ “พาท้องถิ่นทะลุกรอบ” 

ท้องถิ่น คืออะไร

ความหมาย ชุมชน  - มีคนอยู่   มีความสัมพันธ์  มีขอบเขต   คือ  -  คุ้ม  หมู่                              ท้องถิ่น  คือ  อยู่ในบริบทภูมิศาสตร์ – วัฒนธรรม เดียวกัน  คือ  บาง   ย่าน

ทำไมต้อง “ท้องถิ่น”

     สถานการณ์ “โลกาภิวัตน์”เปิดตลาดเสรี แข่งขันเข้มข้น       แย่งชิงที่อยู่  ยึดครอง “ชีวภาพ”    ครอบงำวัฒนธรรม  

     รัฐบาลไทย ใหญ่เกินไป ที่จะทำเรื่องเล็ก      เล็กเกินไป ที่จะทำเรื่องใหญ่

     ปลดปล่อยท้องถิ่น คือ “กระจายอำนาจ”    ตาม รธน. 2540

เนื้อหาการ “กระจายอำนาจ”

                วัตถุประสงค์ - เพื่อ อปท.บริหารคล่องตัว      สนองประชาชน  ในท้องถิ่น

                เนื้อหา -    กระจายคน         กระจายงาน          กระจายเงิน

อุปสรรคกระจายอำนาจ

  รัฐบาล/พรรคการเมือง ไม่ปล่อยท้องถิ่นเป็นอิสระ   ระบบราชการส่วนกลาง ไม่เต็มใจถ่ายโอนอำนาจ

  นายกท้องถิ่นยังไม่มีคุณภาพ  ระบบองค์กรไม่คล่องตัว   ปลัด-นายก ไปคนละทาง   กฎหมายไม่เอื้ออำนวย- คนไม่มา-   -เงินไม่พอ   

   ประชาชนในท้องถิ่น  ขาดความสนใจ   เรียกร้องทุกเรื่อง จุกจิก

สิบปี หลังกระจายอำนาจให้ อปท.

  ผลโดยรวม:    งบประมาณลงท้องถิ่น ด้านดี - อปท.แก้ปัญหาเฉพาะหน้า  สร้างนวัตกรรมพัฒนา  ชื่อตำบลปรากฎระดับประเทศ

  ด้านลบ – แต่ละท้องถิ่น มีความ “แตกต่างสุดขั้ว”    คอร์รับชั่น กระจาย   ขัดแย้งรุนแรง     พรรคการเมืองครอบงำท้องถิ่น

ผู้นำ อปท 3 แบบ

1) อปท.ทำตามรัฐกลาง    ทำตามสั่ง   เป็นสำนักงานของกระทรวง

2) อปท.ประยุกต์พัฒนา   ใช้คำสั่ง ประยุกต์ให้เข้ากับท้องถิ่น

3) อปท.นอกกรอบ  สนองความต้องการของประชาชน    เดินตามรัฐธรรมนูญ

การส่งเสริมกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

             ประชาชน รู้คุณค่า  อปท.   ตื่นตัว   เข้าร่วม  ตรวจสอบรัฐบาล ยืนยันให้กระจายอำนาจ   ผลักดันแผนกระจายอำนาจ

หน่วยราชการส่วนกลาง - เปลี่ยนทัศนคติ  มองกว้าง   ร่วมสร้างงานกับท้องถิ่น     

คุณภาพ นายก อปท.ที่ต้องการ

                มีวิสัยทัศน์     คิดอิสระ   เข้าใจบทบาท เป็น “ทบวงการเมือง”  ทำงาน “นอกกรอบ”  เข้าหาประชาชน ให้มีส่วนร่วม          

                 ทำงานโปร่งใส  เป็นผู้นำ  เป็นแบบอย่าง  พัฒนาองค์กร

บทบาทของประชาสังคม

         รู้คุณค่า อปท. – ดูแลตั้งแต่ก่อนเกิด ถึง หลังตาย       เตรียมรับ “สังคมคนชรา”  สร้าง “เยาวชนใหม่”

          รุกเข้าร่วมโครงการ อปท.   ใช้โครงการส่วนกลาง ประสานท้องถิ่น เช่น สภาองค์กรชุมชน      ระบบสวัสดิการชุมชน    กองทนหลักประกันสุขภาพ    แก้ยาเสพติด  ฯลฯ

บทบาทของสถาบันการศึกษา

                ติดตามความคืบหน้า    ได้ “ภาพรวม”  อย่างไม่มีอคติ   พัฒนา “องค์ความรู้” วิชาการ     นำ “ศาสตร์สากล” สู่ท้องถิ่น

                สร้าง “วิชาการใหม่”     จัด “การอบรมแนวใหม่”   ให้ความรู้จริง  ให้เป็นอิสระ  ให้ท้องถิ่นเดินต่อได้ พาท้องถิ่น “พ้นกรอบเดิม”

สร้างโอกาสจากวิกฤต

       เปิดเสรีการค้าฉวยโอกาส สร้างไทยเป็นครัวโลก    โครงการซ้ำซ้อน แก้โดย รวมบูรณาการ       ปัญหาคอรรัปชั่น แก้โดย ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างท้องถิ่นเป็นตัวอย่าง

เชื่อมร้อยท้องถิ่นทั้งประเทศ  ชูตัวอย่างทีดี    สร้างท้องถิ่นเป็นอนาคตของชาติ  

 

ประเด็นบรรยาย งานวิชาการผู้นำ ครั้งที่ 2  มหาวิทยาลัยรังสิต

โดย  สมพงษ์  พัดปุย  มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน 

6 กุมภาพันธ์ 2553

 

หมายเลขบันทึก: 351121เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2010 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อทำกันจริง ๆบางอย่างยังกระจายไม่ชัดเจน ก้มีผิดพลาดบ้าง เช่น เงินอาหารกลางวัน เงินนมโรงเรียน ก้กระจายเข้าไป อบต. เพื่อให้อบต.ดำเนินการ ทำไปทำมาไงไม่รู้ และแล้วอาหารกลางวันก้โอนให้โรงเรียนดำเนิน เองเพราะปัญหามันมาก เหลือแต่นม วึ่งมันไม่ค่อยมีปัญหา โอนเงิน ของกระทรวงศึกษา เพื่อไปมหาดไทย แล้ววกกลับมา กระทรวงศึกษา เออ กระจายหรือหมุนเงิน

สรุปแล้ว ครู อบต. ชาวบ้าน และประชาชนไทย ถูกทำให้หลงทาง โดยระบบส่วนกลาง เดินหลงป่ามา ๑๐ ปี การกระจายอำนาจไม่คืบหน้า มองสาเหตุปัญหาไม่ตรงกัน (แล้วแต่มองโดยใคร จากจุดไหน) เลยไม่มีใตรจัดการได้เด็ดขาด อย่างเป็นธรรม

การเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นเรื่องของขบวนการ ถูก-ผิด ผู้ตัดสินคือผู้มีอำนาจเหนือกว่า ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เสียเปรียบ(เสียหาย)โดยทั่วไป คือ ชาวบ้าน (ความหมายกว้างสุดคือ - ประชาชน) ได้รู้และเป็นพลังหลักในการผลักด้น ผู้ปรารถนาดีทั้งหลาย อยู่ห่างหน่อยก็ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท