การจัดการความรู้ของโรงพยาบาลเกาะช้าง


เริ่มต้นการรวบรวมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร

การจัดการความรู้

  1.  เริ่มต้นการรวบรวมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร

การสร้างความรู้และความเข้าใจแก่บุคลากรภายใน ดำเนินการโดย จัดทำคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลโรงพยาบาลเกาะช้าง มีแผนการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลในเรื่องของการบริหารจัดการ ความสามารถของบุคลากร และการเพิ่มศักยภาพโดยดำเนินการตามกระบวนการของการจัดการความรู้(Knowledge Management ) 7 ขั้นตอน ที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาขององค์ความรู้ในองค์กร ดังต่อไปนี้

  1. การสร้างความรู้และความเข้าใจแก่บุคลากรภายใน  โรงพยาบาลเกาะช้างดำเนินการโดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลเกาะช้าง ตามคำสั่งที่........ลงวันที่.......... และดำเนินการจัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้คณะกรรมการและบุคลากรเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเกาะช้าง พร้อมทั้งประกาศนโยบายการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลเกาะช้างให้บุคลากรทราบโดยทั่วกัน

  2. การระบุความรู้   โรงพยาบาลเกาะช้างได้ดำเนินการวิเคราะห์ความรู้และทักษะด้านการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลเกาะช้างที่มีอยู่แล้ว เพื่อที่กำหนดขอบเขตของการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลเกาะช้างให้มีความชัดเจน โดยมีเป้าหมายของการจัดการความรู้อยู่ที่ “เพื่อพัฒนาคุณภาพและได้รับรองมาตรฐานโรงพยาบาล(HA)”  โดยรักษาความรู้เก่า และกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป

  3. การคัดเลือกความรู้  โรงพยาบาลเกาะช้างได้กำหนดแหล่งของความรู้จากภายในและภายนอกโรงพยาบาลเกาะช้าง โดยใช้เว็บไซด์ที่ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานโดยผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลด้านคุณภาพและการปฏิบัติงาน  และดำเนินการจัดเก็บผ่านระบบเครือข่าย Intranet ภายในองค์กร

  4. การประมวลและการรวบรวมความรู้   โรงพยาบาลเกาะช้างได้ทำการปรับปรุงรูปแบบของเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ โดยเนื้อหาที่ได้จากการสืบค้นผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลความรู้ด้านบริหารจัดการและการปฏิบัติงาน โดยความรู้ที่ได้นำมาจำแนกตามกลุ่มงานภายในตามลักษณะของงานที่ปฏิบัติ

  5. การเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างเป็นความรู้   โรงพยาบาลเกาะช้างได้ให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทุกแผนกโดยเฉพาะคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลเกาะช้าง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเว็บไซด์ ดำเนินการสร้าง Blog เพื่อใช้ในกระบวนการของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเครือข่ายการจัดการความรู้บนพื้นที่เสมือนจริง และใช้การรวบรวมความรู้ของบุคลากรทุกคนในคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลและคณะกรรมการด้านต่างๆ เพื่อรวบรวมเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ในเครือข่ายบนพื้นที่เสมือน ในที่นี้โรงพยาบาลเกาะช้างได้ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสร้าง Blog ที่ http://gotoknow.org     ในระยะแรกมีบุคลากรทั้งสิ้น .......คน มี Blog จำนวนทั้งสิ้น.......คน  มีชุมชนนักปฏิบัติ(Cops)....ชุมชน

ในแผนปีงบประมาณ 2553 โรงพยาบาลเกาะช้างจะดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละกลุ่มงาน และการศึกษาดูงานที่ให้ความรู้ด้านการจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ  ส่วนบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งใช้ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลที่มีการติดประกาศ ความรู้ด้านต่างๆทุกๆเดือน ส่วนผู้ที่ต้องการสอบถามความรู้ โรงพยาบาลเกาะช้างก็มี Web board ที่ใช้ในการโต้ตอบข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ http://www.kohchanghospital.com

6.  การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โรงพยาบาลเกาะช้างได้แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ส่วน คือ Explicit Knowledge และ Tacit knowledge  ดังนี้

Explicit Knowledge โรงพยาบาลเกาะช้างได้ดำเนินการจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ ให้บุคลากรได้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที ในรูปแบบของคู่มือปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆของโรงพยาบาลเกาะช้าง หรือคู่มือปฏิบัติงานเฉพาะงานนั้นๆ

Tacit knowledge   โรงพยาบาลเกาะช้างได้ดำเนินการวางระบบไว้หลายรูปแบบเช่น ทีมข้ามสายงาน,  ชุมชนแห่งการเรียนรู้(CoPs) , ระบบพี่เลี้ยง,  การสับเปลี่ยนงาน , การยืมตัว,  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้  และที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ โรงพยาบาลเกาะช้างได้ให้เจ้าหน้าที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเล่าเรื่อง(Storytelling) ผ่านพื้นที่เสมือนจริงที่ใช้เล่าเรื่องบนเครือข่ายการจัดการความรู้ Gotoknow.org เพื่อให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ(Tacit Knowledge)ออกมาเป็นเรื่องเล่าอย่างทรงพลัง

7. การเรียนรู้ การฝึกอบรม  โรงพยาบาลเกาะช้างส่งเสริมให้บุคลากรนความรู้การจัดการความรู้(Knowledge Management)  ไปใช้ในการบริหารจัดการองค์และการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน หมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรของโรงพยาบาลให้เกิดการเรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ

หมายเลขบันทึก: 351113เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2010 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตัวเล็กไปหน่อยค่ะ สูงอายุจะอ่านยากนะคะ

มาทักทายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท