อบรม การพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพ :การเงียบ


         ในช่วงบ่ายวันที่ 3 เมษายน 2553 ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงความเงียบ ว่า เป็นภาษาที่แสดงออกในขณะเงียบ และเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อผู้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยใช้คำถามเพื่อล้วงลึก Probe

 

การเงียบ

     การเงียบในขณะสนทนาของคู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีการสื่อสารด้วยคำพูด มี 2 ลักษณะ

  1. การเงียบที่ไม่มีเสียงใดๆออกมา เป็นการเงียบที่แสดงว่าผู้พูดต้องการเวลาคิดไตร่ตรอง หรือต้องการหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นนั้น

  2. การเงียบที่มีเสียงบางอย่างอยู่ในคอเช่น เออ....อึม... ประกอบด้วยเสียงที่ตะกุกตะกัก แสดงถึงอารมณ์วิตกกังวล

อาจารย์ทวีศักดิ์ นพเกษร ได้แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

  1. การเงียบเชิงบวกของผู้ให้ข้อมูล  มีความหมายว่า ผู้ให้ข้อมูลกำลังคิดไตร่ตรองเพื่อรวบรวมประเด็นที่จะเล่าเรื่อง หรือกำลังคิดทำความเข้าใจประเด็นของผู้สัมภาษณ์ หรือเงียบเพื่อคอยให้ผู้สัมภาษณ์พุดอะไรบางอย่างเพิ่มเติม หรือต้องการพักเหนื่อยชั่วคราว

  2. การเงียบเชิงบวกของผู้สัมภาษณ์  คือ ผู้สัมภาษณ์ต้องการให้โอกาสในการคิด สำรวจ รวบรวม ทบทวนประเด็นที่เขาจะเล่าเรื่อง หรือต้องการให้เขาได้พักเหนื่อยชั่วขณะ

  3. การเงียบเชิงลบของผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกถูกบังคับ ไม่อยากพูดถึงความลับ ประเด็นส่วนตัว กลัว อาย ไม่พอใจ โกรธ ต่อต้าน ไม่อยากร่วมมือ รู้สึกเจ็บ เสียใจ

  4. การเงียบเชิงลบของผู้สัมภาษณ์  คือ ผู้สัมภาษณ์ไม่รู้ว่าจะพูด กระตุ้น ถาม ผู้ให้ข้อมูลอย่างไร หรือรู้สึกมีอคติ อึดอัด อายที่จะพูดในเรื่องของเขา

 

อาจารย์ย้ำอีกว่า

ผู้เก็บข้อมูล ควรยอมรับความเงียบเชิงลบของเขา  และใช้ทักษะการให้กำลังใจ หากเขาเงียบจากความโกรธ เสียใจ จากการพูด การกระทำของผู้สัมภาษณ์ ผู้ทำการสัมภาษณ์ควรกล่าวขอโทษ หากไม่แน่ใจก้อาจถามถึงความรู้สึกตรงๆเช่น

 

"ผมไม่ทราบว่าได้พูดอะไรผิดไป ทำให้คุณไม่สบายใจหรือเปล่า"

 

ผู้เก็บข้อมูลไม่ควรคาดคั้นคำตอบหรือเปลี่ยนประเด็น หากผู้ให้ข้อมูลกำลังเงียบเชิงบวก  ควรพูดเสริมกำลังใจหรือนิ่งเงียบให้เขาใช้เวลาคิดทบทวน เช่นพูดว่า "ลองใช้เวลานั่งคิดเงียบๆแล้วค่อยเล่าให้ฟัง" เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 349452เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท