กลับมาที่ทำงานดิฉันอดคิดต่อไม่ได้ เริ่มหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต เรื่องแผลกดทับ (เพราะแม่ก็เป็นเบาหวาน) ประมาณ 5-6 web เข้าไปเจอคำถามซ้ำๆ คือทำอย่างไรถึงจะหายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และคำตอบก็เหมือนๆกันเกือบทุก Web คือ หมั่นทำความสะอาด ไม่ให้เปียกชื้น ให้นอนเตียงลม เตียงน้ำ เบาะเจล ราคาตั้งแต่หลายพันไปจนถึงหมื่น
ดิฉันจึงคิดต่อในรายละเอียดว่าแผลแห้งและหายได้อย่างไร ก็ได้ข้อสรุปตามสามัญสำนึกของคนไม่มีความรู้ด้านนี้ว่า
- นอนแคร่บริเวณแผลมีการถ่ายเทอากาศได้ดี แผลไม่อับชื้น และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรใส่เสื้อผ้าที่ทำจาก Cotton 100 % ด้วย
- เวลาคนไข้พลิกตัว พื้นของแคร่ซึ่งเป็นซี่ ไม่ราบเรียบจะเป็นตัวนวดกล้ามเนื้อได้ดี ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก โอกาสที่จะเกิด "เนื้อตาย" ก็น้อยลงด้วย
- แคร่ทำจากวัสดุธรรมชาติ สามารถซึมซับเหงื่อและไขมัน ที่ออกจากร่างกายได้ดีกว่าวัสดุสังเคราะห์
จึงมาคิดต่อว่ารูปแบบของแคร่โดยทั่วๆไป จะเป็นเหมือนแบบที่ 1 คือซี่ของแคร่วาง ตั้งฉากกับลำตัวเวลาพลิกตัวในแนวซ้ายขวาเนื้อบริเวณเดิมก็จะโดนกดทับอยู่อย่างเดิม นอกจากว่าเราจะเขยิบขึ้นลงจึงจะเปลี่ยนบริเวณที่โดนกดทับ จึงมีแนวคิดทำแคร่ในรูปแบบตามแบบที่ 2 เพื่อจะแก้ปัญหาแผลโดนกดทับที่เดิมเวลาพลิกตัว เพราะซี่ของแคร่วางในแนวเฉียง เวลาคนไข้พลิกตัวบริเวณเดิมที่โดนกดทับอาจมาตรงกับบริเวณช่องว่างของแคร่ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นไม่โดนกดทับ สลับกันอยู่อย่างนี้ ทุกครั้งที่คนไข้พลิกตัว แผลจึงหายเร็วขึ้น
ใครมีประสบการณ์เรื่องแผลกดทับเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ