แนวคิดของเลวิน
* Kemmis and McTaggart
นำแนวคิดของเลวินมาพัฒนาเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบบันไดเวียน (Spiral
of Steps)
*
บันไดเวียนประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การปฏิบัติและการสังเกต
(Act & Observe) การสะท้อนกลับ (Reflection)
*
ใช้กลุ่มผู้ร่วมงานเป็นผู้กำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาขององค์กร
*
ใช้การร่วมคิดวางแผน และความสนใจร่วมกัน
*
เริ่มด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปก่อนแล้วจึงกำหนดแผนงาน
*
การวางแผนอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงที่เป็นไปได้
มีความยืดหยุ่นและมีการตอบสนอง
*
แผนงานมีการแบ่งออกเป็นกิจกรรมย่อยที่จะดำเนินการ
*
การปฏิบัติการเป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้พร้อมกับการสังเกตในสิ่งที่ได้ปฏิบัติว่าบรรลุหรือไม่
*
การสะท้อนกลับเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับว่าแผนงานที่กำหนดมีจุดเด่นหรือจุดด้อยอะไรบ้างเพื่อการปรับปรุง
แนวคิดของอีลเลียต
*
Elliot พัฒนาการวิจัยปฏิบัติการหลังจากแนวคิดของเลวิน
*
วงจรการปฏิบัติการเริ่มด้วยการวินิจฉัยจุดมุ่งหมายเบื้องต้น
*
ก่อนกำหนดแผนงานมีการสำรวจและวิเคราะห์ก่อนเพื่อหาข้อเท็จจริง
*
แผนงานใช้การเตรียมกิจกรรมไว้จำนวนหนึ่ง
แล้วเลือกปฏิบัติกิจกรรมที่กำหนดไว้
*
ใช้การปฏิบัติการทีละแผนงานทีละกิจกรรมย่อย
เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงจะเริ่มหมุนไปปฏิบัติการในแผนงานอื่นต่อไป
*
ใช้การปรับปรุงแก้ไขจุดมุ่งหมายของการวิจัยใหม่ได้
*
เหมาะกับการปฏิบัติการที่สามารถปรับเปลี่ยนจุดประสงค์ได้จนกว่าจะตรงกับสภาพความเป็นจริง
แนวคิดของเอบบัท
* Ebbutt
นำแนวคดของ Kemmis และ Elliot มาพัฒนาต่อ
*
แนวคิดของเลวินและอีลเลียตนั้น
ผู้วิจัยจะต้องย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นอีกครั้งทำตามขั้นตอนเดิม
แต่เอบบัทจะใช้การพิจารณาความเหมาะสมของขั้นตอนที่กระทำสำเร็จด้วยการปรับปรุงแก้ไขจุดประสงค์ทั่วไป
*
ใช้หลักการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในระบบอวัยวะภายในต่าง ๆ
ที่มีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
ไม่จำเป็นต้องย้อนกลับในการปฏิบัติงาน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย "ฬิฏา" ใน วิจัยเชิงปฏิบัติการ(4)