ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา


แต่ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำ ทำให้การแก้ไขปัญหามันไปไม่ได้

ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา

 

สวัสดีค่ะวันนี้ ส.ศรัณ มีบรรยากาศการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดภาคประชาสังคมพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และยะลา มาฝากซึ่งสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค ๙ เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม

ในการนี้สำนักงานเลขานุการ ศตส.ภาคประชาชน คือ มูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย ภาคใต้ตอนล่าง ได้ทำหน้าที่ประสานแกนนำภาคประชาชน และเครือข่ายต่าง ๆ รวมกว่า 30 หน่วยงานเข้าร่วมแลกเปลี่ยนในเวที

เริ่มจากประธานในการประชุมคือ นายสงคราม  ขำต้นวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค ๙ ได้เปิดการประชุมเวลา 10.00 น. ตามด้วย ผู้อำนวยการส่วนประสานงานพื้นที่       นายสุรพล  ภัทรปกรณ์ เป็นคนดำเนินรายการชี้แจงวัตถุประสงค์ที่มาของโครงการนี้ ก็คือ

1. เพื่อกระตุ้นและผลักดัน สร้างความพร้อมและความคิดให้แกนนำภาคประชาสังคม ซึ่งมีจิตอาสาในการแก้ไขปัญหาของสังคมรวมถึงปัญหายาเสพติด สามารถรวมกลุ่มและจัดตั้งเป็นคณะกรรมการ ศปส.(ศูนย์ป้องกันยาเสพติดภาคประชาสังคมระดับ)จังหวัดหรืออำเภอได้

2.เพื่อร่วมกันกำหนดบทบาทของภาคประชาชนในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่จังหวัดและอำเภอ

3. เพื่อเตรียมการ่วมกันระหว่าง ศตส.จ.และภาคประชาสังคมในพื้นที่ก่อนการจัดตั้ง ศปส.จังหวัดและอำเภอ

ภายหลังการชี้แจงแล้วก็ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนแต่ละองค์กรต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนการทำงานกันในเบื้องต้น และเล่าสู่กันการทำงานที่ผ่านมาและที่ได้เชื่อมประสานการทำงานกับส่วนต่าง ๆ ในการป้องกันปัญหายาเสพติด

          

 

อาจารย์สุภาค อินทร์ทองคง ตัวแทนศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนเอกชนประจำจังหวัดสงขลา  ได้เสนอให้มีการทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนเพราะโครงสร้างจังหวัดสงขลามีความหลากหลายและมากมาย แต่ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำ ทำให้การแก้ไขปัญหามันไปไม่ได้ ซึ่งหากเวทีนี้เกิดขึ้นถือเป็นการดี แต่ต้องทำให้ทุกคนรับรู้เรื่องราวทั้งหมดก่อนว่า ทำอะไร ทำอย่างไร และที่ผ่านมารัฐหรือหน่วยงานทำอะไรมาบ้างแล้ว แล้วทำไมต้องมีงานภาคประชาสังคมนี้ สรุปคือ อยากให้ทบทวนทั้งหมดก่อนเพื่อการก้าวไปข้างหน้าได้พร้อม ๆ กัน หากจะใช้ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาก็ต้องทำความเข้าใจให้เหมือนกันก่อน อีกอย่างในงานยาเสพติดมันไม่ใช่แค่เรื่องของกลุ่มเสี่ยงหรือเสพ แต่มีทั้งกลุ่มผู้ค้า ผู้ผลิต ต้องเรียนรู้สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วค่อยขยายผลไปสู่การจัดตั้งภาคประชาสังคมต่อไป

---เรียนรู้ร่วมกัน/แลกเปลี่ยนแชร์ประสบการณ์------ขยายผล--------จัดตั้ง

         

นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดสงขลาและผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน บอกว่าที่ผ่านมากการดำเนินงานที่ยากที่สุดคือ การเข้าถึงชุมชน การที่จะแก้ไขปัญหาในสถานศึกษาไม่ยาก แต่ที่ยากที่สุดคือฐานของชุมชน ที่เข้าไม่ถึงชุมชนอย่างแท้จริง

                 ---เยาวชน------ครอบครัว-------ชุมชน------สังคม

            

นายสยาม เจ้าหน้าที่จากศูนย์บำบัดเกาะแต้ว ได้เสนอว่า เราแยกส่วนในการทำงานมานานแล้ว และไม่เคยสำเร็จ เพราะทุกหน่วยคิดทำแต่เรื่องของตัวเองไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างแท้จริง ทำให้ปัญหายังไม่ได้แก้ไข หากมองแล้วการแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องครอบคลุมและต้องเป็นเนื้อเดียวกับทุกเรื่องของชุมชน ที่เป็นต้นแบบได้คือ บ้านนาปาบ ที่มีการแก้ไขปัญหาแบบเนื้อเดียวกัน ที่สำคัญวันนี้เราน่าจะได้ทราบว่า หากชุดนี้จัดตั้งขึ้นความยืนยาวของโครงสร้างนี้ บทบาทหน้าที่คืออะไร การสนับสนุนอยู่ตรงไหน และการแลกเปลี่ยนอย่างนี้มีความถี่อย่างไร

        ----ทำ-----------ทำ----------ทำ------------ทำ-----------------ปัญหายังคงอยู่

        

ผู้อำนวยการส่วนประสานงานพื้นที่นายสุรพลได้ชี้แจงว่า การประสานเบื้องต้น และบทบาทหน้าที่ตามที่ได้ชี้แจงไปแต่ตอนต้น ในส่วนของการสนับสนุนงบประมาณมีบางส่วน ด้วยเพราะว่า หน่วยงานที่เข้าร่วมนั้นล้วนแล้วแต่มีทุนตั้งต้นทั้งนั้น ขอให้มีการใช้ทุนตั้งต้นก่อน หากนอกเหนือจากนั้นเราค่อยว่ากัน ในขณะเดียวกันการประชุมคราวหน้าจะมีการทำวาระการประชุมเพื่อให้เป็นรูปแบบมากขึ้น รวมทั้งให้แต่ละส่วนที่เข้าร่วมวันนี้ได้นำข้อมูลของโครงสร้าง การทำงานของหน่วยงานของท่านมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อจะได้ช่วยกันเติมเต็มในส่วนต่าง ๆ

 

นางทิพวรรณ พัฒโน นายกสมาคมสตรีและอาสาพัฒนาจังหวัดสงขลา ได้เสนอว่า ในวันนี้เราน่าจะได้ทราบว่า การที่มาประชุมเราทั้งหมดต้องทำอย่างไรมีหน้าที่หรือท่านจะให้เราทำอะไร เพราะเหตุว่า ภาพอย่างนี้เราคุยกันมาเยอะแล้ว ด้วยกลุ่มคนที่มานั่งอยู่ตรงนี้ทุกคนรู้จักอยู่แล้ว และเรื่องยาเสพติดเราก็ทำมาตลอด หากจะให้มานั่งฟังการประชุมอย่างนี้มองว่ามันคุยเรื่องเดิม ๆ มากไป โครงสร้างนี้ต้องระบุให้ชัดเจนว่า บทบาทหน้าที่เราคืออะไร

        ---คุย-----------คุย------------คุย-------------คุย-------------ปัญหายังคงอยู่

 

ภายหลังการแลกเปลี่ยนการทำงานแล้ว ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันเสนอแนวทางการจัดโครงสร้าง โดยมีการกำหนดสัดส่วนของแต่ละภาคส่วนประกอบด้วย

  1. ราชการ 2 คน(ปปส.ภาค ๙,ศตส.จ.สงขลา)

2.  ภาคประชาชน 7 คน (สื่อ จ.สงขลา,หอการค้าสงขลา,นายกสมาคมสตรี,สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน,ศตส.ปชช.สงขลา,สภาองค์กร,ศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชนสงขลา)

  1. องค์กรพัฒนาเอกชน 2 (ตัวแทนจาก NGO 2 คน)
  2. นักวิชาการ 2 (ตัวแทนคณาจารย์จาก มอ.หาดใหญ่ 2 คน)

5.  ผู้แทนศาสนา 3 (ตัวแทนจากคณะกรรมการกลางอิสลามสงขลา/ตัวแทนพระสงฆ์/ตัวแทนศาสนาคริสต์ 3 คน)

  1. ผู้แทนท้องถิ่น 2 (ต้วแทน อบจ./ตัวแทน อบตหรือเทศบาล)

 

เป็นการจับจองสัดส่วนของการจัดตั้ง(ศูนย์ป้องกันยาเสพติดภาคประชาสังคมระดับอำเภอ/จังหวัด ซึ่งการประชุมจะเป็นอย่างไร ส.ศรัณ จะนำมาเล่าสู่กันฟังอีกนะค่ะ

 

ในฐานะผู้ประสานงาน รู้สึกปลื้มกับเวทีวันนี้ และยินดีกับการเปิดต้วภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลาค่ะ ที่ไม่ยอมคลอดง่าย ๆ (ทั้งที่ลุ้นกันตัวโก่ง) เพราะการจัดตั้งเป็นสิ่งที่เกิดง่ายและดับง่าย เหมือน ๆ กับคำสั่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาละค่ะ สั่งมาก็ทำตั้งกันไป(รัฐสั่งให้ตั้ง เมื่อรัฐตายมันก็จบ) เป็นอนุสาวรีย์ก็เยอะแยะ แต่วันนี้เห็นแววแล้วว่าไม่ย่อยเหมือนกันกับ ศูนย์ป้องกันยาเสพติดภาคประชาสังคมจังหวัดสงขลา ที่หลายคนคิดจะให้คลอดวันนี้ แต่กลับไม่คลอดคงต้องรอลุ้นกันอีกรอบว่า หน้าตาของศูนย์นี้จะออกมาสวยหรือหล่ออย่างไร.........................พบกันคราวหน้าค่ะ

       

หมายเลขบันทึก: 348309เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2010 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับน้อง เห็น รายชื่อระดับแถว หลายคน คาดว่าหน้าตาคงออกมาสวยหล่อแนนอนครับ

รักษาสุขภาพครับน้อง

ขอบคุณค่ะบังหีม น้องก็หวังอย่างนั้นค่ะ

วันที่ 31 มีนาคม จังหวัดพัทลุงแล้วจะเอาบรรยากาศมาฝากนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท