แผนการเรียนรู้ KM ใน สคส.


โจทย์แผนการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าผู้เขียน ยังไม่รู้จัก ผู้ที่จะถูกใช้แผนนี้ แต่พอรู้จัก ผู้ที่จะใช้แผนบ้าง และผู้เขียนก็ไม่ใช่คนใช้แผนแน่นอน ผู้เขียนจึงตั้งใจออกแบบ แผนคล้ายๆเรื่องเล่า ใน KM เพื่อยืดหยุ่นในการทำงาน

แผนการเรียนรู้ KM ใน สคส.  Rev.00 
ระยะเวลา 3 เดือน  (พ.ค.-ก.ค. 2549)
จัดทำ ณ  วันที่  20  มิ.ย. 2549

โจทย์ : Focus ว่าผู้เขียนเรียนรู้อะไร ใน 1 เดือน  ในเดือน 2 และเดือน3 จะเรียนรู้อะไร?

เป้าหมาย :  เพื่อให้ KM Internship เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM ปฏิบัติ สามารถนำไปใช้งานและถ่ายทอดต่อได้
วัตถุประสงค์ : จัดทำแผนการเรียนรู้ KM ใน สคส. ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อผู้ใช้แผน เช่น ผู้ฝึก KM Internship หรือ KM Internship หรือ ผู้สนใจ  อาจไม่เรียกว่าแผน  อาจเรียกว่า หลักสูตร KM Internship หรือ ไม่เรียกว่า หลักสูตร ก็ได้  เพราะนำเสนอ แบบไร้กรอบ แต่พยายาม จะบรรจุเนื้อหาสาระ เท่าที่จะเรียนรู้ได้ และมีข้อมูล ภายใน 1 เดือนเศษ  มองไป สิ้นสุด 3 เดือน

             ผู้เขียนนึกวาดภาพในใจว่า แผนการเรียน หรือ หลักสูตร การอบรม คงน่าเบื่อ แต่เมื่อนั่งลงเขียน กลับรู้สึกสนุกไม่น้อย  ผู้เขียนเคยเขียนแผนทำงานแบบโยงเส้นไปมาเพื่อแสดงความเชื่อมโยง ใส่สีให้ความสำคัญ คงเหมาะกับองค์กร เท่านั้น  (ในองค์กรผู้เขียน หรือ เจ้านายเป็นผู้ใช้แผน  กับพนักงาน หรือลูกน้อง ที่เรารู้จักเขาก่อนวางแผน) หรือแผนที่เป็นตารางการทำงานคงไม่เหมาะกับ โจทย์แผนการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าผู้เขียน ยังไม่รู้จัก ผู้ที่จะถูกใช้แผนนี้ แต่พอรู้จัก ผู้ที่จะใช้แผนบ้าง และผู้เขียนก็ไม่ใช่คนใช้แผนแน่นอน  ผู้เขียนจึงตั้งใจออกแบบ  แผนคล้ายๆเรื่องเล่า ใน KM  เพื่อยืดหยุ่นในการทำงาน         

             ผู้เขียนลองถามตัวเองว่า  ถ้าเวลา ผ่านไป 2 เดือน หรือ 3 เดือน  ผู้เขียน จะเขียนแผนแบบไหนออกมา ?

 

เดือนแรก  จำกัด  ค่อยๆ จำ แล้ว กัด

1. มองภาพ KM โดยรวม  เห็นภาพการแลกเลี่ยนเรียนรู้ เวทีคุณเอื้อ  เขาทำ KM  มีข้อดีอย่างไร?  เกิดพลังในทางที่ดีงามอย่างไร?  มีจุดอ่อนอะไร? เราก็พอจะจับได้  การเป็นคุณลิขิต ทำให้ต้องงัดวิทยายุทธการฟังและจดทุกเรื่องเป็นรูปแบบของบริบทที่รู้สึกว่าปิ๊ง  ตอนนี้ไม่มีข้อมูลอะไรให้เชื่อมโยงทั้งนั้น รู้แล้วว่าเขาใช้ My Map จึงเชื่อมโยงไปความรู้ My Map  ที่เราเคยเรียน  แต่ยังขี้เกียจไปเปิดตำรา รอต้องยืนยันข้อมูลก่อน 

กลวิธีที่ใช้  เน้นที่การมอง Character ของคน เป็นหลัก บวกกับตำแหน่งหน้าที่การงาน  เพื่อมอง ดู อ่าน และเก็บข้อมูล เป็น Tacit  Knowledge เพราะตัวเองเป็น HR ชอบ HRD ก็หนีไม่พ้นการเป็นแมวมอง ทุกคนที่เข้าร่วมในเวทีนี้  สภาพแวดล้อมที่บ้านผู้หว่าน ทำให้ได้เก็บเอาวิธีการจัดดอกไม้ 1 แบบที่ประทับใจ ใส่เข้าไปในพุงด้วย  จะไม่ค่อยพูด เพราะเราไม่รู้อะไร  จะได้ใช้สมาธิในการฟังเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งสำคัญมากเราจะได้ข้อมูลจริงเป็นพื้น เป็นฐานของการวางแผน  แต่ก็จำเป็นต้องถามบ้าง เพื่อทำความรู้จักคนในสคส. ที่จะเป็นครูฝึกเรา ในช่วง 3 เดือน  เพื่อปูทางในการค้นหาจุดเด่นของคนด้วย

2. เรียนรู้เทคโนโลยี   การไปเวทีราชภัฏพระนคร การเดินพันธุ์ทิพย์  การเขียน Blog  ทำให้ผู้เขียน รู้ตัวว่า ถึงเวลากลับมาต่อยอดความรู้  เรื่องการใช้เทคโนโลยีแล้ว  ก่อนหน้านี้ผู้เขียนก็ตั้งโจทย์ให้ตัวเองเป็นการบ้านอยู่แล้ว คือผู้เขียนเคยใช้ความรู้ตนเองในแง่การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคอุปกรณ์   การเก็บข้อมูลเชิง Database ทั้งในรูป Spec เครื่อง  และข้อมูลอื่นๆ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ  และการฝึกเด็กนักศึกษาฝึกงาน Computer Sceince  โดยใส่จินตนาการเข้าไปในตัวเขา มี 3 กลุ่ม ที่เคยทดลอง  คือ  ระดับปริญญาตรี  ปวส. และ ปวช. ล้วนมีผลการทดลองที่น่าพอใจยิ่ง เมื่อเด็กจบการฝึกงาน เช่น

•  กรณีนักศึกษา ปริญญาตรีลาดกระบัง (Programmer)   ผู้เขียนจะให้เขาทำ Presentation   ทำหนังสือ  โดยหยิบ Background สวยๆ มาใส่    ให้เก็บข้อมูลเบื้องต้นที่เรียกว่า Database  จากการสัมภาษณ์จริง     การfiling  Hard Copy    การ transfer ข้อมูล มาเป็น  Soft Copy  และ คำนวณ  หาค่าสถิติ (CSI = Customer Satisfaction Index)   ทำ Report เบื้องต้น  การเก็บข้อมูลประวัติพนักงาน    

           ผู้เขียนให้เขาจัดบอร์ดง่ายๆก่อน เช่นการทำรูปต้อนรับพนักงานใหม่  โดยดูจากตัวอย่างที่ผู้เขียนทำ   ให้ไปออกแรงงานภาคสนาม ตัดสติ๊กเกอร์  ขนย้ายอุปกรณ์ กับฝ่ายงานศิลปกรรม  เพื่อมีโอกาสไปตามโชว์รูมขายรถยี่ห้ออื่นๆ  ไปช่วยเขาจัดงาน  ไปรู้จักพวกมีจินตนาการ  ไปในสถานที่ใหม่ๆ มีของสวยๆงามๆให้ดู ให้มอง  ไปเรียนรู้การอยู่ร่วมกับทีมงานชาย   

           ผู้เขียนให้เขาเตรียมงานบอร์ดประหยัดพลังงาน  จากการออกแบบของผู้เขียน ในกระดาษ ให้ทำเป็นสำเร็จรูป   แล้วผู้เขียนก็พาเขาไปจัดบอร์ดนี้ 3 ชุด 3 จุด   ในเวลา 1 ชั่วโมง ที่โชว์รูมบริษัทฯในกลุ่ม (อีซูซุ)  สอนให้เขาสัมผัส การทำงานแบบมืออาชีพ  แบบมีการเก็บข้อมูลและเตรียมงานล่วงหน้า   นับว่าผู้ฝึกงานเบิกบานใจไม่น้อย   

           ผู้เขียนจะมีหลักสูตรสนทนายาวๆบ้าง เพื่อชี้เขาใน “เรื่องการใช้ธรรมชาติ ความเป็นคนไทย ไปผสานกับเทคโนโลยีฝรั่ง  โปรแกรมที่เขียนออกมาจะได้เป็นสไตล์ของตนเอง  ถ้าเราเดินตามแบบเขาอย่างเดียวไม่มีวันตามทัน”   

            สิ่งที่ผู้เขียนได้รับกลับมา คือไฟในการทำงาน เพราะสายตา น้ำเสียงของเด็กบอกความกระตือรือร้น  บริสุทธิ์ใจ  พร้อมที่จะมีน้ำใจช่วยเหลือเข้ามาช่วยงาน  เด็กผู้ชาย  ที่ทำได้ทุกอย่างในที่สุด  ไม่เว้น การห่อของขวัญ  การรับโทรศัพท์  จนได้รับคำชมจากลูกน้องจริงของผู้เขียน ว่า  “ไม่มีอะไรที่หนุ่มทำไม่ได้ งานมีคุณภาพและทำเต็มศักยภาพเสียด้วย ตั้งแต่เช้าจนเย็น ของทุกๆวัน”  

  •  แต่ผู้เขียน ยังไม่ได้ทดลองเรื่องการทำระบบ IT ที่ดี   ผู้เขียนเคยเรียนวิชา System Analysis นับว่ายังอยากใช้งานจนทุกวันนี้ เพราะประทับใจในตัวอาจารย์ และความรู้ที่ได้รับ  ในฐานะนักจัดการความรู้เท่านั้น

3. เรียนรู้กระบวนการ KM  ด้วยการลงมือทำ

  •  คุณอำนวย ในเวทีของศูนย์คุณธรรม ทำให้เราเรียนรู้วิธีการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า   การเรียนรู้แบบอย่างวิทยากรที่มีลักษณะหลากหลาย ทำให้เรามีทางเลือก ในการหยิบมาใช้
  • คุณลิขิต นับว่าฝึกในหลายๆเวที ที่ไปเรียนรู้ และเป็นนิสัยส่วนตัวอยู่แล้ว แต่เมื่อเวลานานขึ้น เราจะจดเฉพาะประเด็นสำคัญ
  • การนำกระบวนการ AAR  ในเวทีวิทยุชุมชน ทำให้เราเรียนรู้ การอยู่หน้าเวที การควบคุมเกม
  •  การวางตัวอย่างเหมาะสม  เกิดขึ้นในทุกๆเวที เราเรียนรู้ที่จะตระหนักว่า กำลังอยู่ในสถานภาพไหน?  มีบทบาทและหน้าที่อะไร?  ทำให้ดีที่สุด
  • ฯลฯ

4. การประเมินผล  ในรูปแบบของการเขียนบันทึก เพื่อให้ผู้ฝึก ผู้ควบคุมการฝึก ได้รับข้อมูล มาสนทนา เพื่อประเมิน ความนึกคิด และวางแนวทางในการให้ต่อไป


เดือนที่ 2  ลงรายละเอียด

1. การลงรายละเอียดเพื่อเรียนรู้กระบวนการ เช่น

• การเริ่มต้นรับข้อมูลความต้องการจากลูกค้า 
• การบันทึก Report การทำงาน เพื่อวัดความเข้าใจ
• การทดลองคิดออกแบบกระบวนการ

2. การแลกเปลี่ยน ในรูปแบบ  การเจาะข้อมูลเฉพาะส่วนที่ต้องใช้  การวิเคราะห์ข้อมูล Share เพื่อพัฒนาองค์กร   การค้นคว้าข้อมูลเพื่อยืนยัน  การถ่ายทอดความคิด เป็นต้น

3. การประเมินผล  ในรูปแบบการเขียน และสร้างผลงานชิ้นเล็กๆ ที่เป็นทักษะเด่น


เดือนที่ 3  ทบทวนแล้วปรับปรุง

1. ประมวลภาพทั้งหมด  ทบทวนโจทย์เก่า
2. วางโจทย์ใหม่
วางช่องทางงาน วางงาน  ในส่วนร่วมกับองค์กรและของตนเอง เพื่อ Action 
3. จัดทำระบบเก็บข้อมูล Hard Copy  ส่วนที่เกิดขึ้นใน 3 เดือน 
4. ปรับปรุง อุดช่องโหว่ส่วนที่จำเป็น
_______________________________________________

ข้อเสนอแนะ
1. ควรทดสอบขีดความสามารถของKM Internship  ใน 3-4 สัปดาห์แรก นับว่าไม่เลว  คน KM ต้องแอบซึมซับอะไรได้หลายอย่าง
2. เดือนที่ 2 จะได้โยนลูกถูก เพราะเราฝึกงานเพื่อทำต่อ หรือดึงจุดเด่นของ KM Internship ออกมาใช้งาน นับว่า Win-Win
3. เดือนที่ 3 วางช่องทางและเริ่มปูเนื้องานที่จบแล้วต้องไปทำต่อได้เลย

• ผู้เขียนมองว่า ด่านสุดยอดของ สคส.  คือด่านแยกสมาธิ ตั้งชื่อให้แบบนี้    การเล่นบทบาทในการทำงานที่ต้องใช้ทักษะหลายๆอย่างที่แตกต่างกัน นับว่า ท้าท้าย ไม่น้อย  การฟังก็ต้องแยกฟังได้  คล้ายๆกับ เราอ่านหนังสือ ดูทีวี  ฟังวิทยุ ในเวลาเดียวกัน อาจเพิ่มคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง   เมื่อเวลาสิ้นสุด  เราต้องจับประเด็นได้รู้เรื่องทั้ง  4 กิจกรรม  ซึ่ง เราสามารถบริหารจัดการ ด้วยเทคนิคส่วนตัวที่ไม่เดือดร้อนคนอื่นได้  สุดท้ายเราจะได้ทักษะการทำงานที่พิเศษอีกแบบหนึ่ง
• ถ้าผู้เขียน เจอผู้เรียนรู้ มีความรู้ กระบวนการ KM หลายสำนัก ก็จะอยากรู้ว่าเขามองข้อดี ข้อด้อย จุดต่าง อย่างไร?  ต้องการแบบวิเคราะห์ เจาะลึก  สุดท้าย เคี่ยวจนเหลือหัวกะทิ คืออะไร?  แล้วเทียบกับ KM ปฏิบัติ ที่ สคส. เป็นอย่างไร?

Factor
• คนที่มีอายุการทำงานเกิน 5 ปี ก็อาจมีประสบการณ์ตามนั้น หรือ มีมากกว่า หรือมีน้อยกว่า
• คนที่มีอายุงานยังไม่ถึง 5 ปีก็เป็นแบบหนึ่ง 
• คนที่เพิ่งเรียนจบก็เป็นแบบหนึ่ง
เหล่านี้   วิธีฝึกทักษะการทำงานย่อมแตกต่างกันไป รวมถึงผู้เรียนรู้  คู่ฝึก ที่จะมีการถ่ายทอดความรู้กัน แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• ผู้ถูกฝึกก็ควรรู้ว่า เราจะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับใคร เรื่องอะไรเป็นพิเศษ คือ ควรวาดแผนตัวเอง เช่นกัน  จะทำให้สนุกในการสนทนากับผู้ฝึก KM Internship โดยอย่าพึงเอาแบบอย่างผู้เขียน ที่มักจะไม่มีแผน
• สำหรับผู้เขียนแล้ว แผนที่ดีที่สุดคือไม่มีแผน แต่พร้อมเผชิญ พร้อมรับทุกสถานการณ์
• กลวิธีการเรียนรู้ของผู้เขียน   คือ  มองคน มองงาน มองเนื้องาน มองหลายมุมหลายมิติ แล้วอ่าน แล้วเจาะ หรือ เจาะไช  ตามประเด็นความสำคัญ   ตั้งโจทย์กับตัวเอง  เปลี่ยนโจทย์  ทบทวนเป็นช่วงเวลาสั้น ยาว   ลงมือทำ ปฏิบัติ   ห้ามละเลย มองข้าม สิ่งเล็กน้อย  เมื่อถึงจุดจบของเวลา เป็นช่วงก็ปรุงรส แล้วชิม  แล้วให้คนอื่นชิม  อาจออกมาในรูปการเขียน  การ Take  Action ในเนื้องาน เป็นต้น  ถ้าทำแล้วติดขัด ก็หยุด แล้วมอง แล้วอ่าน เมื่อเข้าใจเหตุเข้าใจผล ค่อยทำต่อ

_______________________________________________


 

หมายเลขบันทึก: 34789เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ละเอียดมากครับ
  • การเตรียมให้พร้อมเหมือนสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งครับ
มีคำพูดว่า "การเริ่มต้นที่ดี  คือสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง"   ตลอดประสบการณ์การทำงาน ประมาณ 9 ปี ได้พิสูจน์คำพูดนี้จริงๆค่ะ  ดังนั้นคุณลิขิตให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น ความบังเอิญที่เราสัมผัสข้อมูลได้จะทำให้เราได้ข้อจริง ถ้าพิสูจน์ความจริงของข้อมูลผ่านแล้ว ขั้นตอนการดำเนินแผนไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอีกต่อไปค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท