การจัดระดับความเสี่ยง


ระดับความเสี่ยง
การแบ่งระดับความรุนแรงของความเสี่ยง

1. ความเสี่ยงทางคลินิก แบ่งเป็น 9 ระดับดังนี้

A : เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอุบัติการณ์ เช่น เกือบ off ICD ผิดคน แต่ตรวจพบก่อน เนื่องจากมีการย้ายเตียงผู้ป่วยและแพทย์คิดว่าอยู่เตียงเดิม หรือเขียนใบ request X-ray/lab ผิด แต่ยังไม่ทันได้ order หรือพื้นทางเดินเปียกเสี่ยงต่อการลื่นล้ม เป็นต้น

B : เกิดอุบัติการณ์ขึ้น แต่ไม่ส่งผลถึงผู้ป่วย เช่น ส่งผู้ป่วยไป x-ray ผิดคน แต่ยังไม่ทันได้ x-ray หรือ จ่ายเลือดผิดแต่ตรวจสอบพบก่อนที่จะให้ผู้ป่วย หรือแพทย์ set ผ่าตัดผิดคน / ผิดข้าง แต่ทราบก่อนที่หอผู้ป่วยจะเตรียมผ่าตัดผู้ป่วย หรือเภสัช ฯ จ่ายยาผิดแต่ดักจับพบก่อน เป็นต้น

C: เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย แต่ไม่ทำให้ได้รับอันตราย เช่น แพทย์ set ผ่าตัดผู้ป่วยผิดราย ผู้ป่วยได้รับการเตรียมผ่าตัดผิดไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด หรือ x-ray ผู้ป่วยผิดข้าง / ผิดคน แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับอันตราย หรือเจาะเลือดผู้ป่วยผิดราย แต่ทราบก่อนที่จะส่งไป หรือให้ยา MTV ผิดเวลา เป็นต้น

D : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย และต้องการการเฝ้าระวัง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดอันตราย หรือต้องมีการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยตกเตียงแล้วต้องมีการสังเกตอาการ/เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ( neurological signs )แต่ไม่มีการรักษาอื่นเพิ่มเติม

E : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องมีการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยตกเตียง ศีรษะแตกต้องให้แพทย์เย็บแผล

F : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องนอนโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลนานขึ้น

G : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายถาวร

H : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องทำการช่วยชีวิต
หมายเลขบันทึก: 347525เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2010 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท