การบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
นายอภิศันย์ การบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ศิริพันธ์

มาทำความรู้จัก..คำว่า.."นวัตกรรม".. กันนะครับ ^ - ^


เทคโนโลยีแบบล้มกระดาน (disruptive technology)

นวัตกรรม (innovation)

                       หากจะถามว่า "มีสิ่งเกิดใหม่ในองค์กรและสิ่งนั้นได้ถูกนำมาใช้จนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับองค์กรและถูกเผยแพร่ใช้งาน ทั้งในรูปแบบของ สิ่งประดิษฐิ์หรือชิ้นงาน กระบวนการทำงาน และการบริการ เราจะเรียกสิ่งนี้ว่าอะไร" หลายคนคงคุ้นเคยกับคำใหม่ๆที่เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆในปัจจุบัน  คำหนึ่งที่หนีไม่พ้นและถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในองค์กร คือคำว่า "นวัตกรรม" ซึ่งมีความหมายตามที่กล่าวมาข้างต้น 

                      นวัตกรรม ในมุมมองของนักวิชาการแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ นวัตกรรมส่วนเพิ่ม และนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสิ้นเชิง

                      นวัตกรรมส่วนเพิ่ม เป็นนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหรือสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้วโดยปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของชิพประมวลผล(CPU) ของค่ายอินเทล จาก Pentium IV เป็น Core 2 Quad, Core 2 Duo และ Core 2 Solo เป็นต้น

                      นวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสิ้นเชิง เป็นนวัตกรรมที่ยังไม่เคยมีมาก่อนและไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือวิธีการเดิมที่มีอยู่ หรือจะใช้ชื่อเรียก ตามที่ศาสตราจารย์เคลย์ตัน คริสเตนเซนได้ให้ชื่อใหม่ไว้ว่า "เทคโนโลยีแบบล้มกระดาน (disruptive technology)" เช่น เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ เข้ามาแทนที่ หลอดสูญญากาศ ในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

                       ทั้งสองนวัตกรรมหากนำมาใช้ในการดำเนินงานขององค์กรด้านธุรกิจ ผู้บริหารจำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆด้าน เช่น ระยะเวลาในการสร้างนวัตกรรม ความเสี่ยงที่จะได้รับการยอมรับ และเงินลงทุน  หากต้องการระยะเวลาที่น้อยในการ สร้างนวัตกรรม รวมถึงความเสี่ยงต่ำก็อาจจะดำเนินการสร้างนวัตกรรมแบบ นวัตกรรมส่วนเพิ่ม แต่ถ้าหากต้องการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ก็ควรสร้างนวัตกรรมแบบ นวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสิ้นเชิง แต่ในการดำเนินงานด้านการบริหารนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จนั้นควรดำเนินงานสร้างนวัตกรรมทั้งสองให้ไปด้วยกัน คือมีทั้งนวัตกรรมส่วนเพิ่มและนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสิ้นเชิง

                         นอกจาก นวัตกรรมถูกแบ่งเป็นสองประเภทตามที่กล่าวมาข้างต้น ยังสามารถมอง นวัตกรรมว่า นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการทำงานหรือปฎิบัติงาน ในมุมมองนี้มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนในการผลิตหรือลดต้นทุนในการให้บริการ โดยวิธีการ หลอมรวมหรือผสมผสานขั้นตอนต่างๆในกระบวนการที่ไม่ต่อเนื่องเข้าไว้ด้วยกัน หรือไม่ก็นำขั้นตอนบางส่วนออกไปจากกระบวนการ

                            สุดท้าย นวัตกรรมอาจจะมองในรูปแบบของ นวัตกรรมในบริการ โดยใช้หลักคิดที่ว่า "เราจะให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุดได้อย่างไร" ซึ่งผลที่ได้จะสร้างตัวแบบธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จได้ และนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับนวัตกรรมการบริการ โดยผู้คิดนวัตกรรมควรคิดให้รอบคอบเกี่ยวกับกระบวนการที่จะนำมาใช้ เพื่อสนับสนุนการผลิตและให้บริการแก่ลูกค้า

 

            ที่มา Ralph Katz.  แปลโดย ณัฐยา สินตระการผล.  การบริหารจัดการนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. ธรรกมลการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร.  2550

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 347520เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2010 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากที่ดิฉันได้อ่านบทความของคุณดิฉันคิดว่าเป็นพืื้นฐานที่ดีเลยทีเดียวในการเป็นแนวคิดเริ่มต้นที่จะทำนวัตกรรม แต่ก็มีอยู่นิดนึ่ง

จากการที่คุณได้กล่าวนวัตกรรมในขั้นตั้นดิฉันคิดว่ามันยังไม่เห็นเป็นภาพยังเป็นนามธรรมอยู่ ดิฉันอยากให้คุณลองยกตัวอย่างนวัตกรรมส่วนเพิ่มมาโดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางด้านการตลาด ผนวกกับทางด้านการจัดการโดยยกตัวอย่างจากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น ของsony nokia หรืออื่นๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท