การออกเสียงคำสมาส


      การออกเสียงคำสมาสควรปรับให้คล้อยตามความนิยมในการออกเสียงของคนไทย  คนไทยนิยมออกเสียงพยางค์ท้าย และไม่นิยมออกเสียงหนักหรือเบาติดต่อกันหลายพยางค์  การออกเสียงเชื่อมกลางคำสมาสเป็นวิธีที่ทำให้มีพยางค์เสียงเบาอยู่ท่ามกลางพยางค์เสียงหนัก ถ้าคำสมาสใดมีพยางค์เสียงเบากลางคำอยู่แล้ว  ก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเสียงพยางค์เบาเข้าไปอีก  หากเพิ่มเสียงเชื่อมกลางคำตามกฏการออกเสียงคำสมาส  พยางค์ที่เพิ่มมักต้องออกเสียงหนัก  ไม่ใช่เสียงเบา  หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็ต้องอกเสียงพยางค์อื่นให้หนักยิ่งไปกว่าเดิม

        คำที่ไม่อ่านออกเสียงเชื่อมเพรามีเสียงกลางคำอยู่แล้วเช่น

        อินทรธนู        อิน-ทะ-นู ไม่ใช่อิน-ทะ-ระ-ทะ-นู

        จิตรลดา

        ชาตินิยม

        เทพนิยาย

        วิสุทธิกษัตริย์

        พสกนิกร

       ปัจฉิมลิขิต

       ปฐมนิเทศ

       ชลประทาน

       นามสกุล

      

       คำที่มีรูปคำหน้าเหมือนกัน  ต่างที่คำหลัง  อ่านออกเสียงเชื่อมต่างกันเช่น

       เกียรติยศ   เกียด-ติ-ยด          เกียรตินิยม     เกียด - นิ - ยม

       เพชรบูรณ์   เพ็ด -ชะ-บูน        เพชรเกษม     เพ็ด - กะ - เสม

       ธนบัตร      ทะ-นะ-บัด           ธนบุรี           ทน - บุ - รี

       จิตรกรรม    จิด-ตรฺะ-กำ          จิตรลดา        จิด - ละ -ดา

       ชลธาร       ชน- ละ ทาน        ชลบุรี           ชน- บุ - รี

       เทพบุตร     เทบ- พะ- บุด      เทพธิดา         เทบ - ธิ - ดา

 

 

 

          คำสมาสไม่ใช่คำประสม  เพราะคำสมาสต้องมาจากภาษาบาลี และสันสกฤตเท่านั้น  ถ้ามีคำอื่นมาประกอบไม่ถือว่าเป็นคำสมาส

        กรรมวิบาก (ผลของกรรม)  เป็นคำ สมาส  

       แต่  วิบากกรรม (ผลของกรรม) เป็นคำประสม ตามวิธีการของไทย

       

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสืออุเทศภาษาไทย  ภาษาไทยน่าศึกษาหาคำตอบ

        สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

       กระทรวงศึกษาธิการ

หมายเลขบันทึก: 347009เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท