ถอดบทเรียนประชุมวิชาการรังสีเทคนิค จ.ตรัง : การถ่ายภาพรังสีกระดูก


การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร การทบทวนองค์ความรู้ เป็นส่วนหนึ่งของรังสีเทคนิค การถ่ายภาพรังสีของกระดูกผู้ป่วยปกติและบาดเจ็บมีความแตกต่างกัน

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอความรู้จากการถอดบทเรียน ที่ผมได้ไปเข้าร่วมประชุมวิชาการ ที่จัดโดย สมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิครามาธิบดี ณ โรงแรมธรรมมารินทร์ ธนา จ.ตรัง ในช่วงวันที่ 15-17 มีนาคม พ.ศ.2553 เพื่อเป็นการทบทวน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางรังสีเทคนิคและผู้สนใจ ครับ

 

หัวข้อ Special view in Orthopaedics

โดย นพ.อุกกฤษณ์ คุณาธรรม

 

 

ข้อเด่นของการถ่ายภาพรังสี (General Radiography)

- เป็นการถ่ายภาพทางรังสี มีค่าใช้จ่ายไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีชนิดอื่นๆ

- ใช้ระยะเวลาในการตรวจวินิจฉัยที่สั้นกว่าการตรวจพิเศษ

- มีใช้ตามสถานพยาบาลทั่วไป

 

 

การถ่ายภาพรังสี

ในการจัดท่าสำหรับการถ่ายภาพรังสี ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือและอยู่นิ่งๆระหว่างการถ่ายภาพ สำหรับผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยอาจมีบาดแผล มีอาการหรือความเจ็บปวด หรือมีสภาพร่างกายที่ผิดปกติ ดังนั้นในการจัดท่าทางผู้ป่วย สำหรับการถ่ายภาพนั้น อาจไม่เหมือนท่าปกติ ไม่สามารถใช้ท่ามาตรฐานได้ นักรังสีเทคนิคหรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน อาจต้องใช้ความสามารถในประยุกต์ท่าทางที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสี หรือต้องจัดหาอุปกรณ์มาช่วยในการพยุง (Support) อวัยวะที่ต้องการถ่ายภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย ซึ่งจะช่วยให้สามารถถ่ายภาพรังสีได้สะดวกขึ้น

 

 

การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร

การทำงานเป็นทีม มีความสำคัญในการทำงานทุกอย่าง โดยเฉพาะทางการแพทย์ การทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ ที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักรังสีเทคนิค และบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นๆ ผู้ปฎิบัติงานต้องทำหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทำให้ดีที่สุด แต่บางครั้งก็อาจเกิดความผิดพลาดในการทำงานขึ้นได้ ดังนั้น การประสานงานกัน การทำงานแบบพี่น้อง เพื่อนร่วมอาชีพ มีความเอื้ออาทรกันและกัน การสื่อสาร การสอบถามข้อมูลกัน เป็นเรื่องสำคัญ

 

 

ตัวอย่างปัญหาที่พบจากการทำงาน

แพทย์สั่งถ่ายภาพรังสีกระดูก เพื่อต้องการหาสาเหตุของความผิดปกติ แต่ลงข้อมูลที่ผิดข้าง ผิดตำแหน่ง เช่น ผู้ป่วยบาดเจ็บแขนซ้าย แต่แพทย์สั่งตรวจแขนข้างขวา หากนักรังสีเทคนิคพบเห็นว่า มีความผิดพลาดจากการเขียนเอกสารการส่งตรวจ ก็ควรติดต่อสื่อสารกลับไป สอบถามกับแพทย์ผู้ส่งตรวจวินิจฉัยซ้ำอีกครั้ง ก่อนที่จะทำให้เกิดการผิดพลาดขึ้น (ช่วยกันตรวจสอบ ช่วยกันดูแล) แต่เมื่อหากนักรังสีเทคนิคพบความผิดพลาดแล้ว แต่ยังถ่ายภาพรังสีในข้างที่ผิด ในอวัยวะที่ผิด ก็จะทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมาหลายอย่างแก่ผู้ป่วย ผู้รับบริการ เช่น ต้องถ่ายภาพรังสีซ้ำ ใช้เวลาในการรอรับบริการนานขึ้น เพิ่มเวลาในการตรวจวินิจฉัยและรักษา เสียโอกาสในการได้รับการรักษาที่ทันท่วงที เสียค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน เป็นต้น

 

 

 

ทำไมถึงต้องถ่ายภาพรังสีท่าพิเศษ (Special view)

เนื่องจากการถ่ายท่ามาตรฐานปกติ (Routine view) ไม่สามารถช่วยให้มองเห็นสิ่งที่สงสัยหรือผิดปกติได้อย่างชัดเจน บางครั้งต้องให้เครื่องตรวจวินิจฉัยชนิดพิเศษชนิดอื่นๆเข้าช่วย ได้แก่ Ultrasound, CT Scan, และ MRI

 

 

 

ทบทวนความรู้ในการถ่ายภาพรังสีกระดูก

 

Pelvis and Hip joint

ข้อแนะนำ

ท่าทางของ Hip joint ที่อยู่ในลักษณะ True AP คือ หมุนเท้าในลักษณะ Internal rotation ประมาณ 15 องศา หรือ จัดให้ หัวแม่เท้าของทั้งสองข้าง ควรแนบชิดกัน

 

 

 

ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุข้อสะโพก ไม่ควรถ่ายในท่าทาง Frog leg position เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่เกิดผลไม่ดีต่อข้อสะโพก

ควรใช้ท่า Latertal crosstable

 

 

Pelvic inlet and outlet

Pelvic Inlet ช่วยให้สามารถมองเห็นความผิดปกติในส่วนของ Sysphysis pubic ได้ชัดเจน

 

 

Pelvic Outlet ช่วยให้สามารถมองเห็นความผิดปกติในส่วนของ SacroIliac joint (SI joint) ได้ชัดเจน

 

 

 

 

Aceptabulum

ท่าที่ใช้ในการถ่ายภาพ Aceptabulum คือ Judet view มีอยู่ 2 ท่าด้วยกัน

ท่าที่เอียง สะโพกสูงขึ้นห่างจากฟิล์ม เรียกว่า Obturator Oblique

ท่าที่เอียง สะโพกอยู่ชิดกับฟิล์ม เรียกว่า Iliac Oblique

 

  

 

Elbow joint

ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ อาจจะวางมือในท่าเหยียดแขนไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นขณะที่จัดท่าระหว่างตรวจ ไม่ควรให้ผู้ป่วยเหยียดแขนตามที่ต้องการ เพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นได้ ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ทำได้

 

Shoulder joint

การถ่ายภาพรังสีหัวไหล่ ในลักษณะที่ True AP ควรจัดเอียงฟิล์มและเอียงหลอดเอกซเรย์ประมาณ 45 องศา

 

 

 

 

Clavicles

ไม่ถ่ายแยกข้าง ควรถ่ายทั้งสองข้างบนฟิล์มเดียวกัน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ

 

สรุป :

- การจัดท่าทางให้ผู้ป่วย สำหรับการถ่ายภาพทางรังสีเป็นศาสตร์และศิลปะ รวมถึงเข้าใจสภาพความเจ็บป่วย ความไม่สมบูรณ์ ดังนั้นนักรังสีเทคนิค ต้องเข้าใจและสามารถประยุกต์องค์ความรู้ ประสบการณ์ วิชาการ วิชาชีพ วิชาตน เข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ต่อผู้รับบริการ

 

- ของฝากจากวิทยากร นักรังสีเทคนิค ต้องไม่ลังเลที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 346138เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2010 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ต่างๆ

ติดตาม blog อาจารย์ตลอด ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ ที่อาจารย์นำมาถ่ายทอดสู่พวกเราเสมอ ๆ

ขอบพระคุณครับ ทั้งภาพ และ เสื้อ ช้าง ช้าง ช้าง

เรียน ทุกท่าน

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม โปรดติดตามการถอดบทเรียนต่อไป กำลังทะยอยเขียน ครับ

สวัสดีครับอาจารย์ เพชรากร มาตรัง ไม่แวะมาพัทลุง บ้านพี่เมืองน้องกัน

มีทีพักผ่อนหลายแห่งแบบบ้านครับท่าน

เรียน คุณวอญ่า

อยากไปครับ หากมีโอกาส คราวหน้าคงได้ไป คราวนี้ได้ไปเยี่ยมบัณฑิตรังสีเทคนิค ที่รพ.พังงา และตะกั่วป่า ครับ

หัวข้อนี้หนูเข้าฟังบรรยายไม่ทัน พอดีเลยค่ะ หนูต้องนำสิ่งที่ไปอบรม มาเผยแพร่ให้เพื่อนๆที่ทำงานฟังและหัวข้อบรรยายนี้คิดว่าเป็นประโยชน์มาก ขอบคุณนะคะอาจารย์ รักและเคารพอ.ตลอดเวลา

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมไปตรวจสุขภาพประจำปี
  • และตรวจเอ๊กซเรย์  ภาพออกมากระดูกสันหลังโค้งเล็กน้อย
  • แต่ผลการตรวจอุลตราซาวน์ไม่เป็นอะไร  หมอบอกว่พี่คิมยืนไม่ตรงค่ะ
  • ต่อไปจะต้องยืนให้ดีค่ะ

สวัสดีครับ ชาลินี

หวังว่าสิ่งที่นำเสนอจะได้นำไปใช้ต่อไปนะครับ

เรียน คุณครูคิม

นอกจากฝึกยืนแล้ว การนั่ง การียกสิ่งของ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ต้องระมัดระวังมากขึ้น นะครับ การออกกำลัง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับประสาทบริเวณกระดูกสันหลัง ครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

ขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่ให้ครับ บ้างอย่างไม่ค่อยได้ใช้ ไม่ค่อยได้ปฏิบัติ ก็จำไม่ค่อยได้

สวัสดีครับ โยธิน

เทอมปลาย ปีการศึกษา 2553 เราจะได้ฝึกและทบทวนกันมากกว่านี้ นะครับ

ขอบ คุณมาก สำหรับความรู้ที่นำมาสอนให้เด็กรุ่นหลังได้เรียนรู้

ดีใจที่เจอ บล็อกนี้ และสัญญาว่าจะติดตามการสอนของคุณไปเรื่อย...............

เรียน คุณเต่าน้อย

ขอบคุณ ที่แวะมาเยี่ยม มาให้กำลังใจ ครับ

อยากทราบเทคนิคการถ่าย hip crosstable ค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ

ขอก๊อปหน่อยนะครับอาจารย์


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท