หลายสิ่งที่คล้ายกันของสืบ นาคะเสถียรและ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา


ที่เหมือนกัน แน่นอนที่สุดคือทั้งคู่คือวีรบุรุษที่แท้จริง

คนรุ่นเดียวกัน

สืบ นาคะเสถียร (31 ธ.ค. 2492 — 1 ก.ย. 2533)

 

 

 

พลตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญา (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493[1] — 12 มีนาคม พ.ศ. 2553)

 

 

 


 


ป่าห้วยขา แข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า ทำให้หลายฝ่ายต่างก็จ้องบุกรุกเข้ามาหาผลประโยชน์ สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาป่าผืนนี้ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ได้ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า “ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน” ตั้งแต่วันแรกที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ ถึงแม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถปกป้องป่าได้ เนื่องจาก การดูแลผืนป่าขนาดมากกว่าหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด รวมถึงการทุจริตของเจ้าหน้าที่ กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย และมากกว่านั้นปัญหาความยากจนของชาวบ้านที่อยู่อาศัยโดยรอบเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ทำให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลที่หวังผลประโยชน์ ได้ว่าจ้างชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์

 

จากเกียรติประวัติทำงานคลุกคลี อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มานานเกือบ40 ปี ในเครื่องแบบผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ คอยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน ตั้งแต่ยศชั้นประทวน จนถึง พันตำรวจเอกในปัจจุบัน   ผ่านการปะทะกับผู้ก่อการร้ายมานับครังไม่ถ้วน และ หลายครั้งแทบเอาชีวิตไม่รอดถึงแม้ว่า พล.ต.อ.สมเพียร จะมีความสามารถในงานสืบสวน ปราบปราม แต่งานมวลชนก็ไม่ได้ละทิ้ง ยังคงติดต่อฟื้นสายสัมพันธ์เก่ากับประชาชนทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมในพื้นที่ ที่เคยทำงานร่วมกันมเมื่อครั้งอดีตด้วยใจถึงใจต่อกัน มีกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจและความรู้สึกอันดีกับชุมชน พล.ต.อ.สมเพียร ไม่เคยที่จะปฏิเสธในการเข้าไปมีส่วนร่วม แม้จะรู้ว่ามีอันตรายแฝงอยู่ในทุกย่างก้าว และเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา

 

 

 


พี่สืบชอบงานวิจัยมากกว่างานบริหาร แต่ขณะนั้นกำลังถูกทาบทามให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง ซึ่งตัวพี่สืบเองบอกกับผมว่า ใจจริงอยากทำงานวิจัยที่ได้ประโยชน์กว่า แต่ก็ห่วงเจ้าหน้าที่ และการจัดการซึ่งมีแต่ปัญหาที่ยากแก่การแก้ไข เพราะนโยบายของรัฐบาลขณะนั้น ยังเปิดให้มีการทำไม้ในพื้นที่สัมปทาน โดยไม่มองความจริงว่า พื้นที่ป่าไม้ของชาตินับวันมีแต่ลดจำนวนลง และน้อยเกินกว่าตัวเลขซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤต

    พี่สืบบอกผมว่า หากแกตัดสินใจไม่ทำงานที่ตนถนัด คืองานวิจัยสัตว์ป่า แกอาจเข้ามาทุ่มเทชีวิตให้กับป่าแห่งนี้เป็นพิเศษ แกอยากเห็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ได้ผลตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างคุ้มค่า หากเฟืองจักรชิ้นเล็กๆ อ่อนแอแล้ว คงไม่สามารถบริหารกลไกที่ใหญากว่าได้ ทุกวันนี้กรมป่าไม้ปล่อยให้พวกเขาเดินถือปืนเข้าป่า โดยไม่ได้รับความเห็นชอบตามกฎหมาย เราปล่อยให้ลูกจ้างชั่วคราวรักษาป่า โดยไม่มีกฎหมายคุ้มครอง พวกเขาต้องเสี่ยงชีวิต และถูกจับติดคุกหากเกิดการปะทะกับผู้กระทำผิด ด้วยกฎหมายฉบับเดียวกัน…

 โดย : โจ๋ย บางจาก

 


"ประวัติศาสตร์ประเทศนี้สอนอะไรบางอย่าง ว่า

คน เรามักจะเห็นคุณค่าเมื่อตอนตาย

ผมไม่เสียใจที่พ่อตาย ผมคิดว่าสักวันจะต้องเกิด

แต่ผมเสียใจและร้องไห้เพราะความไม่ ยุติธรรม
ในสังคมบ้านเรามันไม่มีความยุติธรรมกับคนทำงานคนทุ่มเท

ใน วัยเด็กเนี่ย 15 วันผมถึงจะได้เจอพ่อครั้งหนึ่ง
เพราะว่าพ่อต้องออกเดิน ป่า ออกลาดตระเวน
มีเวลาให้ลูกน้อยมากเดือนหนึ่ง วัน สองวัน
และ กลับมาบ้านก็กางแผนที่ เตรียมโจมตีอีกแล้ว

ผมเสียพ่อให้กับประเทศ นี้นะครับ
ผมเสียพ่อให้กับการรักษาความสงบ

ชั่วชีวิต 40 กว่าปีของพ่อที่ทำงาน
พ่อทุ่มจนครอบครัวเรา ความอบอุ่นที่ได้รับนี่น้อยนะครับ

และประเทศนี้ก็ตอบแทนเราด้วยความ ไม่ยุติธรรม”

ชุมพล เอกสมญา

 

 

คล้ายกันคือแบบอย่างของข้าราชการไทยผู้เสียสละ


ที่เหมือนกัน แน่นอนที่สุดคือทั้งคู่คือวีรบุรุษที่แท้จริง

หมายเลขบันทึก: 345223เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2010 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ เป็นเรื่องราวที่ผมประทับใจมากครับ

  • มีหลายอย่างที่คล้ายกันมากๆๆเลยครับ
  • ขอบคุณที่นำมาเปรียบเทียบให้อ่านครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท