อินเดีย : พิธีบูชาเจ้าแม่ของชาวอินเดียโบราณ


พิธีบูชาเจ้าแม่

            พิธีบูชาเจ้าแม่กาลีนี้ควบคู่ไปกับลัทธิศักติ ซึ่งมีความสำพันธ์กับพระศิวะและพระอุมามหาเทวี โดยมีสัญลักษณ็เป็น ศิวลึงก์และฐานโยนี ชายหญิงเป็นของคู่กัน มีเทพบุรุษก็ต้องมีเทพนารี การรวมกันของชายกับหญิง ทำให้เกิดการก่อกำเนิด การสืบทอด ดังนั้นชายหญิงจึงมีความสำคัญควบคู่กัน 

ศิวลึงก์และฐานโยนี

(ที่มา: http://www.igetweb.com/www/pcg/index.php?mo=18&display=view_single&pid=265724)

            ในฐานะที่เป็นเทวีผู้สร้างโลก พระอุมาจึงมีพระพักตร์ รูปทรงที่สวยงามเปรี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา  แต่หากเกิดเหตุร้าย หรือเหล่าบรรดาอสูร พระแม่ผู้ทรงสิริโฉมจะจำแลงแปลงกายเป็นผู้ทำลาย นามว่า เจ้าแม่กาลี มีรูปโฉมก็จะน่าเกลียดหน้ากลัว ตัวดำ ความเมตตาจะหายไปมีแต่ความโหดร้ายแสดงอำนาจให้ทุกสิ่งชิบหายลงไปได้   

พระอุมามหาเทวีกับพระศิวะ

(ที่มา :http://godgoddess-hindu.blogspot.com/)

            ดังนั้นพวกพราหมณ์ที่นับถือเจ้าแม่กาลี จึงสร้างรูปเคารพให้มีความน่ากลัวเปรี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แสดงกรหลายกร มากมายด้วยศาสตราวุธไว้ข่มขวัญเหล่ามารร้าย  อีกทั้งยังถือเป็นเทพีแห่งโรคระบาด แผ่นดินไหว น้ำท้วม พายุ ความวิบัติต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการยับยั้งไม่ให้เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ การบูชาเจ้าแม่กาลีจึงต้องมีการยัญญะด้วยสิ่งของใหญ่ น่ากลัว ดังเช่น เลือดสด ๆ  วัว ควาย หรือแม่แต่มนุษย์  เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่จ้าแม่

เจ้าแม่กาลี

(ที่มา http://www.siamganesh.com/kali.html)

            ลัทธิฆ่าคนบูชาจ้าวแม่กาลีสืบทอดกันมาช้านานจนถึงยุคอังกฤษเข้ายึดครองอินเดีย พิธีกรรมฆ่ามนุษย์บูชายัญถึงถูกระงับไป แต่การบูชาจ้าวแม่กาลีก็ยังมีอยู่ แต่ใช้แพะบูชายัญ 

พระแม่ทุระคา

(ที่มา http://mahathep.exteen.com/20080420/entry)

           นอกจากนี้ยังมีพิธีบูชาพระแม่ทุระคา (ปางหนึ่งของพระอุมา) จะมีการประกอบพิธีด้วยการเสพย์เมถุนอย่างสำส่อน นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เชื่อว่า เป็นการรักษาประเพณีหลับนอนกันอย่างสำส่อนในสมัยพุทธกาล 

พระสุรัสวดี

(ที่มา http://mahathep.exteen.com/20070102/entry)

            เทพนารีองค์สำคัญอีกหนึ่งองค์ในศาสนาพราหมณ์คือพระสุรัสวดีชายาของพระวิษณุ ถือว่าเป็นเทพแห่งปัญญา พิธีบูชา ชาวฮินดูจะปั้นรูปจ้าวแม่ผมยาวประบ่าเพื่อขายกันในเวลางาน  ตกกลางคืนจะนำรูปปั้นนั้นประดิษฐานขึ้นแท่นบูชา แล้วจะเซ่นไหว้กันในยามรุ่งเช้า วันนี้จะถือว่าเป็นวันหยุดราชการ จะมีงานรื่นเริง ชาวฮินดูจะออกมาร้องรำทำเพลงไปทั่วเมือง พลบค่ำก็จะมีขบวนแห่รูปปั้นเจ้าแม่มุ่งไปสู่แม่น้ำคงคา  กราบไหว้บูชาแล้วนำรูปปั้นทิ้งลงน้ำ

 

ลัทธิบูชามเหสีของพระผู้เป็นเจ้า หรือศักติเกิดในยุค มหากาพย์และทัศนะทั้ง ๖ ประมาณ ๖๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. ๒๐๐  ถือเป็นยุคสำคัญของศาสนาพราหมณ์เพราะเกิดศาสนาคู่แข่งเพิ่มขึ้น คือศาสนาพุทธ และศาสนาเชน และมีแนวโน้มว่าจะเป็นที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ   โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่มีคำสอนต่างกันเกือบจะคนละขั้ว คือไม่เชื่อเรื่องเทพเจ้าและไม่ยอมรับระบบวรรณะ

                เมื่อศาสนาพุทธเจริญขึ้น คำสอนในข้อที่ว่า กรรมเป็นผลจากการกระทำ ไม่ได้เกิดจากการดลบันดาลของเทพเจ้า ศาสนาพุทธมุ่งสอนให้ผู้คนไป่สู่ปรินิพพานคือหลุดพ้นจากการเวียน ว่าย ตาย เกิด นั้นเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองไม่ใช้อำนาจของเทพเจ้า ศาสนาพราหมณ์มุ่งปฏิบัติด้วยความสุดโต่ง ศาสนาพุทธปฏิบัติตามทางสายกลาง ศาสนาพราหมณ์เชื่อเรื่องการบูชายัญ ศาสนาพุทธไม่เชื่อเรื่องการบูชายัญ ไม่เชื่อเรื่องการติดต่อติดสินบนเทพเจ้า ฯลฯ คำสอนเหล่านี้มีส่วนสำคัญทำให้ประชนชน โดยเฉพาะประชาชนที่ไม่พอใจต่อพราหมณ์ที่เรียกร้องค่าประกอบพิธีกรรมติดต่อกับเทพเจ้าเป็นจำนวนเงินที่สูง และคนที่ไม่พอใจกับการกดขี่ของระบบวรรณะเริ่มเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น ส่งผลให้พราหมณ์ผู้ที่อ้างตนว่าติดต่อกับเทพเจ้าได้ลดความสำคัญลง แม้แต่พราหมณ์ในราชสำนักก็ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเช่นแต่ก่อน โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์มีความศรัทธาในศาสนาพุทธอย่างยิ่ง ดังปรากฏ ในพุทธศตวรรษที่ ๓ พระองศ์ทรงให้มีทำการสังคยานาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ และได้ส่งสมณะทูตไปเผยแพร่พุทธศาสนาถึง ๙ เส้นทาง นับว่าเป็นสมัยที่ศาสนาพุทธมีความเจริญสูงสุดในอินเดีย  เมื่อเป็นดังนี้ศาสนาพราหมณ์จึงต้องมีการพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถต่อสู้กับศาสนาใหม่ที่กำลังมาแรงได้ อย่างเช่น การบูชาเจ้าแม่ที่มีอิทธิฤิทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นต้น

            ลัทธิศักติถือเป็นวิวัฒนาการมาจากการนับถือพระแม่ผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่งทั้งปวง  การนับถือเทพีให้ทัดเทียมเทพบุรุษนั้น ปรากกฎมานานแล้วในกลุ่มชนพื้นเมืองชาวอินเดีย  ลัทธิศักติเชื่อว่า มีเพศชายก็ต้องมีหญิงเป็นของคู่กันสร้างความสมดุลให้แก่กัน เป็นอำนาจสนับสนุนชีวิตทั้งปวงให้คงอยู่ รวมถึงประคับประคองให้โลกอยู่ในภาวะสมดุล  เทพที่สำคัญที่สุดของลัทธิศักติ คือพระอุมา ซึ่งเป็นชายาคู่บารมีพระศิวะ  พระอุมาจะปรากฏเป็นปางต่าง ๆ เพื่อปราบอสูร เช่น ปราบมหิษาสุรมรรทินี ปราบอสูรมหิษะสุระ  ปางมหากลี เป็นปางดุร้ายผิวกายดำ เป็นต้น

วาทิน ศานติ์ สันติ : วิเคราะห์และเรียบเนียง

อ้างอิง

สมัคร บุราวาศ. ปรัชญาพราหมณ์ในพุทธกาล. ไม่ปรากฏครั้งที่พิมพ์. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา. ๒๕๑๖.

http://www.igetweb.com/www/pcg/index.php?mo=18&display=view_single&pid=265724. สืบค้นเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://godgoddess-hindu.blogspot.com/. สืบค้นเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://www.siamganesh.com/kali.html. สืบค้นเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://mahathep.exteen.com/20080420/entry. สืบค้นเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓.

หมายเลขบันทึก: 344359เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2010 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท