อินเดีย : การปลงศพของชาวอินเดียโบราณ


พิธีการปลงศพ ชาวอินดีมีประเพณีการปลงศพอยู่ ๔ แบบคือ

           ๑. การปลงศพโดยการนำไปฝังดินใต้ต้นไม้การฝังศพถือเป็นพระเพณีของชาวพื้นเมือง (ทราวิด)เนื่องจากมีความเชื่อเรื่องการกสิกรรม และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งเชื่อว่าวิญญาณของผู้ตายจะปกป้องดูแลต้นไม้และพืชผลให้เป็นไปตามฤดูกาลด้วยความเชื่อนี้ต่อมาจึงพัฒนาเป็นการบูชาต้นไม้ และเนินดินที่ใช้ฝังศพใต้ต้นไม้นั้นได้พัฒนากลายเป็นเจดีย์ไปในสมัยพุทธกาล

           ๒. การปลงศพด้วยไฟการปลงศพวิธีนี้เป็นประเพณีนิยมของชาวอารยันเนื่องจากชนกลุ่มนี้เป็นพวกแร่ร่อนเมื่อมีผู้ใดเสียชีวิตจึงต้องนำร่างไปเผาไฟเพื่อนำเถ้ากระดูกใส่โกศเอาไว้ติดตัวเวลาเดินทางประเพณีนี้ได้เป็นประเพณีนิยมของชาวพุทธดังเช่นการปลงพระศพของพระพุทธเจ้าและตกทอดมาถึงชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศไทยด้วย

           ๓.การปลงศพด้วยน้ำชาวฮินดูเชื่อเรื่องการบรรลุโมกษะคือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดดวงวิญญาณไปรวมกับวิญญาณอันบริสุทธิ์หรือพรหมมันเมื่อชาวฮินดูรู้ว่ากำลังจะตายความคิดเบื้องแรกคือไปสู่เมืองพาราณาสีเมืองศักดิ์สิทธิ์เพราะจะได้อาบน้ำจากแม่น้ำนี้แม่น้ำจะปลดเปลื้องชำระล้างบาปที่ได้กระทำมาแต่ครั้งอดีตได้และเมื่อตายไปก็จะมีการเผาร่างที่ริมแม่น้ำแล้วโปรยเถ้ากระดูกลงแม่น้ำหากไม่เผาก็จะนำร่างทั้งร่างปล่อยลงแม้น้ำไปเพราะเชื่อว่าแม่น้ำอันศักดิ์สิทธิ์จะนำหาพวกเขาไปพบกับหางหลุดพ้น

           ๔.การปลงศพด้วยการปล่อยให้นกกาจิกกินการปลงศพแบบนิยมในหมู่ชาวบ้านที่มีฐานะยากจนไม่มีเงินไปให้พราหมณ์ประกอบพิธีศพให้หรืออีกในหนึ่งถือเป็นการสร้างกุศลครั้งสุดท้ายด้วยการอุทิศร่างกายให้แก่เหล่านกกาเพื่อเป็นทานอาหารเมื่อเหลือกระดูกจะนำไปเผา นำเถ้าไปโปรยทั้งนี้การกระทำพิธีปลงศพต้องให้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม เพราะพราหมณ์คือผู้ที่สามารถติดต่อกับเทพเจ้าได้แต่เพียงผู้เดียว  

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

อ้างอิง

ประภัสสร บุญประเสริฐ. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้.พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.๒๕๔๘.

สมัคร บุราวาศ. ปรัชญาพราหมณ์ในพุทธกาล.ไม่ปรากฏครั้งที่พิมพ์. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา. ๒๕๑๖.

คำสำคัญ (Tags): #ปลงศพ
หมายเลขบันทึก: 344354เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2010 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2017 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท