การพัฒนาโจทย์วิจัย PAR พืชปลอดภัยของตำบลนาบ่อคำ(2)


เป็นประเด็นหลักในการนำเข้าสู่การพัฒนาโจทย์วิจัย(เริ่มที่การลดต้นทุนการผลิต) ค่อยๆ สร้างความเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของพืช/อาหารปลอดภัย

          ในวันที่ 2 มิถุนายน  2549  ผมและคุณสายัณห์ มีนัดหมายกับคุณเชิงชาย  เรือนคำปา นักส่งเสริมการเกษตรตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร  ในวันนี้เรามีกำหนดในการปฏิบัติงานภาคสนาม ณ หมู่ที่ 4 บ้านหนองกอง  เป็นกิจกรรมการสร้างความเข้าใจให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อหารูปแบบการส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้พืชปลอดภัยฯ

          มีกิจกรรม/กระบวนการ ดังนี้ครับ

          เริ่มด้วยการดูวีซีดี เรื่อง "บ้านสามขา" เพื่อสร้างความเข้าในถึงกระบวนการวิจัยฯ

                                            49061209 เตรียมจอเพื่อดูวีซีดีครับ

          ผลก็เป็นที่น่าพอใจ สังเกตได้จากการพูดคุย และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นอย่างดี (ผมอาจสรุปผิดก็ได้)

          การทบทวนกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมา โดยคุณเชิงชาย  เรือนคำปา   หลังจากนั้นผม และคุณสายัณห์  ปิกวงค์ ได้ร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับชาวบ้านต่อไป   ซึ่งครั้งที่ผ่านมากลุ่มได้กำหนดให้มีการวางแผนการทดลอง/ทดสอบการใช้ปุ๋ยในนาข้าว  และในวันนี้เป็นการพัฒนาโจทย์ต่อ เพื่อให้ได้กระบวนการส่งเสริมฯ ที่จะทำให้ข้าวปลอดภัย

                                            49061212

          หลังจากดำเนินกระบวนการร่วมกับชาวบ้านแล้ว ได้ข้อสรุปของงานวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งปรับทั้งชื่อ และกระบวนการ คือ   "กระบวนการเรียนรู้เพื่อผลิตข้าวปลอดภัยบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร"

         49061213

          กระบวนการหรือแผนปฏิบัติที่ร่วมกันกำหนดขึ้นในเบื้องต้น คือ

  • การศึกษาดูงานการปลูกข้าวปลอดสาร
  • การตรวจเลือดสมาชิกกลุ่มฯ ก่อนการดำเนินการผลิตข้าว
  • การจัดทำแปลงทดสอบทดลอง (ของเดิม)
  • การ ลปรร.เพิ่มเติมกับสมาชิกกลุ่มอื่นๆ
  • การตรวจปริมาณสารเคมีตกค้างในผลผลิต
  • การตรวจเลือดสมาชิกกลุ่มฯ หลังการดำเนินการผลิตข้าว

                    49061216 วางแผนร่วมกัน

 

          ทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชรออกแบบเพื่อเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูล (คุณพิเชฐ  อินทร์เจือจันทร์)

   49061214    49061215

         ในการดำเนินกระบวนการในวันนี้ เนื่องจาก "พืชปลอดภัย" เกษตรกรยังไม่มีความตระหนัก ดังนั้นเวลาดำเนินกระบวนการจริงๆ ทีมงานเราจึงใช้ปัญหาที่เกษตรกรคิดว่าเป็นปัญหาจำเป็น คือ "รายได้" ซึ่งก็คือ "ต้นทุนการผลิตสูง" เป็นประเด็นหลักในการนำเข้าสู่การพัฒนาโจทย์วิจัย(เริ่มที่การลดต้นทุนการผลิต) ค่อยๆ สร้างความเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของพืช/อาหารปลอดภัย เทคนิคที่ใช้ เช่น

  • การพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจ และเชื่อมโยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
  • ใช้สิ่งที่คิดว่าจำเป็นของเกษตรคือต้นทุนการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสารเคมีหรือปุ๋เคมีอยู่แล้ว
  • เทคนิคการตั้งคำถาม เช่นถามว่า "ให้พวกเราช่วยกันคิดหน่อยว่า หากเราจะผลิตข้าวให้ปลอดภัย คิดว่าพวกเราจะต้องทำอะไรกันบ้าง" หรือ "การผลิตข้าวให้ปลอดภัยของบ้านเราควรเป็นอย่างไร" เป็นต้น

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 34358เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2006 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท