kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 (5) : ถอดบทเรียนการศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน


ขอเวลาอีก 1 ปี ชมรมน่าจะมีโครงสร้างและกิจกรรมที่เป็นรูปร่างและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนในชมรมมากขึ้น ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นความเข้มแข็งของชมรมในด้านการส่งเสริมสุขภาพคงจะมีมากขึ้น เนื่องจากเป็นความต้องการของคนในชมรมอย่างแท้จริง

หลังจากการศึกษาดูงาน ในการประชุมการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 ที่ จ.น่าน  ก็ให้ผู้ประชุมซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามจังหวัดคือ

จังหวัดนครสวรรค์ ถอดบทเรียนในเรื่อง สิ่งดี ๆ ที่มีให้เห็น  ซึ่งเบ่งเป็น Topic ใหญ่ได้เป็น 

  • การประชุม   - ประจำเดือน , การประชุมสัญจร
  • การอบรมอาชีพระยะสั้น
  • กิจกรรมสำหรับผู้เสียชีวิต
  • เยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน
  • การรักษาโรคแบบโบราณ
  • กิจกรรมประเพณี

 

จังหวัดพิจิตร  ถอดบทเรียนในเรื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จของชมรมเกิดจากอะไรบ้าง ซึ่งได้แบ่ง topic เป็น  4 M คือ

  • คน (Man)   ได้แก่ แกนนำ , สมาชิก และเจ้าหน้าที่
  • ของ (Meterial)  ได้แก่ วัสดุที่มีในชุมชนอยู่แล้ว
  • วิธีการ (Management)  ได้แก่ วิถีชีวิตชุมชน , การทำงานเชิงรุก, สัมพันธภาพ 
  • เงิน (maney)  ได้แก่ จากภาครัฐ และในชุมชนเอง

 

จังหวัดกำแพงเพชร  ถอดบทเรียนในเรื่องความสามารถ และต้นทุนในชุมชน  ซึ่งประกอบด้วย

  • หน่ายงาน และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความสามารถในการทำงานเชิงรุก และการสร้างสัมพันธภาพ
  • คนในชมรมที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพในการทำงาน
  • สถานที่ และประเพณีวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการรวมกลุ่มการทำงาน
  • การมีองค์ความรู้ในท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการดำรงชีพ โดยมีวัสดุในท้องถิ่นเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า

จังหวัดอุทัยธานี  ถอดบทเรียนในเรื่อง สิ่งที่ชุมชนได้รับผลประโยชน์จากชมรม อันได้แก่

  • ตนเอง - ไม่ว่าเป็นด้านสังคม จิตใจ สุขภาพ และปัญญา
  • ชุมชน สังคม - เกิดความร่วมมือ , มีระเบียบ , สืบสานประเพณีอันดีงาม
  • เศรษฐกิจ  - มีรายได้เสริม  ได้รับความช่วยเหลือ
  • ครอบครัว - อบอุ่น , ลดช่องว่างระหว่างวัย
  • สิ่งแวดล้อม - ดีขึ้นจาดความร่วมมือของคนในชุมชน 

       จากการถอดบทเรียน  จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมทันตสุขภาพ ยังไม่ค่อยมีการพูดถึง เนื่องจากเพิ่งจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินกิจกรรม ซึ่งเริ่มจากการตรวจสุขภาพในช่องปากก่อน แต่ยังไม่ได้ทำให้เกิดกระแสสังคมที่ทำให้เกิดความต้องการในการส่งเสริมทันตสุขภาพ  ซึ่งปัจจัยสำคัญของการทำงานด้านสุขภาพคือเจ้าหน้าในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นจากโรงพยาบาล , สถานีอนามัย หรือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ  ส่วนผู้นำของชมรมยังอยู่ในขั้นตอนการแสวงความรู้ และหาแนวร่วมในการทำงาน ซึ่งผู้รับผิดชอบในพื้นที่ได้บอกเอาไว้ว่าขอเวลาอีก 1 ปี ชมรมน่าจะมีโครงสร้างและกิจกรรมที่เป็นรูปร่างและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนในชมรมมากขึ้น ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นความเข้มแข็งของชมรมในด้านการส่งเสริมสุขภาพคงจะมีมากขึ้น เนื่องจากเป็นความต้องการของคนในชมรมอย่างแท้จริง

ขอบคุณชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบ้านหลวงจังหวัดน่าน ครับผม

หมายเลขบันทึก: 343291เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท