แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 9 มีนาคม 2553


วันแรกของการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกงานตามห้องตรวจต่างๆ ทำความเข้าใจ แบบองค์รวม

สวัสดีครับ

วันนี้ช่วงเช้าเวลา 8.00 น. ถึง 8.30 น. ทางหลักสูตรฯ ได้จัดเวลาให้นักศึกษาที่ไปฝึกงานตามห้องตรวจต่างๆ ได้มีโอกาสมาเล่าเรื่องราว มานำเสนอ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน ว่าใครไปฝึกอะไร? ได้เรียนรู้อะไร? หมุนเวียน สลับเปลี่ยนกันทุกวัน วันละ 3 คน

 

1.การตรวจระบบขับถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 32 ปี มีอาการปวดหลังมา 1 สัปดาห์ มีนิ่วที่ไตข้างขวา แพทย์ส่งตรวจ IVP

ภาพแสดงให้เห็นว่า มีนิ่วที่บริเวณไตข้างขวา (ก้อนทึบรังสีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม) 

 

ประโยชน์ของการถ่ายภาพรังสี Scout view

- เพื่อใช้เป็นภาพเบื้องต้นในการวินิจฉัยโรค โดยใช้สำหรับเปรียบเทียบระหว่างการตรวจ ก่อนและหลังการฉีดสารทึบรังสีเข้าร่างกาย

 

- เพื่อตรวจสอบว่า Exposture technique ที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสี มีความเหมาะสมเพียงใด? มีคุณภาพอย่างไร? หากคุณภาพของภาพที่ออกมา ไม่ดี ไม่เหมาะสม ก็จะได้สามารถแก้ไขให้เหมาะสม ก่อนที่จะฉีดสารทึบรังสีเข้าร่างกายได้

 

- เพื่อดูว่าบริเวณที่ต้องการตรวจ มีสิ่งใดมาบดบังหรือไม่ หากผู้ป่วยมีการเตรียมตัวก่อนตรวจที่ดี กินยาระบาย สามารถขับถ่ายอุจจาระออกหมด จะทำให้ไม่มีเงาของอุจจาระในลำไส้มาบดบังบริเวณของไต หรือท่อไต เป็นต้น เพราะหากมีเงาดังกล่าว อาจทำให้เป็นอุปสรรคในการวินิจฉัยภาพ

 

เมื่อถ่ายภาพบริเวณไต ระยะเวลา 3 นาทีหลังฉีดสารทึบรังสี จะเห็นว่ามีไตทั้ง 2 ข้าง สามารถขับสารทึบรังสีออกมาได้ แต่ไตขวา มีการขับสารทึบรังสีล่าช้ากว่าไตซ้าย (ไตข้างซ้าย เห็นภาพของสารทึบรังสี ไหลออกทางท่อไตได้ดีกว่า) แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีนิ่วมาปิดหรืออุดตันบางส่วนของไต จะมีผลให้การทำงานของไตบกพร่อง และ/หรือผิดปกติไป

 

2.การถ่ายภาพรังสีเต้านม ผู้ป่วยอายุ 60 ปี มีอาการเจ็บที่เต้านมข้างซ้าย

เมื่อถ่ายภาพรังสีเต้านม ในท่า Mediolateral oblique view (MLO) เห็นก้อนที่บริเวณรักแร้ แพทย์ยังไม่ได้ทำการรักษาใด เพียงแต่ให้เฝ้าระวังและให้คำแนะนำกับผู้ป่วย โดยให้สังเกตว่า ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นต่อไป เช่น มีอาการเจ็บบริเวณก้อนมากขึ้นหรือไม่ ก้อนมีขนาดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดหรือไม่?  หากมีให้มาพบอีกครั้ง   

 

การถ่ายภาพรังสีเต้านม ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกไม่สะดวก มีความอายที่ต้องถอดเสื้อผ้า หรือมีความเจ็บปวดจากการถูกกดทับเต้านมระหว่างการตรวจ ดังนั้นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักรังสีเทคนิค คือ การพยายามถ่ายภาพรังสีด้วยความรวดเร็ว ให้ถูกต้อง รวมถึงช่วยให้คำแนะนำ ให้คำอธิบายการเตรียมตัวในการตรวจ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ช่วยทำให้ผู้รับบริการเกิดความผ่อนคลาย

 

3.การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง ผู้ป่วยชาย อายุ 58 ปี มีประวัติก้อนที่ตับ

ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง ก่อนฉีดสารทึบรังสี (Pre-Contrst)

 

ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง หลังฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือด ประมาณ 30 วินาที แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงช่วงที่เลือดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงตับ (Post Contrst media arterial phase)

 

ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง หลังฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือด ประมาณ 70 วินาที แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงช่วงที่เลือดจากหลอดเลือดดำที่ออกจากตับ (Post Contrst media portovenous phase)

  

จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างในเนื้อตับและก้อนในตับเมื่อสารทึบรังสีเข้าไป จากการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตามช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงในเนื้อตับได้ชัดเจนมากขึ้น ในภาพแสดงก้อนที่สนใจ (ศรสีฟ้า) 

สารทึบรังสีที่อยู่ในหลอดเลือด (Abdiminal Aorta) มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน (ศรสีเขียว) ในช่วง 30 และ 70 วินาทีหลังฉีดสารทึบรังสี เห็นสารทึบรังสีในหลอดเลือดแดงใหญ่ มีสีขาว (ภาพซ้ายมือ) และสีเทา (ภาพขวามือ)

 

 

เมื่อนำภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ลักษณะภาพตัดขวาง (Axial) ที่ได้ มาสร้างภาพ 3 มิติ ในลักษณะที่เรียกว่า MPR (Multi Palnar Reconstrution) ในระนาบ Coronal plane ทำให้สามารถเห็นว่าก้อน(สีดำ) อยู่ในตำแหน่งใดของตับได้ชัดเจนมากขึ้น

 

 

รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ และ ผม ได้ให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเช้าวันนี้

 

 

 

สรุป : การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มา การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงประสบการณ์ หากได้ทำบ่อยๆ ได้ทำร่วมกันเป็นทีม ย่อมเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาตนเองและผู้อื่นได้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 342977เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน คุณเบดูอิน

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ และที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พรุ่งนี้ ก็จะมีนักศึกษาอีก 3 คน ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ครับ

หากสนใจโปรดติดตามได้ ครับ

ขอบคุณความรู้ที่อาจารย์แนะนำ หนูอยากphaseในการตัดพวกCholangiocarcinoma of the liver กับ hemangiocarcinoma

ว่าภาพมันต่างกันอย่างไร แล้วควร delay time หลังจากตัด arterial phase กับ portal venous phase ออกไปเท่าใด

สวัสดีครับ คุณtiti

ช่วงเวลาที่ contrst media เข้า Hepatic artery ประมาณ 25-30 วินาที และ Portal venous ประมาณ 65-70 วินาที หลังฉีด ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท