ปริญญาเอก มจร.
พุทธสาวก นักศักษาปริญญาเอก มหาจุฬาฯ

ประเด็น hermeneutics วันที่ 15 มิถุนายน


ท่านใดทีส่วนใดที่เก็บประเด็นได้เพิ่มเติมเชิญแลกเปลี่ยนครับ

บันทึกการเรียนรู้ร่วมกันอรรถปริวรรตศาสตร์
วันที่ 15 มิถุนายน 2549
จากเวลาการพูดคุยกันก่อนที่จะมีการบรรยายโดยพระอาจารย์พระมหา ดร.หรรษา
ในวงเสวนาได้แลกเปลี่ยนกันจนได้ข้อสรุปว่า  การตีความมีสองกระแสได้แก่
ตีความแบบที่มีมาตฐานแบบวิทยาศาสตร์  กับการตีความโดยยึดมนุษย์เป็นการให้
ความหมาย  ซึ่งทั้งสองส่วนล้วนมีความถูกต้องร่วมกัน  ซึ่งในอรรถปริวรรตศาสตร์
เรียกว่า Hermeneutics Circle

ช่วงการบรรยายของพระอาจารย์
Hermeneutics มีที่มาจาก Hermes เป็นเทพผู้ส่งสารจากพระเจ้า
มาหามนุษย์และจากมนุษย์ไปยังพระเจ้า ในศาสนาคริสต์มองว่า  นักชวชในศาสนา
ล้วนทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร  เทพ Hermes ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพที่มีความ
ในการประดิษฐ์ภาษา อีกเทพหนึ่งได้แก่เทพที่มีบทบาทในการประดิษฐ์รหัสทางภาษา
ราชบัญฑิตไทยให้ความหมายว่า  ชี้หรือกำหนดความหมาย  หใความหมายหรือิธิบาย
ใช้หรือปรับให้เข้าใจเจตนาและความมุ่งหมายเพื่อให้ถูกต้อง  กฎวิเคราะห์ถ้อยคำ

หรือข้อความในบทกฎหมาย  นิติกรรม  สัญญา  หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีปัญหาสงสัย
หรือที่มีความหมายไม่ชัดเจนเพื่อกำหนดความหมายอันแท้จริงของถ้อยคำ  หรือข้อ
ความเช่นั้น  เช่น การตีความ 
อธิบาย=ไขความ  เกาะบริบท  เกาะสิ่งแวดล้อม
ขยายความ=ชี้แจง ให้เหตุผล
อภิปราย=แสดงความเข้าใจของผู้อภิปรายต่อปรากฏการณ์นั้น ๆ

ในทางเทววิทยา  หมายถึงการอธิบายความหมายของเรื่องราวต่าง ๆ ในภัมภีร์
นักบวชในศาสนาคริสต์  ต้องการเรียนวิชา Hermeneutics ก่อน
ในทางปรัชญาสังคม  หมายถึงวิชาที่เกี่ยวกับการสืบค้นและการตีความพฤติกรรม
ของสถานบันต่าง ๆ ว่าเป็นไปโดยมีเจตนา
ในทางอัตถิภาวนิยม  หมายถึง  การค้นคว้าเพื่อหาจุดหมายของการเป็นมนุษย์
นักปรัชญาที่โดดเด่นในสายนี้ได้แก่ Sarte

กรให้นิยามโดย กีรติ บุญเจือ
อรรถ เนื่อหาของภาษาที่ใช้ซึ่งนับว่าเป็นสัญญะ (Sign) อย่างหนึ่งเพราะมีความหมาย
อยู่ในตัวเองคือ   ความหมายตามตัวอักษร
ปริวรรต  การแปรสภาพ
พระอาจารยืไม่เห็นด้วยกับสำนัก Deconstruction ของ Derrida
เช่นกรณีการบวชภิกษุณี  ที่ได้รับการตีความใหม่เป็นแบบ  ราชานํ อนุวัตฺติตุง
ในทัศนะของ Derrida เพราะปริวรรต ไม่สนใจความรู้เดิม
ในทัศนะของกีรติ  เห็นว่าการแปรสภาพเป็นให้ความหมายเพื่อความรู้ร่วมกัน  หรือ
หลัก power with
เช่นเรื่อง  ความยุติธรรม แบบรัฐตีความก็มุ่งไปที่หลัก power over
พระอาจารย์ให้ทัศนะว่า  การตีความตามทัศนะของกรีต  นำไปสู่ปัญหาได้เพราะ
ไม่ใช่หลักสากล  หรือเป็น กลิโก
ดังนั้น  หมายถึง  "การแปรสภาพความหมายตามตัวอักษรมห้มีความหมายตาม
ความต้องการของผู้ใช้ร่วมกัน

วิลเฮล์ม ดิลธาย (Wilhelm Delthey)
คนเราจะอยู่ได้อย่างมีศักดิ์  และเข้าใจสังคมได้อย่างสะดวกใจ  ก็ต้องเข้าใจความรู้สึก
นึกคิดของคนในปัจจุบัน
เขาพยายามมองในระดับของโลกิยะเท่านั้น  ฉะนั้นก่อนตีความต้องตกลงกันก่อนว่า
ตีความในระดับไหน

Josef Bleicher
การเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของ "ผุ้อื่น" "สิ่งอื่น" เราไม่สามารถเข้าสัมผัสได้โดย
ตรง  แต่ต้องอาศัยการแสดงออกภายนอก  ซึ่งอาจจะเป็นเสียง  ท่าทางเครื่องหทมาย
หรือการกระทำ  แล้วจึงตีความ

หน้าที่หลักในการตีความของเฮอร์เมส (Hermes)
แปลพระประสงค์และคำบัญชาของพระเจ้าเป็นภาษามนุษย์
ต้องเข้าใจและแปลความหมายสิ่งที่พระเจ้าพระสงค์จะถ่ายทอดออกไปเสียก่อนที่จะดำ
เนินการแปล  การถ่ายทอด
ต้องอธิบาย  ความมุ่งหมายของพระเจ้าสู่มนุษย์
ต้องเข้าถึงเจตนารมณ์ที่อยู่เบื้องหลังพระบัญชาและคำสั่งของพระเจ้า  เพื่อถ่ายทอด

ตามรากภาษากรีก
แปล (to translate)
ตีความ (to interpret)
แค่แปลไม่เพียงพอจึงต้องตีความ
แกะความหมาย (to decipher)
ไม่เฉพาะแค่ความหมาย แต่ต้องเข้าไปถึงที่มาที่ไปของคำ  หรือให้ความสำคัญไปถึง
ไวยกรณ์ของภาษาแต่ละภาษาที่กำลังตีความ
มีความสำคัญ (to make sense)
ทั้งปรดโยคและตัวบท
ไขความให้ชัดเจน (to clarify)
ต้องจบที่การไขความให้ชัดเจน  หรือหาเหตุผลสาสนับสนุน

เป้าหมายหลักของอรรถปริวรรตศาสตร์
การตีความ (interpretation) ความหมายของคำพูดทั้งหลายทั้งที่เป็น
กริยา  ไม่ใช่กริยา  หรือภาษาเขียน  เพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้

การตีความของพุทธต้องตีความเพื่อไปรับใช้จริยศาสตร์

Paul Ricoeur
อรรถปริวรรตศาสตร์อทฤษฎีแห่งการทำความเข้าใจความสัามพันธ์กับการแปล
ความหมายของคัมภีร์ (text) ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่การทำความเข้าใจ
เนื้อหาคัมภีร์ก่อนแล้วจึงอธิบายรายละเอียดของคัมภีร์ภายหลัง
ประเด็นนี้คือ  ต้องเข้าไปอ่านตัวบทต้นฉบับก่อน  แล้วจึงค่อยตีความ  ไม่ใช่การตีความ
โดยเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง  เช่น กรณีพระภิกษุบางรูปที่พยายามตีความโดยละเลยความ
สำคัญของคัมภีร์อรรถกถาจารย์ เป็นต้น  สรุปว่า  "ต้องรู้ภัมภีร์" ในสาขา
พุทธศาสตร์ต้องเรียนรู้ภาษาบาลี  เพราะเป็นภาษาต้นฉบับของภาษาที่ใช้ในคำสอน
ของพระพุทธศาสนา

ชไลมาเคอร์
1.ศิลปะแห่งการเสนอความคิดของมนุษย์อย่างถูกต้อง
2.ศิลปะแห่งการสื่อสารคำพูดของคนอื่นแก่บุคคลที่สาม
ผู้เชี่ยวชาญในการสื่อคำพูด  เช่นนักพูดทั้งหลาย
3.ศิลปะแห่งความเข้าใจคำพูดของคนอื่นอย่างถูกต้อง
เป็นการประเชื่อมต่อกันระหว่างหนึ่งกับสอง  คือการพูดให้คนเข้าใจในคำสอนอย่าง
ถูกต้อง  และต้องสื่อไปถึงการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องด้วย
แนวความคิดที่จะทำให้เป็นศาสตร์หรือมีกฎเกณฑ์ที่ปฏิบัติได้  คือนัยที่สามนี้เพราะ
เป็นตัวผสมผสานระหว่างนัยที่หนึ่งและที่สอง

อรรถปริวรรตศาสตร์  จะมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการตีความคัมภีร์ไบเบิล
ซึ่งจะมีกฎเกณฑ์  การออกกฎเกณฑ์และวิธีการสำหรับการกำหนด

ตีความเพื่ออะไร
ตีคความคำ  เพื่อให้รู้ว่าเกี่ยวกับอะไร  เรื่องอะไร
ตีความประโยค  เพื่อให้รู้ว่ามีสถานการณ์อะไร  เกิดอะไรขึ้น
ตีความข้อความ  เพื่อให้เข้าใจว่ามีคุณค่าทางไหน  และอย่างไร
ตีความเรื่องเล่า  เพื่อให้เข้าใจความหมายเบื้องหลังของเรื่องเล่านั้น
เช่นเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า  ทำให้ทราบถึงเรื่องความความเป็นมาที่เกี่ยวเนื่อง
กันเป็นสาย  หรือเพื่อการตั้งคำถามว่า "มีความเป็นมาอย่างไร" หรือ "มีที่มา
อย่างไร"
ตีความเพื่อคลายความสงสัย  ให้เกิดความกระจ่างจัดเจนจนอาจจะนำไปสู่ความเสียหาย
หรือเพื่อล้างนิวรณ์ออกไป  หรือเป็นการสืบสาวหาเหตุ  นำไปสู่ความเชื่อมโยงตลอดสาย
แล้วจึงค่อยตีความ
เพื่อสนองความอยากรู้ความหมายของมนุษย์

แมร์โลปงตี
คนถูกสาบให้อยากรู้ความหมาย  เพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่อยากรู้อยาเห็น
เซน ใช้ลักษณะการตีความแบบนี้  แต่เซนมุ่งไปที่สัจจะ (truth)

ตีความอะไร
หน่วยเสียง (Phoneme)
หน่วยคำ (Morpheme)
ประโยค (sentence)
คำ (word)
นำไปสู่การเลือกคำที่กินความหมายครอบคลุมกว่า
ข้อความ (message)
ตัวบท (text)
ภาษาบท (discourse)
ประเด็น (topic)
เรื่องเล่า (narrative)

ความจำเป็นในการตีความตามทัศนะพระอาจารย์
ใคร
ทำอะไร
ที่ไหน
เมื่อไร
อย่างไร
เพื่ออะไร
เพราะการตีความต้องมีคำถามในใจเพื่อเป็นตัวกำหนดแนวทางในการเดิน
และคำถามสุดท้ายที่ว่า "เพื่ออะไร" เพื่อให้การตีความมีเป้าหมาย
นักปรัชญาฝรั่งเน้นเรื่อง "อย่างไร" เพื่อเข้าถึงเป้าหมายในเชิงความหมาย

พัฒนาการของรูปแบบและวิธีการตีความ
กลุ่มโซฟิสท์  ความหมายไม่ได้หมายถึง "ความจริง" แต่เป็นสิ่งให้อำนาจทาง
การเมืองและการให้เงิน
กลุ่มนี้จะอาศัยเทคนิคการสื่อความให้ถูกใจ  ผู้ฟังที่มีสิทธิ์ออกเสียงสนับสนุน

แต่โซเครติสเห็นต่างจากกลุ่มแรก  เพราะโวเครติสเน้นไปที่จริยศาสตร์เป็นสำคัญ
สังคามจะอยู่ได้ต้องมีความจริง  ความยุติธรรม  และความถูกต้องเป็นพื้นฐาน
ภาษาสื่อความหมาย  และความหมายต้องสามารถสื่อความจริง (สัมมา)

Richard Palmer
แบ่งพัฒนาการของอรรพปริวรรตศาสตร์ออกเป็นหกกลุ่ม
หนึ่ง  กลุ่มการตีความเริ่มแตกที่เกี่ยวโยงกับวิธีการที่เหมาะสมกับการตีความคัมภีร์
ซึ่งพัฒนามาตรฐานที่ปฏิบัติได้  และลงรอยกันที่จะทำให้ผู้ศึกษาคัมภีร์  สามารถ
ได้รับรู้และเข้าใจความหมายในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์

สอง กลุ่มสปิโนซ่า  หรือกลุ่มนักปราชญ์ทางคัมภีร์ไบเบิลที่เผชิญกับคำถามทางปรัชญา
ต่อการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล  จึงเสนอวิธีการตีความเพื่อรักษาคัมภีร์ไว้  ในฐานะเป็น
วรรณกรรมศักดิ์และเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา  และอธิบายคัมภีร์อื่น ๆ

สาม กลุ่มของชไลมาเคอร์  เสนอให้การตีความเป็นศาสตร์หรือศิลปะแห่งความเข้าใจ
ซึ่งมีการกำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ กลุ่มนี้เห็นว่า
การตีความต้องมีมาตรฐาน  เครื่องมือในการตีความต้องมีมาตรฐานด้วย  เพื่อความ
เชื่อมั่นในการตีความ  จากความเห็นนี้นำไปสู่วิธีการทางวิทยาศาสตร์

สี่  กลุ่มของ ดิลธาย  การตีความตามที่เข้าใจสามัญสามารถเป็นรากฐานของทางเทคนิค
ในการเข้าใจวิธีทางมนุษย์ศาสตร์ทั้งหมดได้  จึงค้นหาหลักการ  โครงสร้างเบื้องต้น
ที่จะใช้มาตรฐานสำหรับความเข้าใจของมนุษย์  จากความเข้าใจสามัญสุ่มนุษย์ศาสตร์
ทั้หมด  เรียกว่า "จากสามัญสุ่สากลป

ห้า ไอเดกเกอร์  และกาดาเมอร์  ความเข้าใจและการแปลความหมายเป็นวิธีการพื้นฐาน
ของความมีอยู่

หก พอล ริเกอร์ เสนอการตีความให้มีกฎเกณฑ์  เพื่ออธิบายความคัมภีร์ว่า  อรรถ
ปริวรรตศาสตร์หมายถึง ทฤษฎีที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งควบคุมการอธิบายความ  กล่าวคือ
เพื่อให้เข้าใสจถึงสิ่งที่เป็นอยู่จริง

มีส่วนใดที่ตกหล่น  เชิญสมาชิกช่วยกันต่อยอดได้เลยครับ
สวัสดิ์  พุ้มพวง

หมายเลขบันทึก: 34258เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท