การสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ


นับเวลาปีกว่าๆที่ผู้เขียนได้สมัครมาทำงานในหอผู้ป่วยหนัก เป็นเรื่องที่ท้าทายและยากไม่น้อยสำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานในหอผู้ป่วยมานานเกือบยี่สิบปี พยาธิสภาพของโรคต่างๆเริ่มไม่หลงเหลือในความทรงจำเพราะไม่ได้นำมาใช้เสียนาน โดยเฉพาะโรคทางด้านอายุรกรรม

 

การทำงานในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลผู้เขียน เป็นหอผู้ป่วยหนักรวม ไม่ได้เน้นว่าเฉพาะด้านทางด้านใดด้านหนึ่ง ผู้เขียนจึงต้องเรียนรู้โรคทางด้านอายุรกรรมให้มากขึ้น โดยเฉพาะโรคที่ทำให้อัตราการตายสูง อย่างเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

ก่อนหน้านั้นเคยมีอาจารย์ อายุรแพทย์จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาบรรยายและอยากให้มีการสร้างเครือข่ายเกิดขึ้น เพื่อผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือในเวลาอันรวดเร็วหรือการช่วยเหลือที่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยมากขึ้น   หลังจากนั้นมา เราก็สามารถให้การดูแลผู้ป่วยและให้การช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม  ด้วยความที่สามารถติดต่ออาจารย์ได้โดยตรง และมีการเตรียมเตียงไว้รอหากต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

มีข่าวดีมาถึงพวกเราที่อยู่ห่างไกลอีกรอบ เมื่อ สปสช.เขต8 ให้การสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยมีโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีเป็นแม่ข่าย รับการส่งต่อ ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมในเรื่องของการผ่าตัด

 

เมื่อวานนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย อันได้แก่ จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดหนองคาย จึงถูกเชิญให้ไปร่วมการจัดทำแนวทางปฏิบัติ ในการดูแลผู้ป่วยก่อนที่จะส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

 

จากการร่วมเสวนาและระดมสมอง ผู้เขียน พบว่า ปัญหาที่คล้ายๆของโรงพยาบาลอำเภอก็คือ เรื่องของรถส่งต่อผู้ป่วย และอุปกรณ์ที่ครบตามมาตรฐาน อันได้แก่ เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องให้สารน้ำ เครื่อง monitor คลื่นไฟฟ้า หัวใจ แม้รายคนจะเสนอให้ หยิบยืมจากโรงพยาบาลเพื่อนบ้าน แต่หลายโรงพยาบาลก็อยู่ห่างไกลกัน

 

อีกปัญหาหนึ่งที่พบคือในเรื่องการให้ยาละลายลิ่มเลือดที่คุณหมอบางท่านอาจจะยังไม่กล้าใช้ แต่...ทางโรงพยาบาลแม่ข่ายอยากให้ผู้ป่วยได้รับก่อนมาถึงโรงพยาบาลแม่ข่ายไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง

 

ในเรื่องความไม่พร้อม โรงพยาบาลได้รับคำปลอบใจว่า อุปกรณ์เครื่องมือราคาไม่แพง อีกไม่นานงบประมาณสนับสนุนก็จะมาถึง    แต่...ในความคิดที่พวกเราชาวโรงพยาบาลอำเภอคิดกันได้ซึ่งไม่แตกต่างกัน คือเรื่องต้องพึ่งพาหลวงพ่อ(วัด)ที่ให้การสนับสนุนพวกเราอย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา งานนี้ หลวงพ่อคงต้องเหนื่อยในการสนับสนุนอีกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของชาวบ้าน.........สาธุ

หมายเลขบันทึก: 342361เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2010 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เห็นใจคนทำงานทางด้านนี้ ต้องมีใจรักจริง ๆ

ที่จริงภาครัฐน่าจะเอาเงินมาช่วยตรงจุดนี้เยอะ ๆ

สวัสดีค่ะป้ามณีแดง

ศูนย์ที่ทำงานใหม่ ป้ามณี น่าสนใจจังเลยนะคะ

พัฒนาความคิดและจิตใจ ขอเป็นกำลังใจค่ะ

พี่แดงขา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว 90 เตียงก็ไม่ค่อยพร้อมค่ะ แต่เราเป็นลูกข่ายของ มหาราชนครเชียงใหม่ และได้เข้าร่วมเครือข่ายของ สปสช ตอนนี้ปัวพัฒนาได้มากแล้วค่ะพี่แดง ไก่เองเป็น disease manager ตอนแรกลำบากมากค่ะ แต่ตอนนี้ได้พัฒนาขึ้นมากแล้วค่ะ สิ่งยากต้องมีการเริ่มต้น สู้ๆนะคะ

รพ.หนองคายไปร่วมด้วยไหมคะป้าแดง

เห็นมีน้องแล็ค ไอ ซี ยู รับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย

  • สวัสดีค่ะ น้องน้ำผึ้ง
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • สวัสดีค่ะ น้องpoo ที่รัก
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจ
  • มาทำงานที่ศูนย์ป้าแดงก็ได้นะคะ ยินดีมาก อิอิอิ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ น้องไก่
  • พี่แดงว่า ปัวนำหน้า ท่าบ่อไปเยอะเหมือนกันค่ะ
  • อย่าง disease manager เนี่ย สนใจมากเลย แต่ไม่รู้ทำอย่างไร
  • ยังไง ก็ช่วยแนะนำแลกเปลี่ยนด้วยนะคะ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • สวัสดีค่ะ พี่นาง
  • รพ.หนองคายไปกัน 3 คนมังคะ แต่ไม่เจอแลคค่ะ
  • ต่อไปจากส่งต่อผู้ป่วยของเราคงจะสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ผู้ป่วยก็ได้รับความปลดภัยมากขึ้นค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ส่งกำลังใจมาให้ค่ะ ได้ทำงานแบบทำบุญไปด้วย เหนื่อยไหม คนสวย ขอชื่นชมค่ะ

สวัสดีค่ะ  มาทักทาย และขอบคุณที่ไปเยี่ยมน่ะค่ะ..สบายดีน่ะค่ะ..คุณป้าแดง..

 

  • ทำงานหนักๆ..อย่าลืมพักผ่อนบ้างนะคะ
  • รักษาสุขภาพค่ะ *^__^*

ผมสนใจอยากไปกราบหลวงพ่อ...อยากให้แนะนำด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท