พัฒนางานกิจกรรมบำบัดสู่ชุมชน “ตามแนวพระราชดำริ”


ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
 

ผมได้อ่านงานวิจัยเรื่อง Occupational therapy in mental health: Challenges and opportunities ของ Lloyd, C., Kanowski, H., & Maas, F. Occupational Therapy International 1999; 6(2): 110-25. แล้วก็พบว่าการปฏิรูปแผนและนโยบายการจัดบริการด้านสุขภาพจิต (Restructuring mental health services) ณ Queenlands, Australia เน้นสร้าง “ความพอเพียงระดับภาคหรือชุมชน (regional self-suffciency)”

 

นั่นคือการระดมความคิดของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต วิเคราะห์กลวิธีการจัดการให้บริการชุมชนแบบครบวงจร เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตภายในแต่ละชุมชนให้มากที่สุด โดยเน้นเป้าหมายลดจำนวนผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมภายในชุมชน จนถึงลดงบประมาณค่าใช้จ่ายดูแลผู้ป่วยจิตเวชในระดับประเทศ

 

ตัวอย่างเช่น วิชาชีพนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต (Mental health occupational therapist) พัฒนาระบบการให้บริการด้านสุขภาพจิตของชุมชน โดยเริ่มเข้าไปศึกษาความต้องการของประชากรในชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต (Need assessment in community) จากนั้นคัดกรองประชากรที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม แล้วให้การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพจนสามารถดำรงชีวิตภายในชุมชนได้อย่างมีความสุขด้วยระยะเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ให้ความรู้แก่บุคคลทุกเพศทุกวัยในชุมชน ให้รู้จักการรักษาสุขภาพจิตที่ดีของตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เช่น การฝึกทักษะสังคมที่ช่วยให้มีกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีความสุข (Well-being of occupation and social living skills) หรือการบริการให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต (Mental health counselling services) ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง (อาทิ เช่น เด็กวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติด ผู้ที่กำลังตกงาน ผู้สูงอายุที่ขาดญาติพี่น้องดูแล)

 

จะเห็นว่าหลักการข้างต้นมีรูปแบบที่น่าสนใจในการประยุกต์ใช้ในระบบสาธารณสุขของไทย การพัฒนางานกิจกรรมบำบัดสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความพอเพียงของนักกิจกรรมบำบัดและการให้บริการที่ครบวงจร ความมีสุขภาพจิตที่ดีในชุมชนก็เกิดขึ้นได้โดยง่าย

ทำให้ย้อนนึกถึงความคิดของตนเองที่จะกระทำความดีเพื่อสังคมไทย หลังจากที่ได้รับทุนรัฐบาลไทยมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก เน้นด้านการรักษาผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม

 

การดำเนินตามแนวพระราชดำริ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)" เน้นการรู้จักประมาณตนเอง และดำเนินชีวิตตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ร่วมทั้งนำเสนอหลักการดังกล่าวในขั้นตอนการให้บริการด้านสุขภาพจิตอย่างพอเพียงของชุมชน

 

บทความที่ได้เรียบเรียงขึ้นนี้ ผมตั้งใจที่จะถ่ายทอดเพื่อถวายความจงรักภักดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ มิถุนายน ที่ผ่านมา 

    
หมายเลขบันทึก: 34200เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณอาจารย์ป๊อบมากครับ ผมบังเอิญมากที่ได้มาอ่านบทความนี้พอดี ตอนนี้ผมอยากทำงานในด้านการขยายบริการในชุมชน และการจัดการหน่วยกิจกรรมบำบัดในชุมชน ซึ่งตอนนี้ผมกำลังคิดไอเดียไปนำเสนอ ผอ.โรงพยาบาลในชุมชน อยู่ครับ ซึ่งได้อ่านบทความนี้แล้วก็มีไอเดียเพิ่มขึ้นมาในด้านผู้ป่วยจิตสังคม โดยตอนนี้ผมกำลังลงเน้นไปที่เรื่องผู้สูงอายุและผู้มีความบกพร่องทางกายครับ ถ้าผมมีปัญหาอะไร ขอฝากเนื้อฝากตัวให้อาจารย์เป็นที่ปรึกษาอีกคนหนึ่งของผมด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ยินดีเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้คุณกรกฎได้พัฒนางานกิจกรรมบำบัดในชุมชน ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยทักษะชีวิตตลอดทุกช่วงวัยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท