การอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา


สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement) นั้นก็คือสัญญาที่ผู้ให้สิทธิได้ให้สิทธิเฉพาะอย่าง ได้แก่ สิทธิในการทำ สิทธิในการใช้ และหรือสิทธิในการขายภายใต้ขอบเขตอันจำกัดแก่ผู้รับสิทธิ และผู้รับสิทธิได้ให้ค่าสิทธิ (Royalty Fee) หรือผลตอบแทนอย่างอื่นแก่ผู้ให้สิทธิ ซึ่งสัญญาการให้สิทธิที่มีมากที่สุด คือสิทธิบัตร (Patent) เครื่องหมายทางการค้า (Trademark) และความรู้เฉพาะอย่าง (Know-how)

ขอนำผลงานประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายทางทรัพย์สินทางปัญญาที่เคยค้นคว้ามาเผยแพร่ค่ะ

 

        การอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญามีสามประเภท ได้แก่

1. การอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี (technology licenses) ซึ่งจะครอบคลุมถึงการให้สิทธิบัตร  สิ่งประดิษฐ์ ความลับทางการค้า  และ know-how) ข้อมูลความลับ ลิขสิทธิ์ในวัสดุอุปกรณ์ (software, databases, instruction manuals)

 

2. การอนุญาตให้พิมพ์เผยแพร่และให้ความบันเทิง (publishing and    entertainment licenses ซึ่งจะครอบคลุมลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สร้างสรรค์ ได้แก่ หนังสือ ภาพยนตร์ วิดีโอเทป การผลิตโทรทัศน์ ดนตรี และมัลติมีเดีย

 

3. การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและจัดจำหน่าย (trademark and merchandising licenses) ซึ่งจะครอบคลุมเครื่องหมายทางการค้า ชื่อทางการค้า รูปแบบทางการค้า (วิธีที่สินค้าหรือบริการถูกจัดเก็บหรือนำเสนอ) และสิทธิของการนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน

 

 เหตุผลที่ว่าบริษัทต่าง  ๆ อาจจะเลือกที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญามีอยู่ 9 ประการดังต่อไปนี้[1]

 

1. การอนุญาตให้ใช้สิทธิจะเพิ่มทรัพยากรให้แก่ผู้อนุญาต โดยการอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิที่จะทำตลาดและจัดจำหน่ายในผลิตภัณฑ์ของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยผู้อนุญาตเองก็สามารถที่เจาะตลาดที่ตนไม่สามารถจะเข้าไปให้บริการด้านนั้น ๆ ได้โดยตรง เช่น Microsoft อนุญาตให้ IBM  ได้ใช้สิทธิ disk operating system software ("MS-DOS") ซึ่ง Microsoft ได้รับประโยชน์จากระบบจัดจำหน่ายและระบบการตลาดในระดับโลกของ  IBM ไปด้วย

 

2.  การอนุญาตให้ใช้สิทธิทำให้เกิดการสร้างตลาดทางภูมิศาสตร์ (geographic markets) อย่างกว้างขวาง โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเข้าถึงต่างประเทศได้เหมาะสมกับพื้นที่แต่ละแห่งและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น ฉลากและคำแนะนำการใช้จะต้องถูกแปลเป็นภาษาท้องถิ่น สินค้าอาจจะได้รับการดัดแปลงที่จะเป็นไปตามกฎเกณฑ์และกฎหมายท้องถิ่น และการทำตลาดอาจจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น การอนุญาตให้ใช้สิทธิแก่หน่วยธุรกิจต่างประเทศจะทำให้เกิดการคุ้นเคยกับตลาดต่างประเทศนั้น ๆ และช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีอยู่เดิมก็จะช่วยอำนายความสะดวกในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญานั้นได้อย่างรวดเร็ว

 

3. การอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วยทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์อย่างกว้างขวางขึ้น กล่าวคือบริษัททั่วไปอาจจะแสวงหาประโยชน์ได้จากผลิตภัณฑ์ชิ้นเดียวนั้นเอง แต่ในกรณีการได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ๆ ได้ เช่น ผู้ผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแต่มีทรัพยากรที่จะเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนและจัดจำหน่ายวิดีโอเทป แต่ยังมีสิทธิอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตน ได้แก่ ให้ทำซ้ำ และจัดจำหน่ายเทปของตนได้  

 

4. หากบริษัทมีต้นทุนหรือบุคลากรไม่เพียงพอที่จะเข้าสู่ตลาดต่างประเทศได้เร็ว ก็จะมอบหมายให้บริษัทท้องถิ่นดำเนินการทำตลาดให้ผ่านการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทไบโอเทคโนโลยีเล็ก ๆให้อนุญาตใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาแก่บริษัทยายักษ์ใหญ่ทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนจำนวนมากแล้วยังได้ประโยชน์จากการตีตลาดคู่แข่ง

 

5. ผลิตภัณฑ์บางอย่างขายดีที่สุด เมื่อผนวกเข้ากับหรือขายเพื่อได้ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ยกตัวอย่างเช่น ซอฟแวร์ถูกจัดจำหน่ายร่วมกับฮาร์ดแวร์จะดีที่สุดแทนที่จะเป็นเพียงแพ็คเก็จให้เลือก (optional package)  MS-DOS  ของ Microsoft กลายเป็นระบบปฏิบัติการมาตรฐานทางอุตสาหกรรม (industry standard operating system) เช่นเดียวกับที่  IBM-PC กลายเป็นไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานทางอุตสาหกรรม (industry standard microcomputer) บริษัทซอฟแวร์คู่สัญญาภายนอกหลายแห่งจะต้องเผยแพร่ MS-DOS จนมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด

 

6. บริษัทอาจจะอนุญาตให้ใช้สิทธิแก่ตามข้อเรียกร้องของบริษัทที่ตนไม่ได้ประสงค์จะเข้าไปแข่งขัน  ดังนั้น การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามวัตถุประสงค์นี้ ผู้อนุญาตให้สิทธิไม่ได้มีความสนใจในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาแสวงหาประโยชน์จากตลาดที่ไม่ใช่คู่แข่งขันโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น ผู้พัฒนาซอฟแวร์คอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอาจจะให้อนุญาตใช้สิทธิแก่ผู้พัฒนาซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ถ้าตลาดทั้งสองฝ่ายมีความใกล้ชิดกันมาก ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิก็จะได้เข้าสู่การแข่งขันในตลาดที่ตนอาจจะไม่ได้ปรารถนามาก่อน 

 

7. การอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นหนทางหนึ่งสำหรับบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีกัน โดยบริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิอาจจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ให้บริษัทผู้ได้รับอนุญาตลงทุนพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญานั้นต่อเนื่อง แล้วก็อนุญาตให้ผู้อนุญาตได้รับสิทธิ(granted back to the licensor)  ในทรัพย์สินทางปัญญาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นั้นต่อไปอีก กุศโลบายในการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีในรูปแบบนี้ก็เรียกว่า  “cross-licensing” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบริษัทสองฝ่ายมีจุดแข็งในการวิจัยและพัฒนาในด้านที่ตนเชี่ยวชาญแตกต่างกันก็จะสามารถได้ผลประโยชน์จากการพัฒนาของอีกฝ่าย และยังเป็นการสร้างพลังแห่งการทำงานร่วมกันเช่นเดียวกับกิจการร่วมค้า (joint venture) โดยทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินงานร่วมกัน

 

8. เมื่อเครื่องหมายทางการค้าของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิในการใช้เข้าสู่ตลาดพร้อมกับทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับอนุญาต ผู้ได้รับอนุญาตก็จะมีทุ่มเททำการตลาด ซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์ในด้านชื่อเสียงและกู๊ดวิลล์ให้แก่ผู้อนุญาต (ตราบเท่าที่ผู้ได้รับอนุญาตจะยังคงบำรุงรักษาคุณภาพในสินค้า บริการและการขาย) ยกตัวอย่างเช่น AT&T เข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ก็จะได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชนจากการอนุญาตให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้รับสิทธิในระบบปฏิบัติการ UNIX

 

9. การอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจจะอนุญาตให้บริษัทผู้ได้รับอนุญาตมีระดับของการเข้ามาควบคุมเหนือนวตกรรมและกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมในการผลิต ยกตัวอย่างเช่น ถ้า Microsoft ไม่อนุญาตให้ IBM ได้รับอนุญาตใช้สิทธิใน MS-DOS แล้วมีสิทธิบางประการที่จะเข้ามาควบคุมกำกับทิศทางทางอุตสาหกรรม IBM ก็อาจจะพัฒนาระบบปฏิบัติการขึ้นใหม่เป็นของตนเอง ซึ่งอาจจะแตกต่างจาก  MS-DOS แล้วกำจัด  MS-DOS ออกจากตลาดระบบปฏิบัติการ

     

ส่วนคำว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement)  นั้นก็คือสัญญาที่ผู้ให้สิทธิได้ให้สิทธิเฉพาะอย่าง ได้แก่ สิทธิในการทำ สิทธิในการใช้ และหรือสิทธิในการขายภายใต้ขอบเขตอันจำกัดแก่ผู้รับสิทธิ และผู้รับสิทธิได้ให้ค่าสิทธิ (Royalty Fee) หรือผลตอบแทนอย่างอื่นแก่ผู้ให้สิทธิ ซึ่งสัญญาการให้สิทธิที่มีมากที่สุด คือสิทธิบัตร (Patent)  เครื่องหมายทางการค้า (Trademark) และความรู้เฉพาะอย่าง (Know-how)


[1]Nicolas S. Gikkas, International  Licensing of Intellectual  Property: The Promise and  the  Peril, Journal of Technology Law & Policy Spring, 1996, p.2.

 

               หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาประเด็นนี้ค่ะ

      

หมายเลขบันทึก: 340715เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2010 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะอ. ศิลา

มุมพักผ่อนที่บ้านหรือเปล่าคะ

น่าอยู่มากค่ะ...

สักวันคงมีโอกาสได้ไปเยี่ยมนะคะ

คิดถึงเสมอค่ะ...^_^

พาเจ้าเหมียวน้อยมาเยี่ยมค่ะ...กลางทุ่งนาหลังเก็บเกี่ยว

ทรัพย์สินทางปัญญา กับ วันมาฆบูชา ... ???

ขอบคุณนะคะความรู้ที่แบ่งปันให้

สวัสดีค่ะ แวะมาอ่านความรู้ เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาค่ะ..สุขสันต์วันพระใหญ่น่ะค่ะ

  • สถานที่ที่นำเสนอในบันทึกนี้เป็นพนาศรมที่เคยไปอบรมให้กับคณะ ICT มหิดลค่ะ ยังประทับใจอยู่เลยค่ะ คุณสีตะวัน P สบายดีนะคะ ช่วงนี้กำลังลุ้นสิ่งดี ๆ อยู่ค่ะ งานก็หนักเอาการทีเดียว  ยังคงสดใสร่าเริงเหมือนเดิมนะคะ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา"
  • ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

  • เรียนท่านอาจารย์นพลักษณ์ 10 P นำเสนอบันทึกไม่เข้ากับบรรยากาศวันประเพณีถือว่าเป็นความผิดลหุโทษแล้วก้นนะคะ ตักเตือนแล้วปล่อยตัวก็น่าจะโอเคค่ะ อย่าถึงกับปรับหรือจำกันเลยนะคะ

ผมได้รับตัวอย่างหนังสือสัญญาการจ่ายค่าตอบแทนฯ จากทางสำนักพิมพ์ มีเงื่อนไขข้อหนึ่งเขียนว่า "นักเขียนได้ให้สิทธิ์ในการจัดพิมพ์เพื่อจัดจำหน่ายหนังสือ(ชื่อหนังสือ)แก่(ชื่อสนพ.)แต่เพียงผู้เดียว เป็นเวลา 5 ปี นับแต่.......ถึง........ หากนักเขียนประสงค์จะนำเนื้อหาข้อความส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของหนังสือ ไปใช้ประโยชน์อื่นใดในเชิงพาณิชย์ในช่วงเวลาดังกล่าว จะต้องทำหนังสือแจงเป็นลายลักษณ์อักษรและจะต้องได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทฯก่อน"

ผมอยากทราบว่า ผมจะสามารถอนุญาตให้สำนักพิมพ์ในต่างประเทศแปล นำไปจัดพิมพ์ และวางจำหน่ายในต่างประเทศได้หรือไม่ครับ ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท