โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง


โปรแกรมนี้เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพยาบาล นักกายภาพบำบัด และบุคลาการทีมสุขภาพ ของ รพ. คลองหลวง และเครือข่ายศูนย์สุขภาพเพื่อผู้ป่วยโรค COPD จ. ปทุมธานี...ขอขอบพระคุณท่านผอ. ทีมแพทย์และทีมผู้จัดโครงการนี้ทุกท่านที่ให้โอกาสผมได้ถอดบนเรียน

การจัดการสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD

หมายเหตุ: เนื้อหาและลำดับของเนื้อหาสามารถปรับเปลี่ยนในแต่ละสัปดาห์ตามความต้องการของผู้ป่วยและผู้บำบัด ซึ่งต้องมีการประเมินผลของโปรแกรม (ลองฝึกทำโปรแกรมนำร่อง) ในกลุ่มผู้ป่วย 3-5 คน ในระยะเวลาที่โรงพยาบาลจะดำเนินการได้ในช่วง 3-6 สัปดาห์ๆ ละ 1-2 ครั้งๆ ละไม่เกิน 60 นาที

สัปดาห์ที่ 1

  • ประเมินความรู้ของผู้ป่วย  
  • เน้นการประเมินความมั่นใจของผู้ป่วย  
  • ให้ความรู้โรคและภาวะแทรกซ้อน  
  • รู้จักโรคและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข 
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วย วัดสัญญาณชีพรวมทั้งการฟื้นคืนสัญญาณชีพทุกๆ 1 นาที เป็นเวลา 5 นาที และสอบถามความเหนื่อย/การใช้พลังงาน/ความมั่นใจ จาก 0 (ไม่มี) 1 (น้อยที่สุด) ถึง 10 (มากที่สุด)
  • สรุปผลการเรียนรู้และนัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป

สัปดาห์ที่ 2

  • เน้นให้ผู้ป่วยวางแผนและแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้ให้บริการ   
  • แนะนำเรื่องยาและฝึกปฏิบัติการใช้ยา
  • การออกกำลังกายที่เหมาะสม 
  • การปฏิบัติตนเองที่บ้านได้อย่างไร  
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วย วัดสัญญาณชีพรวมทั้งการฟื้นคืนสัญญาณชีพทุกๆ 1 นาที เป็นเวลา 5 นาที และสอบถามความเหนื่อย/การใช้พลังงาน/ความมั่นใจ จาก 0 (ไม่มี) 1 (น้อยที่สุด) ถึง 10 (มากที่สุด)
  • สรุปผลการเรียนรู้และนัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป

สัปดาห์ที่ 3

  • เพิ่มสัมพันธภาพที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยใน 4 สัปดาห์
  • ความรู้เรื่องโรค COPD ที่ร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นๆ (เช่น Stroke, DM, Hypertension) แก่ผู้ป่วยและญาติ เช่น เกิดจากอะไร การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ทำให้เกิดโรค เกิดเส้นเลือดสมองตีบหลังจากสูบบุหรี่อย่างไร
  • การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและญาติในเรื่อง การฝึกหายใจที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
  • สอนการหายใจด้วยกะบังลมแทนการหายใจด้วยร่างกายส่วนบน (ปรึกษานักกายภาพบำบัด)
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วย วัดสัญญาณชีพรวมทั้งการฟื้นคืนสัญญาณชีพทุกๆ 1 นาที เป็นเวลา 5 นาที และสอบถามความเหนื่อย/การใช้พลังงาน/ความมั่นใจ จาก 0 (ไม่มี) 1 (น้อยที่สุด) ถึง 10 (มากที่สุด)
  • สรุปผลการเรียนรู้และนัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป

สัปดาห์ที่ 4

  • การฝึกนั่ง นอน เดิน พร้อมกับการเพิ่มสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วย ญาติ และผู้ให้บริการ (ช่วยเหลือเพียง 30%)
  • กิจกรรมการดูแลตนเองที่ต้องฝึกพร้อมผู้ช่วย เช่น การอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ การทำกิจกรรมนอกที่พักอาศัย
  • ติดตามประเมินผลความรู้ที่ได้รับของผู้ป่วย
  • ผู้ให้บริการประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วย และทบทวนเป้าหมายที่ตรงกัน
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วย วัดสัญญาณชีพรวมทั้งการฟื้นคืนสัญญาณชีพทุกๆ 1 นาที เป็นเวลา 5 นาที และสอบถามความเหนื่อย/การใช้พลังงาน/ความมั่นใจ จาก 0 (ไม่มี) 1 (น้อยที่สุด) ถึง 10 (มากที่สุด)
  • สรุปผลการเรียนรู้และนัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป

สัปดาห์ที่ 5

  • แนะนำสาเหตุที่เกิดโรค พฤติกรรมเสี่ยง สิ่งแวดล้อมที่ก่อโรค โทษของการสูบบุหรี่
  • สอบถามการจัดการเวลาด้วยตนเองของผู้ป่วยในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  • สอบถามองค์ความรู้โรคของผู้ป่วย ความรู้ใดที่ผู้ป่วยต้องการ
  • ตารางเวลาในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร ผู้ป่วยกำหนดมาให้ผู้บำบัดดู และทดลองทำกิจกรรมที่บันทึกไว้ ถ้าทำได้ ให้กำลังใจและติดตามผลให้ทำกิจกรรมนั้นได้ใน 3 วัน หากมีอุปสรรคก็ช่วยกันจัดการอุปสรรค
  • แนะนำการออกกำลังกายและการผ่อนคลายที่ถูกต้อง การทำท่าทางในกิจวัตรประจำวัน (การดูแลตนเอง การทำงานบ้าน การทำงาน การเล่นกีฬา) การฝึกการหายใจเข้าทางจมูกสู่ท้องพอง-ค้างลมหายใจ 5-10 วินาที-เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆช้าๆ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วย วัดสัญญาณชีพรวมทั้งการฟื้นคืนสัญญาณชีพทุกๆ 1 นาที เป็นเวลา 5 นาที และสอบถามความเหนื่อย/การใช้พลังงาน/ความมั่นใจ จาก 0 (ไม่มี) 1 (น้อยที่สุด) ถึง 10 (มากที่สุด)
  • สรุปผลการเรียนรู้และนัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป


สัปดาห์ที่ 6

  • สำรวจปัญหาและทำแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง
  • เหตุของความเครียดที่ทำให้สูบบุหรี่
  • ฝึกการหายใจ การทำสมาธิ และมีคู่มือแนะนำ
  • ฝึกการปฏิบัติตัวมิให้โรคมีมากขึ้น
  • ส่งเสริมกิจกรรมบำบัดในชีวิต
  • ผู้ป่วยว่างงาน และแนะนำให้ผู้ป่วยวางแผนด้านอาชีพ
  • เครียดเรื่องครอบครัว ให้ความรู้กับครอบครัวของผู้ป่วย เยี่ยมบ้านและประเมิน
  • ประเมินความสามารถจัดการตนเอง เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ป่วยอื่นๆ

ข้อคิดที่ได้รับร่วมกัน: หากผู้บำบัดไม่ลองคิดลองกระทำ...ผู้บำบัดจัดการสุขภาพตนเองไม่ได้...ก็ถือว่าการพัฒนาผู้รับการบำบัดให้ดูแลตนเองก็ล้มเหลว

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: พยาบาล นักกายภาพบำบัด และบุคลาการทีมสุขภาพ ของ รพ. คลองหลวง และเครือข่ายศูนย์สุขภาพเพื่อผู้ป่วยโรค COPD จ. ปทุมธานี

ถอดบทเรียนโดย: อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553

หมายเลขบันทึก: 339963เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท