ร่างความคิด UKM


เน้นคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ของมหาวิทยาลัย
ร่างความคิด UKM
           บันทึกต่อไปนี้คือจุดเริ่มต้นแรกสุดของการก่อตัว UKM    เอามาลงไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

 (ร่าง)

แนวความคิด   เครือข่ายจัดการความรู้เพื่อคุณภาพมหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์
1.        เพื่อสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ ของมหาวิทยาลัย ผ่านการดำเนินการจัดการความรู้
2.        สร้างชุมชนนักปฏิบัติพัฒนาระบบคุณภาพของมหาวิทยาลัย
3.        เพื่อสร้างทักษะในการดำเนินการจัดการความรู้อย่างรวดเร็ว   โดยใช้ ธารปัญญา  BMK และ CoP เป็นเครื่องมือในชั้นแรก   และขยายสู่เครื่องมืออื่น ๆ ในภายหลัง
4.        เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา  เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย
5.        เพื่อขยายการดำเนินการจัดการความรู้จากหน่วยงานนำร่องไปทั่วทั้งองค์กร
6.        เพื่อขยายเครือข่ายจากสมาชิกก่อตั้ง   ไปครอบคลุมสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด

สมาชิกก่อตั้ง
               1.   มหาวิทยาลัยมหิดล   (รศ. นพ. อภิชาติ  ศิวยาธร  -  ประธานคณะกรรมการดำเนิน   การพัฒนาระบบคุณภาพ    มหาวิทยาลัยมหิดล [email protected])
2.   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบบริหาร และ รศ. นพ. วรัญ ตันชัยสวัสดิ์  รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร [email protected])
              3.   มหาวิทยาลัยนเรศวร  ( ผศ. ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่าย ---   [email protected])
              4.   สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา   สกอ.  (ผอ. วราภรณ์ สีหนาท)
              5.   สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม  (สคส.) (คุณธวัช หมัดเต๊ะ  และ ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช)

เครื่องมือหลักของการจัดการความรู้ที่นำมาใช้
              ธารปัญญา
                Peer Assist, AAR (After Action Review), Retrospect
                Benchmarking  (BMK)
                CoP  (Community of Practice)

ขั้นตอนการดำเนินการในช่วงปีแรก
1.   ประชุมผู้แทนของสมาชิกก่อตั้ง   เพื่อกำหนด 
(1)     "ปณิธานความมุ่งมั่น" (purpose)  ของเครือข่าย   
(2)      หลักการในการดำเนินการ (guiding principles)  ของเครือข่าย 
(3)      ร่างแผนดำเนินการ
2.   แต่ละองค์กรศึกษาหลักการด้านคุณภาพของ  สมศ.,  หลักการด้านคุณภาพของ พรพ.  และ พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย  เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพของตน  และเตรียมการณ์การใช้เครื่องมือ "ธารปัญญา"
3.   ลงนามความร่วมมือระหว่างสมาชิกก่อตั้ง
4.   ประชุมผู้แทนสมาชิกก่อตั้งเพื่อร่วมกันกำหนด core competence ในการดำเนินการ ธารปัญญา
5.   จัดกิจกรรม  Workshop 1  เพื่อทำความเข้าใจถึงแนวทางดำเนินงานด้าน  Knowledge Management, วิธีการใช้เครื่องมือ ธารปัญญา,  Benchmarking,  และ Community of Practice  ให้แก่  "คุณอำนวย"  และ  Chief Knowledge Officer (CKO)  ของแต่ละองค์กร
6.   ดำเนินการเปิดโครงการ   (Day One) อย่างเป็นทางการ
7.  จัดประชุมแลกเปลี่ยนการดำเนินการระหว่าง CKO (และ “คุณอำนวย”)   กับที่ปรึกษาโครงการเป็นระยะ ๆ   อาจจะ 2-3 เดือน/ครั้ง
8.  จัดกิจกรรมวัน   "Knowledge  Sharing  Day"  :  BMK  Mart   เมื่อดำเนินการครบ 6 เดือน     เปิดให้บุคคลภายนอกลงทะเบียนเข้าร่วมได้     สนับสนุนกิจกรรมโดย  สคส.  ร่วมกับ สกอ. 
9.  นำผลการดำเนินการในช่วงแรกมาทำ AAR   เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางดำเนินการใน Phase 2 (ปีที่ 2-3) ต่อไป  

10. เปิดรับสมัครสมาชิกเครือข่ายที่จะเข้าร่วมใน Phase 2

การดำเนินการในแต่ละมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก
          1.   ใช้เครื่องมือ ธารปัญญา เพื่อประเมินตนเอง   และกำหนดประเด็นสำหรับ share  และประเด็นสำหรับ learn
          2.   จัดกระบวนการ Peer Assist, AAR, Retrospect, Benchmarking, CoP, และกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อื่นๆ  เป็นการภายใน    อาจเชิญคนจากมหาวิทยาลัยสมาชิกแห่งอื่นมาร่วมตามความเหมาะสม
              3.   พัฒนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็น ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice, CoP)
         4.   จัดการอบรม ให้ความรู้และทักษะ ด้านการจัดการความรู้  และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ให้แก่    "คุณกิจ"  (ผู้ปฏิบัติ) ตามความเหมาะสม
          5.   ดำเนินการวัดผลลัพธ์ และผลกระทบของการจัดการความรู้ ตามเป้าหมายหลักที่กำหนดไว้   และวัดผล "เป้าหมายรายทาง"

____________________________
                                                                            ผู้ร่าง  :  ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช
                                                                                        รศ. นพ. อภิชาติ ศิวยาธร
                                                                                        ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ
                                                                                        ธวัช หมัดเต๊ะ
                                                                                   9 กรกฎาคม 2547
ปรับปรุง 10 สิงหาคม 2547 โดย วิจารณ์ พานิช

เอามาลงไว้ไม่ใช่เพื่อให้กลับไปยึดแนวคิดเดิม    แต่เพื่อให้เห็น dynamism ของ UKM
วิจารณ์ พานิช
๒ กย. ๔๘
ขอนแก่น
คำสำคัญ (Tags): #ukm
หมายเลขบันทึก: 3392เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2005 05:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท