ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ข้อควรระวัง!!! ในการใช้สัญลักษณ์ทาง พระพุทธศาสนา


      วันนี้ (๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓: ๑๐.๐๐-๑๒.๐๐) ผู้เขียนในฐานะประธานอนุกรรมการยกร่าง "คู่มือการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเชิงพาณิชย์" และ คณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงต่างประเทศ กรมการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหามกุฏราชวิทยาลัย องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แ่ห่งโลก และกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งลงนามแต่งตั้งโดยท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

      หลังจากที่คณะทำงานได้ร่วมมือกันยกร่าง และปรับปรุงคู่มือมาเกือบ ๒ ปี มาบัดนี้ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เื่พื่อชี้แจ้งประเด็นเกี่ยวกับคู่มือแนวทางในการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเชิงพาณิชย์ต่อคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเพื่อให้การพิจารณาเห็นชอบ


      สำหรับประธานการประชุมวันนี้คือ พณฯ ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  และคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลสำคัญของประเทศที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชาติ เช่น ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  ศ.นพ.ประเวศ วสี ศ.ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ศ.พิเศษ ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม  อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมศิลปากร และเลขาธิการสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ

ความเป็นมา

      คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ ๕/๒๕๕๒ มีมติให้คณะทำงานจัดทำคู่มือแนวทางในการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเชิงพาณิชย์ พิจารณาปรับแก้ชื่อคู่มือดังกล่าว แทนชื่อว่า “คู่มือการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเชิงพาณิชย์” และเพิ่มเติมเนื้อหาข้อกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทย

ผลการดำเนินงาน

      คณะทำงานจัดทำคู่มือแนวทางในการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุธศาสนาเชิงพาณิชย์ ได้พิจารณาปรับแก้ชื่อคู่มือดังกล่าว และเห็นชอบให้ใช้ชื่อว่า “ข้อควรระวังในการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา

วัตถุประสงค์

      ๑. เพื่อเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ปัญหาการนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาใช้อย่างไม่เหมาะสม
      ๒. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาแก่ประชาชน
      ๓. เพื่อขอความร่วมมือไม่ให้มีการนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาใช้อย่างไม่เหมาะสม

 สัญลักษณ์ทางศาสนาที่กำหนดไม่ควรนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์

      ๑. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ
      ๒. พุทธพจน์ เถรภาษิต เถรีภาษิต      ๓. พระสงฆ์ ภาพถ่าย ภาพวาด สิ่งประดิษฐ์คล้ายพระสงฆ์ บริขารของ พระสงฆ์
      ๔. การแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ หรือการอ้างตัวเองว่าเป็นพระสงฆ์ในบทภาพยนตร์ ที่ไม่เหมาะสม อันจะทำให้ประชาชนขาดความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระสงฆ์
      ๕. โบสถ์ วิหาร เจดีย์ทางพระพุทธศาสนา
      ๖. ธรรมจักร และธงฉัพพรรณรังสี

สถานที่ที่ไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาใช้ในเชิงพาณิชย์

       สถานที่ที่ไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาใช้ คือสถานที่ที่ทำให้คุณค่าและความสำคัญของสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาลดคุณค่าหรือเสื่อมค่าลงไป เช่น

         (๑) โรงงาน และร้านจำหน่ายแอลกอฮอล์ วัตถุมึนเมา ยาพิษ ยาเสพติด อาวุธ หรือสิ่งคล้ายอาวุธ
         (๒) ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ โรงละคร สถานบันเทิง สถานเริงรมย์ และสถานบริการที่เป็นสัญลักษณ์ทางกามารมณ์
         (๓) โรงฆ่าสัตว์ และบ่อนการพนันทุกชนิด
         (๔) ห้องน้ำ และห้องสุขา

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาใช้ในเชิงพาณิชย์

          ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาใช้ คือผลิตภัณฑ์ที่ทำให้คุณค่าและความสำคัญของสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาลดคุณค่าหรือเสื่อมค่าลงไป เช่น

           (๑) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัตถุมึนเมา ยาพิษ และอาวุธ
           (๒) เสื้อ กางเกง ชุดชั้นใน ถุงเท้า รองเท้า เครื่องสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ และห้องสุขา
           (๓) เก้าอี้ และเตียงนอน

สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาใช้ในเชิงพาณิชย์

          สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาใช้ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คุณค่าและความสำคัญของสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาลดคุณค่า หรือเสื่อมค่าลงไป เช่น

         (๑) สื่อที่เกี่ยวกับการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาวุธ
         (๒) สื่อที่เกี่ยวกับการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานเริงรมย์ สถานบันเทิง หรือ สิ่งยั่วยุทางกามารมณ์ทุกชนิด
         (๓) สื่อที่เกี่ยวกับการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับยาพิษ
         (๔) สื่อที่เกี่ยวกับการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสุราหรือของมึนเมา
         (๕) สื่อที่เกี่ยวกับการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเครื่องสำอาง กางเกง ชุดชั้นใน   ถุงเท้า รองเท้า เก้าอี้ ห้องนอน และเครื่องสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ

ข้อกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙ ภาค ๒ ลักษณะ ๔ ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

      • มาตรา ๒๐๖ “ผู้ ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

      • มาตรา ๒๐๗ “ผู้ ใดก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกันนมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

      • มาตรา ๒๐๘ “ผู้ ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมาย ที่แสดงว่าตนเองเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

     ที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติ "เห็นชอบคู่มือฯ ตามที่คณะทำงานได้นำเสนอ"

     ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม

     ๑. ควรดำเนินการให้มีจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย และแปล และพิมพ์เป็นภาษาอย่างเร่งด่วน เื่พื่อจะได้ใช้คู่มือเหล่านี้เพื่อมอบให้สถานทูตได้แจ้งให้หน่วยงานในแต่ละประเทศได้ทราบ ในขณะเดียวกัน ให้เผยแพร่เอกสารเหล่านี้แก่ร้านอาหารไทย หรือธุรกิจไทยในต่างประเทศ ร่วมไปถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ทราบ และรับเป็นแนวปฏิบัติในโอกาสต่อไป
     ๒. ควรอธิบายภาพต่างๆ ตามที่ปรากฏในคู่มือให้ชัดเจน ว่ามีเนื้อหาสาระที่สำคัญอย่างไร และทำไมเราจึงควรปฏิบัติให้สอดรับกับสัญลักษณ์เหล่านั้น ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวจะมีผลต่อการปฏิบัติในโอกาสต่อไป
     ๓. ควรสื่อให้สังคมไทยให้ตระหนักว่า การแสดงออกและการปฏิบัติของของชาวไทยจะมีผลอย่างยิ่งต่อการแสดงออกและการปฏิบัติของชาวตะวันตก เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นแบบอย่างที่ดีว่าเราควรปฏิบัติอย่างไรต่อสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา
     ๔. การเตือน หรือการแสดงออกต่อผู้ที่ปฏิบัติต่อสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่ไม่เหมาะสมนั้น ควรจะเป็นไปในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ และควรใช้สันติวัฒนธรรมในการเตือนชาวต่างชาติ

ลิงค์เพิ่มเติม
http://www.culture.go.th/www/th/news_detail.php?id=583

หมายเลขบันทึก: 337949เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

นมัสการพระคุณเจ้า ธรรมหรรษา

หลักเกณฑ์คล้ายๆกับการให้ ตราสัญลักษณ์ ของอิสลามน่ะครับ ตรา ฮะล้าลครับ

นมัสการพระคุณเจ้า

  • ปกติไปโรงเรียน  มักจะจอดรับพระที่กลับจากบิณฑบาตรไปส่งที่วัดประจำ
  • วันก่อนมีพระ  ยืนโบกรถที่ข้างทาง  แต่ตัดสินใจไม่รับเจ้าค่ะ 
  • ไม่บาปนะคะ  เพราะเคยสังเกตใบหน้าของพระมักจะผ่องใส แต่รูปนี้ไม่ผ่องและไม่คุ้นหน้าเจ้าค่ะ

ท่านผู้เฒ่า

อาตมาชื่นชมการทำงานของผู้บริหารขององค์กรศาสนาอิสลามน่ะ ทำงาน และวางระบบต่างเพื่อเป้นกรอบในการปฏิบัติให้แก่พี่น้องชาวมุสลิมได้ดี นับว่าเป็นหลักในการอธิบายและปฏิบ้ัติให้แก่รุ่นใหม่ และคนทั่วไปได้ดี

ครูคิม

"ใบหน้าคน/พระ" นี่สำคัญมากเลยน่ะ อาจกล่าวได้ว่า "หน้านอกบอกถึงหน้าใน" หากจะมองอีกด้านหนึ่งแสดงว่าท่านอาจจะเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกล เลยดูอิดโรยน่ะ อย่างไรก็ดี อาตมาสังเกตได้ว่า "ครูคิมมองคนออกและเก่งในการวิเคราะห์คน" นี่อาจจะเกิดจากครูพบคนมาก รู้จักคนมาก จึงอ่านคนได้มาก สรุปคือ ทำอะไรแล้วสบายใจก็ขอให้ทำ แ่ต่้ถ้าทำแล้วจะให้เกิดความไ่ม่สบายใจ หรือหวาดระแวงใจ หลบเลี่ยงได้ก็จะดีน่ะ

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า ธรรมหรรษา

เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ

ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไกล...มือคณะสงฆ์เอื้อมไปไม่ถึงก็มีการละเมิดนำสิ่งเหล่านี้ออกมาทางสื่อเยอะพอสวมควร...

ในต่างประเทศอย่างพระพุทธรูปโบราณถูกนำไปใช้เชิงพาณิชย์...หรือประดับร้านขายของก็เยอะนะครับ

การแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์นี่ก็มีเห็นบ่อย ๆ ละครับผม

อาจารย์ยูมิ

  • ในต่างประเทศมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาก
  • เหตุผลประมาณหนึ่งมาจาก "คนไทยเอง" ที่ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม และฝรั่งได้จดจำภาพเหล่านั้น และมองว่าขนาดคนไทยยังทำได้ ทำไมฝรั่งจะทำไม่ได้
  • พวกเราคุุยกันมานานมาก (หลายปี)ว่า ควรมีคู่มือเพื่ออธิบายความ และนำเสนอท่าทีที่เหมาะสม 
  • มาบัดนี้ ต้องขอบใจกระทรวงวัฒนธรรม โดยท่านรัฐมนตรีและปลัด พร้อมทั้งกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่เห็นความสำคัญและให้ทีมงานพวกเราช่วยในครั้งนี้
  • หวังว่าเราจะได้เห็นคู่มือเร็วไว
  • เจริญพร

พบหลายท่านเลยนะครับ รวมไปถึงในต่างประเทศไหมครับ ผมพบพระพุทธรูปที่ New Zealand วางอยู่ทางเท้า เห็นแล้วเศร้าใจเลยครับ ในเมืองไทยก็มีหลายที่

นมัสการพระคุณเจ้า

  • แวะมาส่งข่าวเจ้าค่ะ
  • ว่าคุณพ่อของน้องซากี้เสีย  ที่อำนาจเจริญ
  • จะฌาปนกิจในวันจันทร์นี้เจ้าค่ะ

อ.ขจิต

เราคงได้ขอความร่วมมือให้แต่ละองค์กรปฏิบัติตน หรือแสดงออกต่อสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะสม กฎหมายไทยเองไม่สามารถเข้าไปกินพื้นที่ในต่างประเทศไทย แต่กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอว่า จะำทำหน้าที่ในการเข้าไปช่วยในการอธิบายว่าอะไรเหมาะหรือไ่ม่เหมาะแ่ก่ชาวต่างชาติ การมีคู่มือจะช่วยได้มากต่อการอธิบายดังกล่าว

ครูคิม

  • ต้องขอแสดงความเสียใจต้องน้องซากี้ที่สูญเสียคุณพ่อในครั้งนี้น่ะ
  • อาตมาติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศจึงไม่สามารถไปร่วมงานได้
  • อย่างไรเสีย ขอให้ดวงวิญญาณพ่อของน้องซากี้ไปสู่สัมปรายภพตามบุญกุศลที่ได้เพียรสร้าง
  • เจริญพร

 

นมัสการพระคุณเจ้า

เข้ามารับความรู้เพิ่มเติมค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

 

โยมมนัสนันท์

  • ขอบใจที่แวะมาเยี่ยม ไม่ได้พบกันมาหลายวันแล้วน่ะ
  • หวังว่าครูจะสบายดี
  • เจริญพร

นมัสการหลวงน้าที่เคารพ

หนูมีบันทึกใหม่ค่ะ บันทึกของหนูมีเรื่องดี ๆที่น่าภูมิใจค่ะ

หลวงน้าจะไปประเทศอินเดียหรือคะ หนูอ่านจากบันทึกของคุณครูขจิตค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้า

  • มาเรียนรู้ความก้าวหน้าของวงการพระพุทธศาสนาในบ้านเรา
  • มีการวางกฎระเบียบในการรักษาภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่ดีมากเจ้าค่ะ

 

นมัสการพระคุณเจ้า ผศ ดร หรรษา

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ นำเด็กไปแหล่งเรียนรู้ แล้วพาเด็กไปจอดในปั๊มน้ำมันมีพระมาขอเงินเดินทางไปอุดร

ผมดูมันมือแล้ว ประกอบกับผมได้ยินท่านคุยกับสุภาพสตรีว่าจะเปลี่ยนเสื้อไหม ก่อนมาขอผมจึงบอกว่าผมเงินหมด

เพราะพาเด็กไปเที่ยว เขาจึงไปขอกับรถคันอื่น ๆ ไปเรื่อย ๆ ประมาณ 5 คัน ดูเหมือนได้ทุกคันเสียด้วย

ไม่ทราบถึงอุดรหรือยังขอรับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท