เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ป่วย อสม. และหมออนามัย

     จากการสนทนาระหว่างหมออนามัยกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการ ณ คลินิกผู้ป่วยเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ถึงความล่าช้าในการให้บริการ ทำให้ในบางบริการ เช่น การให้ความรู้ การทำกิจกรรมกลุ่ม (ออกกำลังกาย การสาธิตอาหาร ฯลฯ) ไม่สามารถดำเนินการได้ นำไปสู่แนวคิดการสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

     เริ่มต้นจากคำถามที่ว่า “ทำไมเราจึงไม่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้เต็มศักยภาพอย่างที่ควรจะเป็น” ก็พบข้อจำกัดหลายประการ เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีจำนวนมาก กิจกรรมที่ต้องให้บริการแก่ผู้ป่วยมีหลายอย่าง เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ฯลฯ และต่อด้วยคำถาม "ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถให้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้เต็มศักยภาพ" และสิ่งที่ข้าพเจ้าในฐานะหมออนามัยคนหนึ่งรู้สึกยินดี คือ กลุ่ม อสม. มีความคิดว่าจะจัดเวรมาช่วยให้บริการในวันที่มีคลินิกผู้ป่วยเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูงได้รับบริการอย่างครบถ้วน รวดเร็ว ต่อเนื่อง และช่วยแบ่งเบาภาระของหมออนามัย

กิจกรรม:         

1. ประธานอสม.แต่ละหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการจัดเวร อสม.ในแต่ละเดือน (หมู่บ้านละ 3 คน/ เดือน) 

2 กิจกรรมที่ อสม.ทำ คือ ค้นประวัติ เจาะหาปริมาณน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว คำนวณดัชนีมวลกาย ร่วมสาธิตการออกกำลังกาย ช่วยเจ้าหน้าที่จ่ายยา

3. กิจกรรมที่หมออนามัยทำ คือ ให้สุขศึกษา ทำกิจกรรมกลุ่ม ตรวจ และจ่ายยา (สบายขึ้นเยอะเลย 555+)

ผลที่ได้รับ

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ได้รับบริการที่ครอบคลุม รวดเร็ว และต่อเนื่องขึ้น รวมถึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยอีกด้วย

2. หมออนามัยได้รับการแบ่งเบาภาระในการปฏิบัติงาน

3. อสม. ได้ฝึกฝนการให้บริการเบื้องต้น เช่น เจาะหาปริมาณน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว คำนวณดัชนีมวลกาย ฯลฯ อย่างสม่ำเสมอ

4. เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ป่วย อสม. และหมออนามัย

การดำเนินงานต่อยอด

1.  ประสานงานกับทางโรงพยาบาล ในการนำยารักษาโรคเบาหวานมาจ่ายในวันดังกล่าว เพื่อลดภาระในการเดินทางไปรับยาของผู้ป่วย ทั้งยังเป็นการลดปริมาณผู้ป่วย  ของโรงพยาบาล

2. สามารถจัดกิจกรรมลดเสี่ยงที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ป่วย/ ญาติ อสม.และหมออนามัย

3. ในกรณีผู้ป่วยโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ ที่ใช้บริการคลินิกเติมยาของโรงพยาบาล จากเดิมที่ต้องไปรับยาเอง หมออนามัยก็จะเป็นผู้ไปรับยาจากโรงพยาบาลให้ และให้ผู้ป่วยมารับยาที่สถานีอนามัยแทน

   

หมายเลขบันทึก: 337375เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นการเริ่มต้นที่ดีและขอให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาครับ

เย้....!!!!!

ยุขึ้นแหะ...

เขียนอีก เขียนอีก จะตามอ่านครับ

โจทย์หมอเอน่าสนใจมาก เป็นโจทย์ที่มาจากความเป็นจริง ผมคิดว่าหากบุคลากรทางสาธารณสุขสนใจโจทย์วิจัยแบบนี้ ผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับประชาชน

สวัสดีครับ คุณ kaewbuntham

มาอ่านงานหมอครับ มีประโยชน์มากครับ อสม.ตรวจเบาหวานได้ ผมจะลองไปเจาะดูที่จริงตรวจบ่อยๆ

เพราะอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงคุณแม่เป็น น้องชายเป็น คุณหนานเกียรติแนะนำมาอ่านครับ

<h2>ตัวโม่งมารายงานตัวจ้า...พี่อ้อยเล็กเป็นโรคแก่เรื้อรัง..ทำไงดี...วานหนานเกียรติหายาอายุวัฒนะให้หน่อย..อายุนะ..ลุงยุไม่เอาเอิ๊กๆๆ</h2>

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาทักทายค่ะ
  • มาอ่านบันทึกแล้วน่าสนใจมาก
  • ที่หมู่บ้านก็มี อส.ม. เขาดูแล   เจาะหาปริมาณน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว คำนวณดัชนีมวลกาย  ให้คำแนะนำแก่ชาวบ้าน
  • โดยเฉพาะคนอาวุโสเขาจะมีตารางนัดหมาย พบกันเดือนละครั้ง
  • โครงการนี้ดีมากๆ  ชาวบ้านที่ไม่ชอบไปหาหมอจะได้ตรวจด้วยเป็นการดูแลสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม
  • ขอบคุณค่ะที่นำสิ่งดีดีมาแบ่งปัน
Pหวัดดีจ้าน้องสาว..แม่ครูอ้อยเล็กก็อยู่ในเครือข่ายของอสม.ไม่มีเบาหวาน ความดันนิโน่ย..แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดคือแม่เป็นไฮโปไทรอยด์ค่ะ..ณ วันนี้ ต้องกินยาควบคุมตลอดจ้า...ขอบคุณสำหรับความห่วงใยในผู้สูงอายุด้วยใจจริงค่ะ..

สวัสดีครับมาตาม

คำ "ยอน" ของหนานเกียรติ

มาแล้ว ลอง" แยบ" ดูก่อน

จะได้ไม่ ต้อง "เยี่ยน"

ให้มา เยี่ยม"

ตามคำ"ยอ"

คนทำงานชุมชน ต้องหมั่น แยบ..เยี่ยน ..ยอ ..เยี่ยม ถึงจะได้ใจเพื่อนร่วมงาน

ด้วยความยินดีที่ได้มาแลกเปลี่ยน ในมุมของพนักงานเปลครับ

แวะมาชื่นชมกิจกรรมดี ๆ เพื่อสังคมครับ

เขียนอีกนะครับผม

  • ตามพี่หนานเกียรติมายุ
  • เอาเรื่องเบาหวานมาฝากด้วย
  • เย้ๆๆ
  • มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ

HHC โรงพยาบาลสมุทรสาคร(เบาหวาน)

     http://gotoknow.org/blog/yahoo/313150

     http://gotoknow.org/blog/yahoo/313700

 

  • ขอบคุณกำลังใจจากหมอสีอิฐ
  • จะเขียนอีกแน่นอน อ.เกียรติ แต่ขอไปอ่านของคนอื่นก่อนนะ..55+
  • คุณพรชัยค่ะ..ถ้ามีญาติสายใกล้เป็นเบาหวานละก็..อย่ารีรอที่จะไปตรวจค่ะ..เจ็บนิดเดียวเอง
  • ขอบคุณกำลังใจจากคุณดาวเรือง..วันหน้าจะเขียนเรื่องผู้สูงอายุ..โปรดติดตามด้วยใจระทึกพลัน 55+
  • ขอบคุณแม่ครูอ้อย..อายุที่มากขึ้นร่างกายก็เสื่อมไป..แค่ไฮโปไทรอยด์ เรื่องจิ๊บ ๆ ยังไงก็ขอให้แม่ครูอ้อยมีสุขภาพแข็งแรงนะค่ะ
  • ยินดี ยินดีเช่นกันค่ะ..ท่านวอญ่า..ว่าแต่ "ยอน" และ "เยี่ยน" มีความหมายว่าอย่างไร..โปรดชี้แนะ
  •  ขอบคุณครูโย่งค่ะ..ถ้าเขียนอีก..อย่าลืมแวะมาอ่านนะค่ะ
  • แล้วจะยังค่ะคุณขจิต..ถ้าคนบ้ายุเจอกับคนชอบยุ ???

 

สวัสดีค่ะ

เปิดมาเจอหมออนามัยเหมือนกัน

ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์ทำงานร่วมกันนะคะ

ยินดีค่ะคุณตันติราพันธ์

ยินดีที่เจอหมออนามัยเหมือนกัน

ยินดีที่ได้แบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท