แอ็ปคุง
นาย ณัฐพงศ์ แอ็ปคุง สงวนสินวัฒนา

คำสอน ของ ขงจื่อ


คำสอน

  เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื้อ เมื่อทศวรรษ1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ  แต่กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมาก กว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย

ขงจื้อ  (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว  เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่า”จื้อ ” เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น“อาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา“หยูเจีย”หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง  ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่    

 ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น“เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี”มาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่

  ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ3ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม  

ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

 ขงจื้อ“ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30”และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น    ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้“เนื้อตากแห้ง”เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี70คน  จากสานุศิษย์70คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า“อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า“หลุนอวี่” บั้นปลายชีวิต ขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า“ชุนชิว”ขงจื้อยัง เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่“ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์)“ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้”อี้ว์จิง”(ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภาย หลัง)และ”หลี่จี้”(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง5เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่า”อู่จิง”(คัมภีร์ทั้งห้า)

ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก   ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ”เหริน”หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า

เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"

 พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี479ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)

ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่

ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไร คุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น

เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย

เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส

เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย

ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"

  นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ

ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด

ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด

ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น

  ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี

  

ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่ คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย

  

เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว

เดินหมากรุกยังต้อง " คิด "

เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร

  

เมื่อใครสักคนหนึ่ง ทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา

เพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่น เดียวกับเขา

ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้

การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น

ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสารมารถของตนอย่างเต็มที่

ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่

ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่

อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น

เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่ หรือ อาจจะ" เขามีความหมายว่า "อาจจะ"

เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"

เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต ( เพราะนัก การฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร )

เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"

เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่ หรือ ได้"

เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่ หรือ ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี 

( สุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่าย ๆ )

คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย

 ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถ มองเห็นคิ้วของตน

คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมอง ไปยังอนาคต

คำสำคัญ (Tags): #ขงจื้อ#คำสอน
หมายเลขบันทึก: 335502เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จะนำ คำสอน คำคม ต่าง ๆ มาฝากบ่อยๆ น่ะครับ

แวะมารับคำสอนครับ

ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะคน

ขอบคุณครับ...

  • สวัสดีค่ะ
  • คนพะโด๊ะ จังหวัดชุมพร ก็มาให้กำลังใจเหมือนเดิมค่ะ

คมครับมีอีกไหมครับ

ขงจื้อก็ยังเป็นบุคคลที่อยู่เหนือกาลเวลา

คำสอนที่ที่มีค่ายังคงส่งมาถึงปัจจุบัน

ถึงผมจะเดินช้า ทำอะไรช้า แต่ผมก็ไม่เคยหยุดอยู่กับที่และไม่เคยคิดถอย ขอบคุณคำสอนของท่านครับ..พร้อมน้อมนำมาใช้ในชีวิตครับ

ชอบคำที่ว่า" เดินหมากรุกยังคิด เดินหมากชีวิตจะไม่คิดได้งัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท