ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

บรรยากาศพิธีเปิดหลักสูตรเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ รุ่นที่ ๑ ณ สถาบันภาษามหาจุฬาฯ


     วันนี้ (๑๐ กุมพาพันธ์ ๕๓: ๑๗.๐๐-๒๐.๐๐ น.) ผู้เขียนได้เป็นประธานในพิธีเปิดหลักสูตรการเขียนบทความทางวิชาการ รุ่นที่ ๑ ณ ห้อง ๒๐๕ อาคารมหาจุฬาฯ วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ

     "ใครที่ไหนจะไปเสียเงิน ตั้ง ๕,๐๐๐ บาท เพื่อเรียนการเขียนบทความทางวิชาการ เพราะทุกคนเขียนเป็นแล้วทั้งนั้น" นี่เป็นคำพูดที่ผู้เขียนเคยได้ยินจากอาจารย์อาวุโสบางท่านได้เคยเปรยกับผู้เขียนด้วยความห่วงใย หลังจากที่ได้ไปปรึกษาแนวทางการเปิดหลักสูตรเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ เมื่อ ๕ เดือนที่แล้ว 

     อย่างไรก็ตาม คำพยากรณ์ดังกล่าวกลับไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่บางท่านได้คาดเอาไว้ เพราะวันนี้ได้มี "ว่าที่นักเขียนบทความในอนาคต" ได้เข้ามาร่วมสมัครจำนวน ๓๐ รูป/คน  ซึ่งประกอบไปด้วยพระภิกษุ และนิสิตคฤหัสถ์ปริญญาเอกของมหาจุฬาฯ  ผู้บริหารจากระทรวงศึกษาธิการ นิสิตจากเอแบค แม่ชี และผู้สนใจจำนวนมาก 

    นอกจากนี้  ผู้เขียนเชื่อมั่นว่า "การเขียนได้กับการเขียนเป็นมีความต่างกัน" เพราะ "การเขียนได้" อาจจะเกิดขึ้นได้จากสัญชาตญาณของแต่ละคน แต่ "การเขียนเป็น" จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ ระเบียบ และประกอบไปด้วยหลักวิชาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

     ยิ่งไปกว่านั้น จากประสบการณ์ในการสอนปริญญาโท และปริญญาเอกมาเกือบเจ็ดปี พบว่า นิสิตจำนวนมากประสบปัญหาเกี่ยวกับการเขียนอย่างเห็นได้ชัด  ถึงแม้ว่านิสิตเหล่านี้จะเรียนวิชาวิจัย แต่วิชาดังกล่าวมุ่งเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เป็น เครื่องมือในการเขียนวิทยานิพนธ์ แต่ไม่ได้เจาะลึกลงไปสู่กระบวนการคิด และการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในแง่ของการเขียนในเชิงวิชาการ  ฉะนั้น การเปิดหลักสูตรเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ นอกจากจะช่วยเติมเต็มประเด็นดังกล่าวแล้ว ยังจะสามารถช่วยให้นิสิต และบุคคลทั่วไปทั่วได้เรียนรู้ เข้าใจ และนำไปถ่ายทอดในโอกาสต่อไป

     บรรยากาศทั่วไปของวันนี้  ผู้เขียนได้เกริ่นนำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ตระหนักรู้ว่า "ระหว่างนักพูดกับนักเขียนใครได้รับการจดจำ และเป็นนักประวัติศาสตร์ของโลก?"  สิ่งสำคัญคือ การพูดอาจจะทำให้คนได้ยินไวว่าเราพูดอะไร และอาจจะำทำให้หลายคนมีชื่อเสียงจากการพูด แต่บุคคลที่โลกจดจำได้มาก และนานที่สุดกลับมิใช่นักพูด แต่เป็นนักเขียน ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยปี สิ่งที่นักเขียนได้เขียนเอาไว้จะเป็น "ธรรมเจดีย์" ที่ทำให้คนรุ่นหลังได้จดจำ และศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับแนวคิด และมุมมองของนักเขียนแต่ละท่านที่ได้ฝากเอาไว้

     นักเขียนของโลกที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่าง เช่น  ขงจื้อ รุซโซ ค้าน หรือแม้กระทั่งนักคิดของกรีก เช่น อริสโตเติล และ เพลโต รวมไปถึง ลีโอ ตอลสตอย และเจ เค โรลลิ่ง นอกจากนี้ เมื่อมองย้อนกลับมาถึงสังคมไทย เราได้เห็นนักเขียนเด่นๆ หลายท่านในวงการพระพุทธศาสนา เช่น พุทธทาสภิกขุ  หลวงพ่อเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระธรรมโกศาจารย์ และท่าน ว.วชิรเมธี  ท่านเหล่านี้ได้รับการจดจำในฐานะนักเขียนมากกว่านักพูด 

     ในขณะเดียวกัน ผู้เขียนได้นำเสนอกรอบ หรือแนวสังเขปของการเขียนบทความในแต่ละสัปดาห์ที่ีจะต้องเีรียนทั้งสิ้น ๑๓ สัปดาห์  ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่ผู้เขียนเคยนำเสนอไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน http://gotoknow.org/blog/limcu/333964?page=1

     จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจะพบว่า ว่าที่นักเขียนจำนวน ๓๐ ท่าน มีความสนใจและใฝ่่รู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบทความเป็นอย่างมาก เพราะพบได้จากการคำถาม และการทำกิจกรรมเพื่อสะท้อนปัญหาและความคาดหวังจากการเรียนหลักสูตรนี้

ตัวอย่างของปัญหาและความคาดหวังของผู้เรียนที่ได้จากการทำ Workshop

กลุ่มที่ ๑


ก.     ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเขียนบทความในอดีต

๑.      โครงสร้าง และทิศทาง

๒.     ขาดผู้รู้ที่ทำหน้าแนะนำการเขียนบทความที่ได้มาตรฐาน

๓.     การสังเคราะห์ ทำให้การองค์ความรู้ใหม่

๔.     วิธีการอ้างอิงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

๕.     กระบวนการบริหารเวลา ข้อมูลเพื่อให้งานสำเร็จ เพราะไม่สะดวกเรืองเวลา

ข.      ความคาดหวังในการพัฒนาและฝึกอบรมในหลักสูตร 

๑.      คนคอยให้การช่วยเหลือ แนะนำด้านการดำเนินการช่วย

๒.     ผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรที่จะมาช่วยเหลือ

๓.     แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  การสรุปแหล่งข้อมูล นำข้อมูลมาเป็นแหล่งอ้างอิง ควรศึกษาอย่างไร   การสรุปเนื้อหาเพื่อนำมาช่วยเหลือ

กลุ่มที่  ๒


ก.     ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเขียนบทความในอดีต

๑.      หัวข้อที่จะทำมีปัญหาหาไม่ได้

๒.     การตั้งชื่อเรื่องอย่างไร จึงจะดึงความสนใจของผู้อ่าน

๓.     โครงสร้างของบทความ

๔.     การวางประโยคต่างๆ ของบทความ

๕.     การใช้ภาษาที่จะเชื่อมประโยค

๖.      ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์

๗.     ขาดทักษะในการถ่ายทอดความคิดของเรา จากความคิดออกมาเป็นตัวหนังสือ

๘.     การหาข้อมูลเพื่อนำมาเขียน

๙.      การสรุปเนื้อหาที่อ่านได้ง่าย

ข.      ความคาดหวังในการพัฒนาและฝึกอบรมในหลักสูตร

๑.      รูปแบบและโครงสร้างในในการเขียนบทความ

๒.     ผู้อ่านเห็นภาพของตัวหนังสือที่เราเขียน  เขียนเป็นเนื้อเดียวกัน

๓.     การเขียนอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน  การเชื่อมเนื้อหา

กลุ่มที่ ๓


ก.     ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเขียนบทความในอดีต

๑.      เทคนิคการตั้งชื่อเรื่อง

๒.     การนิยามคำว่า วลี

๓.     โครงสร้างหรือทักษะ

๔.     การย่อยความรู้

๕.     จะนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร

๖.      องค์ความรู้ใหม่คืออะไร

๗.     จะทำอย่างไรที่มีคนวิจารณ์เรา กลัวว่าจะทำให้เราเสียจุดยืน

กลุ่มที่ ๔


ก.     ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเขียนบทความในอดีต

๑.      เทคนิคการหาหัวข้อที่จะเขียน

๒.     การหาประเด็นจากหัวข้อ

๓.     การใช้ภาษาไม่ใช่ภาษาวิชาการ

๔.     การเปิดปิดในแต่ละย่อหน้า

๕.     โครงสร้างของงานเขียน

๖.      การเชื่อมโยงเนื้อหา

๗.     ระบบการอ้างอิง

ข.      ความคาดหวังในการพัฒนาและฝึกอบรมในหลักสูตร 

๑.      พัฒนาศักยภาพ หลักการสร้างความมั่นใจในการเขียน

๒.     ต้องการรูปแบบของบทความในเชิงมานุษยวิทยามาเขียน

๓.     การสนับสนุนการตีพิม์

๔.     หนังสือที่ดีคืออะไร ตัวอย่าง

๕.     ควรมีหลายรูปแบบ

กลุ่มที่ ๕


ก.     ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเขียนบทความในอดีต

๑.      การคิดหัวข้อและการแตกประเด็น

๒.     การจัดแผนที่ทางความคิด

๓.     การเขียนซ้าซาก วกวน

๔.     การใช้ภาษาทางวิชาการ

๕.     การใช้เหตุผลในการอ้างอิง

๖.      วิธีการสรุปให้ได้ประเด็น และได้ใจความ

ข. ความคาดหวังในการพัฒนาและฝึกอบรมในหลักสูตร 

๑.      การเขียนเป็นภาษาเชิงวิชาการมากยิ่งขึ้น

๒.     ตัวอย่างบทความที่ดี และนำมาเป็นแบบอย่างในการเขียน

๓.     แนะนำฝึกฝนทักษะในเชิงปฏิบัติ

กลุ่มที่ ๖


 ก.     ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเขียนบทความในอดีต 

๑.      ข้อมูลที่มีไม่สามารถนำมาเขียนได้

๒.     เป็นขนมชั้น ความคิด อะไรคือประเด็นสำคัญ

๓.     ข้อห้ามต่างๆ ของการเขียนบทความ แหกกฎของบทความ

ข. ความคาดหวังในการพัฒนาและฝึกอบรมในหลักสูตร 

๑.      ทำอย่างไรผู้อ่านจึงจะสนใจการเขียนบทความของเรา

๒.     ประเด็นคืออะไร รูปแบบคืออะไร 

๓.     การสร้างความมั่นใจในการนำเสนอบทความ

คำสำคัญ (Tags): #academic_writing#mcu#limcu
หมายเลขบันทึก: 335435เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

แวะมารับความรู้ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ครูต้อยติ่ง

* อนุโมทนาขอบคุณที่ครูแวะมาเยี่ยมเยียน

* วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดหลักสูตรการเขียนบทความทางวิชาการ

* นั่งลุ้นตลอดเวลาว่า ครั้งแรกของหลักสูตรจะได้รับการตอบรับเพียงใด

* แต่ผิดคาด เพราะหลายท่านตั้งใจที่จะมาเติมเต็มจากหลักสูตรนี้

* จะนำสิ่งดีๆ มาแลกเปลี่ยนกันในโอกาสต่อไป

นมัสการพระคุณเจ้า

  • บันทึกนี้จัดเก็บเป็นพิเศษเจ้าค่ะ
  • รอติดตามเรียนรู้เกี่ยวกับรายละเอียดต่อไป
  • กราบขอบพระคุณอย่างสูงยิ่ง

ขอบพระคุณกับข้อมูลอันมีสาระขอรับพระอาจารย์..

นมัสการท่านพระอาจารย์ครับ

เรื่องการเขียน เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการจัดการความรู้ หากเรามีทักษะที่ดี การดึงความรู้เพื่อสร้างวงจรความรู้ใหม่ดีมากยิ่งขึ้น

สาเหตุอีกอย่างก็คือ สังคมไทยเป็นสังคมบริโภคความรู้ เเต่ยังไม่ใช่สังคมที่สร้างความรู้

อยากฝากผู้ที่อยากเขียนเก่ง ขอให้อ่านหนังสือมากๆ จะได้ไม่ขัดสนถ้อยคำครับ

จตุพร

  • นมัสการพระคุณเจ้า
  • จากบันทึกของพระคุณเจ้า"นิสิตจำนวนมากประสบปัญหาเกี่ยวกับการเขียนอย่างเห็นได้ชัด  ถึงแม้ว่านิสิตเหล่านี้จะเรียนวิชาวิจัย แต่วิชาดังกล่าวมุ่งเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เป็น เครื่องมือในการเขียนวิทยานิพนธ์ แต่ไม่ได้เจาะลึกลงไปสู่กระบวนการคิด และการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในแง่ของการเขียนในเชิงวิชาการ"
  • เป็นจริงและถูกต้องที่สุดคะ เหมือนที่พระคุณเจ้าพูดทุกอย่าง

นมัสการพระคุณเจ้า

ถ้ามีโอกาสจะเข้าร่วมอบรมเช่นกันขอรับ กระผมเคยเขียนบทความศิลปะการเขียนบทความให้น่าอ่าน ลงในบันทึก Gotoknow หากเป็นประโยชน์กับผู้สนใจขอพระคุณเจ้าได้นำไปใช้

มานมัสการเพื่อขอบพระคุณในโอกาสไปร่วมเป็นพระวิทยากรค่ายจิตอาสา ขอรับ งานบรรลุเป้าหมายเด็กประทับใจ

ผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน

ท่านธรรมฐิต และครูคิม

  • ขอบคุณมากที่แวะมาเยี่ยม
  • จะนำมา Note เอาไว้ และแบ่งปันในที่นี่ทุกครั้งที่มีการบรรยายหรือแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ
  • พบกันในบันทึกครั้งหน้า
  • ด้วยเมตตา

ครูจตุพร

  • อนุโมทนาขอบคุณ และขอแสดงความเห็นด้วยว่า ถ้าต้องการจะเป็นนักเขียนที่ดี ต้องเป็นนักอ่านที่ดีก่อน
  • การอ่านจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เราเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • เจริญพร

ชื่อบทความ

๑.      แก้...ร้อน  ด้วยซาโตริ ?

๒.    ซาโตริ...ยาผีบอก?

๓.     เซน...โกอันแห่งชีวิต

๔.     ฤ คือ วิกฤติตถตา

๕.     โลกหนอ...ก็เช่นนั้นเอง

วัตถุประสงค์

                เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการของเซนกับการแก้วิกฤติการณ์ของโลก ในด้านนิเวศวิทยาเชิงพุทธ


คุณโยม

๑. อาตมาเข้าใจว่า "โยมพยายามจะนำเสนอว่า หลักการของเซนนั้นเอื้อต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ"  ดังจะเห็นได้จากปรัชญาหลายๆ ข้อ

๒. ถ้าจะเอาหลักการของเซ็นทั้งหมดมานำเสนอ ดูประหนึ่งว่าจะกว้างเกินไป  ด้วยเหตุนี้  โยมลองหาหลักเด่นๆ ของสักข้อของเซนมาอธิบายและตีความเพื่อให้สอดรับกับการแก้วิกฤติการณ์ของโลก

๓. เราเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า ปัจจุบันนี้ โลกประสบการณ์กับวิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อม ประเด็นคือ เราจะนำหลักการตัวไหนของเซนมาใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูโลกของเรา  โดยเฉพาะหลักการที่สอดรับกับธรรมชาติที่เป็นจุดเด่นของเซน

๔. หัวข้อที่โยมตั้งมายังไม่ืสื่อกับวัตถุประสงค์ที่ได้ร่างเอาไว้

๕. รบกวนปรับหัวข้ออีกครั้ง แล้วส่งกลับมาให้อาตมาดู


เจริญพร

อ.หรรษา

ผอ.พรชัย และครูพรเพ็ญ

  • อนุโมทนาที่แวะมาเยี่ยมว่าที่นักเขียนที่ดีในหลักสูตรการเขียนบทความ
  • ทั้ง ๓๐ ท่านตั้งใจมาฝึกฝนพัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักเขียนอย่างตั้งใจ
  • เชื่อมั่นว่า ในอนาคตเราจะเห็นและจะได้อ่านหนังสือของท่านเหล่านี้
  • และโชคดีว่า เรามีโอกาสได้ต้อนรับแม่ชีน้อยที่เขียนหนังสือวางอยู่ในท้องตลาดมาเรียนกับพวกเราด้วย

กราบนมัสการพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ

ครูต้อยอยากเป็รนักเรียนเสียแล้ว

ไม่ทราบจะมีรุ่น 2 และ 3 เมตตาถึงผู้สนใจเรียนรู้จริงๆ

อีกเมื่อไหร่ค่ะ

กราบนมัสการ เจ้าค่ะ

โยมต้อย

ตอนนี้รุ่นที่ ๒ กำลังเปิดรับสมัครอยู่ เชิญสมัครได้เลย และขอบใจครูมากที่สนใจหลักสูตรของเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท