หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

G2K Camp : ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๖๓ (๒)


ผมอธิบายความรู้เกี่ยวกับคำถาม โดยยกตัวอย่างจากคำถามที่ปรากฏในกระดาษปรู๊ฟที่เด็ก ๆ ช่วกันคิดช่วยกันเขียนมา

        วันที่สองของค่ายฯ ซึ่งเป็นวันแรกของผมในการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก ๆ

        กิจกรรมเริ่มต้นจากสันทนาการโดยบ๊อบบี้และทีมงาน ผมเห็นเด็ก ๆ สนุกสนานเพลิดเพลินแล้วก็ค่อนข้างเบาใจสำหรับการจัดกิจกรรมต่อจากนั้น

        ผมเริ่มต้นคุยกับเด็ก ๆ ถึงวัตถุประสงค์การจัดค่ายฯ ที่ต้องการจะฝึกฝนและเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ ทั้ง ๔ ประการ อันได้แก่ สุ – จิ – ปุ – ลิ

        ผมขอให้บ๊อบบี้แบ่งเด็กออกเป็น ๙ กลุ่ม เชื่อไหมครับว่าแค่การแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ของทีมสันทนาการ ก็สร้างความครึกครื้นและคึกคักได้ไม่น้อย สมกับเป้นมืออาชีพด้านการฝึกอบรมอย่างแท้จริง นี่เป็นเหตุผลหนึ่งในหลาย ๆ เหตุผลที่ผมทำงานร่วมกับทีมนี้ด้วยความสบายอกสบายใจ

        เช้าวันที่สองของค่ายฯ เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการถาม ค่ายครั้งนี้ผมออกแบบให้เด็กนักเรียนเรียนรู้และฝึกฝนการตั้ง “คำถาม” จากการทำความรู้จักกับผู้ใหญ่ใจดีที่เดินทางมาร่วมค่ายฯ ซึ่งในขณะนี้มีอยู่ ๙ ท่าน ได้แก่ ผม – หนานเกียรติ, ครูคิม – นพวรรณ พงษ์เจริญ, ดร.ขจิต ฝอยทอง, ครูแมว - มนัสนันท์ อ่ำพูล, ครูจ่อย – ทรงศักดิ์ ภูเก้าแก้ว, บ๊อบบี้ – อาคร ประมงค์, ซากี้ – วีระศักดิ์ บุญเกิด, แป๊บซี่ – กิตติคุณ ประมงค์ และ ต้น – นฤพน กันทา

        ผมมอบหมายให้เด็ก ๆ จาก ๙ กลุ่มไปทำความรู้จักกับคนทั้ง ๙ ข้างต้นให้ได้มากที่สุด ซึ่งได้แจกกระดาษให้แต่ละคนสำหรับจดรายละเอียดที่ได้จากการรับฟังเรื่องราวจากบุคคลนั้น

        เด็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง จำนวน ๖ คน มาสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูลจากผม แรก ๆ เด็ก ๆ ไม่ค่อยกล้าถาม อีกทั้งคำถามก็เป็นคำถามพื้น ๆ เช่น ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ทำงานอะไร แต่งงานหรือยัง มีลูกไหม ภรรยาทำงานอะไร ฯลฯ กว่าจะได้แต่ละคำถามก็ใช้เวลากระตุ้นกันอยู่นาน ระยะหลัง ๆ ก็มีคำถามที่ถามลึกขึ้น เช่น ทำไมจึงเดินทางมาจัดค่ายฯ วางเป้าหมายในชีวิตอย่างไร อยากให้ลูกเป็นอย่างไร เป็นต้น

        จากการพูดคุยกับผู้ถูกสัมภาษณ์บางคน พบประสบการณ์ร่วมกันคือเด็กไม่ค่อยถาม มีทั้งไม่กล้าและไม่รู้จะถามอะไร อีกทั้งคำถามก็เป็นคำถามพื้น ๆ ทั่วไป

        หลังจากที่ใช้เวลาราว ๔๕ นาทีในการสัมภาษณ์พูดคุย ผมให้เด็ก ๆ แบ่งออกเป็น ๙ กลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มาจากการสัมภาษณ์บุคคลที่ต่างกัน การจัดกลุ่มเช่นนี้จะมีสมาชิกกลุ่มมาจากการสัมภาษณ์บุคคลทุกคน แล้วผมให้เวลาราว ๓๐ นาที ในการเล่าเรื่องราวของบุคคลที่ตนเองสัมภาษณ์มาแบ่งปันให้เพื่อนในกลุ่มได้รับรู้

        เมื่อทุกคนได้เล่าเรื่องราวจนครบแล้ว ผมให้โจทย์แต่ละกลุ่มสกัดเอาคำถามที่แต่ละคนแต่ละกลุ่มสัมภาษณ์บุคคลออกมา โดยให้เขียนคำถามนั้นลงในกระดาษปรู๊ฟที่แจกให้ แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ

        กิจกรรมที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ดำเนินการในช่วงเช้าก่อนพักรับประทานอาหารกลางวัน

        ในช่วงบ่าย ผมนำกระดาษปรู๊ฟที่เขียนคำถามซึ่งแต่ละกลุ่มสกัดออกมาจากการสัมภาษณ์พูดคุยในช่วงเช้า แปะไว้ที่ด้านหน้าห้องประชุม แล้วก็เริ่มต้นอธิบายความรู้เกี่ยวกับ “คำถาม” หลังจากทีมสันทนาการได้สร้างความสนุกสนานและเตรียมความพร้อมสำหรับเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แล้ว

        ผมอธิบายความรู้เกี่ยวกับคำถาม โดยยกตัวอย่างจากคำถามที่ปรากฏในกระดาษปรู๊ฟที่เด็ก ๆ ช่วกันคิดช่วยกันเขียนมา

        เริ่มต้นจากการแนะนำให้รู้จักคำถามปลายปิด ซึ่งได้แก่คำถามแบบที่มีคำตอบให้เลือกเพียงสองคำตอบ เช่น การถามว่าใช่หรือไม่ ถูกหรือผิด ฯลฯ ตัวอย่างที่นักเรียนเขียนมาในกระดาษปรู๊ฟได้แก่ แต่งงานหรือยัง มีครอบครัวหรือยัง มีลูกไหม ชอบเล่นกีฬาหรือไม่ ชอบร้องเพลงหรือไม่ เป็นต้น

        คำถามในระดับถัดมาเป็นคำถามปลายเปิด ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเภท

        ประเภทแรกเป็นคำถามที่สอบถามข้อมูลทั่วไป ได้แก่คำถาม อะไร ที่ไหน เมื่อไร ใคร เท่าไร

        คำถาม “อะไร” เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเป็น “ชื่อเรียกของสิ่งต่าง ๆ” ตัวอย่างของนักเรียนได้แก่ ชื่ออะไร ชอบดาราคนไหน ชอบเพลงอะไร ฯลฯ

        คำถาม “ที่ไหน” เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเป็น “ตำแหน่งแห่งหนหรือสถานที่” ตัวอย่างของนักเรียนได้แก่ เกิดที่ไหน อยู่จังหวัดอะไร ทำงานที่ไหน ฯลฯ

        คำถาม “เมื่อไร” เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเป็น “เวลา” ตัวอย่างของนักเรียนได้แก่ เกิดเมื่อไร มาถึงที่นี่เมื่อไร จะกลับเมื่อไร จะมาอีกเมื่อไร ฯลฯ

        คำถาม “ใคร” เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเป็น “บุคคล” ตัวอย่างของนักเรียนได้แก่ ใครเป็นผู้ชักชวนมาค่ายฯ มากับใคร ฯลฯ

        คำถาม “เท่าไร” เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเป็นเวลา ตัวอย่างของนักเรียนได้แก่ เกิดเมื่อไร มาถึงที่นี่เมื่อไร จะกลับเมื่อไร จะมาอีกเมื่อไร ฯลฯ

        ประเภทที่สองเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบที่เป็นคำอธิบาย มีอยู่ ๒ คำถาม คือ อย่างไร และ ทำไม

        คำถาม “อย่างไร” เป็นคำถามที่ต้องการคำอธิบายถึง ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการ ขั้นตอน กระบวนการ ฯลฯ ตัวอย่างคำถามของนักเรียนที่เข้าข่ายคำถามประเภทนี้ ได้แก่ วางเป้าหมายอนาคตไว้อย่างไร มีความคาดหวังอย่างไร ฯลฯ

        คำถาม “ทำไม” เป็นคำถามที่ต้องการคำอธิบายถึง การให้เหตุผลของกระกระทำรวมไปถึงกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ฯลฯ ตัวอย่างคำถามของนักเรียนที่เข้าข่ายคำถามประเภทนี้ ได้แก่ ทำไมจึงมาเข้าค่ายที่นี่ ฯลฯ

        ผมสรุปความรู้เรื่องนี้แก่เด็ก ๆ ว่า

        คำถามมี ๒ ประเภท คือ คำถามปลายปิด และ ปลายเปิด คำถามปลายปิด เป็นคำถามที่มีคำตอบให้เลือกตอบแบบเฉพาะเจาะจง คำถามปลายเปิด เป็นคำถามที่ไม่เจาะจงคำตอบ

        และเมื่อจำแนกคำถามตามประเภทคำตอบ ก็จะแบ่งคำถามเป็น ๒ ประเภท คือ คำถามที่ได้คำตอบเป็นข้อมูล  และคำถามที่ได้คำตอบเป็นคำอธิบาย

 

        หลังจากอธิบายเสร็จ ผมส่งคืนกระดาษปรู๊ฟที่เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มเขียนคำถามมานั้น แล้วให้แต่ละกลุ่มจำแนกว่าคำถามแต่ละข้อในกระดาษนั้นเป็นคำถามประเภทใด และให้สมาชิกในกลุ่มเพิ่มเติมคำถามในส่วนที่ยังขาดหายไป หรือยังไม่มีคำถามประเภทนั้น ๆ

        กิจกรรมต่อจากนั้น เป็นกิจกรรมวิเคราะห์คุณลักษณะของหมู่บ้านคำแดง ผมขอให้ซากี้ – วีระชัย บุญเกิด เป็นผู้แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๑๒ กลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute analysis) หมู่บ้านคำแดง ด้วยวิธีการทำแผนผังมโนทัศน์ (Mind map)

        ทั้ง ๑๒ กลุ่มได้จัดทำ mind map ลงในกระดาษปรู๊ฟที่แจกให้ ใช้เวลาราว ๑ ชั่วโมง แล้วส่งตัวแทนออกมานำเสนอ ในขณะที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ ผมได้สรุปประเด็นใหญ่ ๆ ลงในกระดาษปรู๊ฟหน้าห้องประชุม และสรุปให้นักเรียนฟังหลังจากที่ทุกกลุ่มได้นำเสนอแล้ว

        ประเด็นที่สรุปได้จากการนำเสนอของนักเรียนแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ ประวัติศาสตร์ของชุมชน ลักษณะทางกายภาพสถานที่สำคัญและการปกครองของชุมชน ทรัพยากระรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเชื่อและประเพณี อาชีพและรายได้ของชุมชน หัตถกรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน การรักษาพื้นบ้าน ฯลฯ

        ผมซอยย่อยหัวข้อใหญ่ ๆ เหล่านี้เป็น ๑๒ ประเด็น แล้วเตรียมแบ่งหัวข้อให้นักเรียนลงไปเก็บข้อมูลในชุมชน  ซึ่งนักเรียนเสนอให้จับฉลาก

        ตอนค่ำหลังจากรับประทานอาหารแล้ว เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถามในประเด็นที่จะลงไปเก็บข้อมูลจากปราชญ์หรือผู้นำชาวบ้านในชุมชน ตามแนวทางที่ได้เรียนรู้มาตลอดวันนี้ และได้มอบหมายให้เด็ก ๆ ออกไปนัดหมายกับบุคคลที่จะไปสัมภาษณ์ในวันรุ่งขึ้นช่วงเช้า

        นี่เป็นกิจกรรมทั้งหมดในวันนี้ครับ

 

 



 

หมายเลขบันทึก: 334817เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2010 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

มาตามอ่านเรื่องราวทีมจิตอาสาค่ะ

ไม่เห็นขวัญใจพี่เลย(น้องซากี้)

พี่หัวหมุน หัวฟูอยู่กะงบประมาณ SP2 น่ะ

ซากี้อยู่หน้าเวทีครับพี่ ครู ป.๑

ขอบคุณพี่ใหญ่และคุณหนูรีนะครับที่แวะมาเยี่ยม

ยากจังค่ะ พี่ชาย ... เอากำลังใจมาฝากทีมค่ะ

อยู่บนฟ้า......โน่น ค่ะ

  • สวัสดีค่ะ 
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ และมีความสุขกับทุก ๆ วันนะค่ะ
    • เข้าใจการตั้งคำถามขึ้นอีกมาก..
    • ขอบคุณความรู้และกิจกรรมดีๆนี้ครับ

    สวัสดีค่ะ

    • ขอขอบคุณค่ะ
    • ที่พาหลงทางมาถึง กทม.

    สวัสดีคุณหนานเกียรติ

    ขออนุญาตนำบันทึกนี้ไปเป็นเอกสารที่เกี่ยวของในบทที่ 2 ครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท