ปรัชญาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


         การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอีกแนวทาง คือ การศึกษาจากหลักปรัชญา เพราะแนวทางปรัชญานั้น เป็นศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง ทุกท่านคงไม่ลืมว่า ในอดีตปรัชญาเมธีสากลต่างๆ เช่น พลาโต, อริสโตเติล, โฮเมอร์ และอีกหลายๆ ท่าน เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดปัญญา สร้างลูกศิษย์มากมาย และฝึกให้เกิดทักษะของการคิด

         ผมเชื่อว่า การคิดที่ถูกต้องนั้น เป็นส่วนที่ช่วยในการพัฒนาสังคม และการพัฒนามนุษยชาติได้เป็นอย่างดี ลองศึกษามุมมองในแง่ของปรัชญาดูบ้าง 

1.  ปรัชญาพื้นฐาน

-       Idealism (ความคิด : อุดมคตินิยม)เป็นแนวความคิดหรืออุดมคติ เกิดขึ้นภายในสมอง,

-       Materialism (ปฏิบัตินิยม)

-       Experientialism (ประสบการณ์นิยม)

-       Existentialism (อัตนิยม) มองตัวเอง ใช้ตัวเองเป็นผู้ตัดสิน มนุษย์มีทางเลือก (Choice)

   อยู่ที่จะเลือกไปทางไหน อยู่ที่เฉพาะตัวบุคคล เราเลือกที่จะอยู่ฝ่ายไหน ด้านไหนก็ได้ 

          ชาวต่างชาติเชื่อการตอบแทนโดยมีผลประโยชน์และมีกรตอบแทน แต่มิได้เป็นเรื่องของความมีบุญคุณต่อกัน เป็นแนวทางการคิดและการดำเนินชีวิตของโลกทุนนิยม

2.  ปรัชญาการศึกษา

          มีอยู่แล้วในเบื้องต้น โดยมิต้องสนใจในปรัชญาพื้นฐาน บางครั้งอาจจะเรียกว่า แนวคิดทางการศึกษา หรือทฤษฎีทางการศึกษา

-                   เราต้องการมนุษย์แบบไหน?

-                   จัดให้เรียนเช่นไร?

-                   จะสอนหรือถ่ายทอดอย่างไร?

          เช่น คนว่านอนสอนง่าย คนมีวัฒนธรรม ต้องให้เรียนในเรื่องของวัฒนธรรม และใช้แนวการสอนแบบสั่งสอน (สารัตถนิยม)

          สารัตถนิยม เป็นความเชื่อของผู้ปกครองหรือผู้อาวุโสในการเลือกให้ ชี้แนวทางให้ ดังนั้น ลูกหลานจึงไม่มีโอกาสได้เลือก

          ถ้าเป็นสมัยก่อน สารัตถนิยมก็อาจจะใช้ได้ผล แต่ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันใช้แนวความคิดในการบังคับไม่ได้

          ประเทศและการศึกษาจะไม่เกิดการพัฒนา หากเราต้องการให้เกิดการเรียนการสอนแนวใหม่ เกิดการพัฒนาทางสติปัญญา นั่นคือ ต้องให้ผู้เรียนได้คิด ได้พัฒนาสติปัญญาโดยสม่ำเสมอ โดยการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดแนวทางการพัฒนาปัญญา เมื่อมนุษย์เกิดปัญญา ปัญญาจะเป็นสิ่งที่อยู่ยาวนาน เป็นสิ่งที่อยู่นิรันดร...

          จึงกลายเป็นปรัชญานิรันตรนิยม คือ การอยู่อย่างถาวร ไม่มีสูญสลาย สิ่งที่อยู่เนิ่นนาน ก็มาจากแนวความคิดของพุทธศาสนา ซึ่งมีความเป็นนิรันดร์ มีความเป็นนิพพาน ปรัชญานิรันตรนิยม ไม่เกี่ยวกับปรัชญาใดๆ เป็นปรัชญาประยุกต์ ไม่ใช่ปรัชญาแท้ๆ

          ถ้าต้องการให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคม เช่น สามารถปรับตัวได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ เรียกว่า พิพัฒนนิยม เน้นเรื่องของร่างกายที่แข็งแรง

          สังคมปัจจุบันต้องเน้นเรื่องของการคิด การคิดวิเคราะห์ จึงเป็นสิ่งที่ควรพัฒนาและเสริมสร้างเข้าในจิตใจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาด้านความคิด ให้พัฒนาเป็น Thinking School

          การคิด เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ต่ำสุด หรือการเห็นความสำคัญน้อยที่สุด การศึกษาไทยในปัจจุบันเน้นเอาการศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาสอน จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องย้อนกลับเข้าสู่ชุมชน เข้าไปดูว่าชุมชนต้องการอะไรมากกว่าการค้นหาในเรื่องที่ไกลตัวหรือนอกเหนือทรัพยากรที่มีอยู่ ต้องค้นหาสิ่งที่อยู่ในชุมชน ให้การศึกษาถูกย้อนกลับเข้าสู่สังคม

          กลุ่มต่อมาเน้นว่า การศึกษาเปลี่ยนแปลงตามสังคมโลกเป็นประจำ ไม่มีแนวทางความคิดทางการศึกษาเป็นของตนเอง ไม่มีความคิดความอ่านเป็นของตัวเอง...

          กลุ่มต่อมา เน้นเรื่องของเทคโนโลยี เรื่องของอนาคต สังคมโดยส่วนใหญ่จะเป็นสังคมบริโภคนิยมและตามแบบอย่างต่างประเทศเป็น Consumer และ Follower เห็นแบบอย่างจากวัยรุ่นเป็นตัวสำคัญ เราเป็นผลผลิตนิยมน้อย ไม่ค่อยสร้างสรรค์นิยม ในระยะยาวเราจะกลายเป็นสังคมที่ตามอย่าง ไม่เกิดการพัฒนา

มนุษย์ในสังคมยุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนเป็นแนว CCPR ให้มากขึ้น

C = Critical

          การวิเคราะห์หาเหตุผลให้มากขึ้น โดยเฉพาะ Critical Mind บริโภคอย่างฉลาด เป็น Smart Consumer

C = Creative Mind

          มีสำนึกสร้างสรรค์ คิดสิ่งใหม่ๆ ต่างประเทศคิดเรื่อง Creative Mind เป็นเรื่องสำคัญ

P = Productive

          คิดถึงผลงาน ผลผลิตเป็นที่ตั้ง ต้องมีข้าวของเป็นของตัวเอง

R = Responsible

ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กันไป

          การศึกษาของไทยไม่เน้นการวิเคราะห์วิจารณ์ เพราะจะทำให้คนรู้ทัน เราไม่ค่อยส่งเสริมด้านการคิด ทรัพยากรมนุษย์ของไทยศึกษาในด้าน CCPR น้อยมาก

กรอบมาตรฐานที่มนุษย์ต้องมี...

K = Knowledge ความรู้

Basic ความรู้ทางวิชาการ ความรู้ทางวิชาชีพ

Advance ทันสมัย

Proactive วิชาการเชิงรุก สร้างความรู้ใหม่ได้ (Producing Knowledge)

Excellence ความรู้เป็นเลิศ มีความเชี่ยวชาญ (Expert)

 

T = Thinking ความคิด

       Basic คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์

       Advance คิดทันสมัย สร้างสรรค์

       Proactive คิดเชิงวิสัยทัศน์ คิดเชิงยุทธศาสตร์ (ผสมผสานแนวคิดยังอนาคต)

       Excellence คิดรวบยอด คิดแบบชัดเจน ตกผลึกทางความคิด (Conceptualization)  

 

S = Skill ทักษะ

       Basic ทำงานได้

       Advance ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

       Proactive คิดใหม่ สร้างงานใหม่ได้

       Excellence เกิดความชำนาญในงานนั้นๆ สามารถแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ทะลุปรุโปร่ง

 

E = Ethic คุณธรรม

       Basic จรรยาบรรณในวิชาชีพ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์

       Advance เป็นตัวอย่าง เป็นแบบอย่างได้

       Proactive ชักจูงให้บุคคลรอบข้างกระทำดีด้วย

       Excellence อุทิศตนเพื่อส่วนรวม มีความเสียสละ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม

 

          มนุษย์ต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ในการดำรงชีวิตและการปกครองหรือการครองตน มีแนวทางและการตัดสินใจที่ชัดเจน ความสำเร็จของการศึกษาอยู่ที่ผู้สอนต้องมี High Expectation สูง เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดการพัฒนาและสังคมก้าวหน้าอย่างมากที่สุด ผู้นำของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือ ต้องมี High Expectation สูงเช่นเดียวกัน

          สมัยรัชกาลที่ 5 การเปลี่ยนแปลงเพื่อคุณภาพชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เป็นสังคมในยุคอุตสาหกรรม เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นระบบทุนนิยม

          ปี 2475 การเปลี่ยนแปลงเน้นเฉพาะเรื่องของการปกครอง

          ปี 2537 เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) เริ่มมีเทคโนโลยีมาใช้จัดการและค้าขาย

          หลังจากกรณีเหตุการณ์ตึกเวิร์ลเทรดถล่ม เริ่มมีการขายความคิดกันมากขึ้น เป็นแนวทางการขายความรู้

กระบวนการกลุ่ม (Group Think)

          เป็นส่วนช่วยให้ความก้าวหน้าและความรู้เกิดการพัฒนาองค์กร

กระบวนการกลุ่มที่ไม่ดี

-                   รู้แล้วไม่พูด

-                   มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ

-                   ประธานเป็นเผด็จการ

-                   การโหวตใช้ไม่ได้

-                   เฮโลสาระพา ตามๆ กัน โดยไม่มีเหตุผล

-                   พวกมากลากไป

กระบวนการกลุ่มที่ดี

-                   ร่วมกันให้ความเห็น (Contribute)

-                   ใช้การวิเคราะห์วิจารณ์

-                   มีประธานเยี่ยม กระตุ้นให้เกิดการแสดงความคิดเห็น

-                   ใช้วิธีการเสริมเพิ่มเติมซึ่งกันและกัน

-                   มีความขัดแย้งกันบ้างแต่ต้องมีเหตุผลในแนวทางเดียวกัน

-                   ไม่นิ่งเฉยเมื่อตนเองรู้ข้อมูลเพิ่มเติม

-                   มีการคิดครั้งที่สอง (Second Though)

          การเป็นประชาธิปไตย ต้องมี Contribution เป็นไปในทางเดียวกัน หลักคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในอดีตความรู้อยู่ที่ตัวผู้สอน หาจากที่อื่นไม่ค่อยได้ กระบวนการในการให้ความรู้ มักจะเป็นการบรรยายเป็นส่วนใหญ่

          เมื่อมีเทคโนโลยี มีตำรามากขึ้น ก็มีความรู้จากตำราสู่ผู้เรียน กระบวนการเพิ่มเติม คือ การศึกษาจากรายงานต่างๆ ความรู้อยู่กับสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์

          กระบวนการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนติดตามการเคลื่อนไหวจากสื่อต่างๆ กระบวนการความรู้อยู่กับ IT ความรู้มีอยู่ในทุกที่ ตัวผู้สอนผู้ฝึกอบรม ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพียงแค่การบรรยายเพียงอย่างเดียว

          หากอาจารย์ผู้สอน ไม่มีการให้คะแนนผู้เรียน ก็จะทำให้ผู้สอนไม่มีความหมาย หลักและแนวการคิดเกิดการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์เดิม จาก ครูที่เป็นผู้ให้ความรู้ เป็นผู้ที่เอื้อต่อการให้ความรู้ของผู้เรียน

กระบวนการใหม่ในอนาคตครูหรือผู้สอนต้องมีหลัก 7 ประการ...

1.  ช่วยให้ผู้เรียนกำหนดจุดมุ่งหมายและหาความรู้

2.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้เป็นหลักสำคัญ การแนะนำวิธีการ

3.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกสรรหรือคัดกรองความรู้ได้ด้วยตัวเอง ในสิ่งที่สนใจ

4.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาได้ (Conceptualization)

5.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ประเมินและตกผลึกในความรู้นั้นอย่างชัดเจน

6.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องสอน

7.  ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการประเมินการเรียนของตนเองว่าเกิดการรับรู้มากน้อยเพียงใด

          ผู้สอนจะเหนื่อยมากขึ้น เพื่อการวางแผนให้ผู้เรียนสามารถที่จะค้นหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ผู้เรียนจะมีความรู้ เกิดปัญญาที่ยั่งยืนยาวนาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก พ.ร.บ. เน้นกระบวนการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น...

          แนวทางและแนวคิด เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาจะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มมาจากการศึกษาเป็นเบื้องต้น เพราะหากการศึกษาดีด้วยแล้ว โอกาสความก้าวหน้าย่อมมีมากขึ้นตามลำดับ เพราะมนุษย์รู้จักคิด รู้จักประยุกต์ใช้งานจริง....

หมายเลขบันทึก: 334312เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ คุณtrainerpatt

กระบวนการใหม่ในอนาคตครูหรือผู้สอนต้องมีหลัก 7 ประการ...

มาเยี่ยม มาอ่านบันทึกดีดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท