วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ผู้ว่าร้อยเอ็ดสั่งปราบหนูพร้อมประกาศเขตภัยพิบัตร


ผู้ว่า/ร้อยเอ็ด

ผู้ว่าร้อยเอ็ดสั่งปราบหนูพร้อมประกาศเขตภัยพิบัตร


ชาวนาจังหารจังหวัดร้อยเอ็ดสะอื้น
ถูกหนูนานับหมื่นบุกกัดทำลายต้นข้าวเสียหายพังพาบหลายพันไร่
ผู้นำท้องถิ่นเกณฑ์ชาวไล่จับทั้งวันทั้งคืน
หมดหนทางต้องวางสายไฟฟ้าช๊อตและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการล้อมด้วยผ้าพลาสติก
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 53 นายธวัชชัย  ฟักอังกูร ผวจ.ร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า
จากสถานการณ์การระบาดของหนูนาที่กัดกินต้นข้าวของชาวนาในพื้นที่อำเภอจังหาร
ตำบลผักแว่น ตำบลม่วงลาด ตำบลดงสิงห์ จ.ร้อยเอ็ด
ต้องเร่งประชุมคณะผู้บริหาร ผู้นำชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้านอย่างเร่งด่วน
หลังจากได้รับร้องเรียนจากชาวนาที่กำลังปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ กว่า
15,000 ไร่  กำลังเดือดร้อนหนักกันถ้วนหน้าหลังจากถูกหนูนาบุกกัด-ทำลายต้นข้าวเสียหายย่อยยับบางรายปลูกข้าว
2 รอบแล้ว ต้องระดมกำลังจากป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด
เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด เกษตรอำเภอจังหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เร่งด่วนที่จะต้องระดมการช่วยเหลือก่อนที่นาข้าวจะถูกหนูซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนนับหมื่นบุกกัดทำลายต้นข้าวขยายวงกว้างไปมากกว่านี้
 ในเบื้องต้น ได้ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ "ด้านศัตรูพืชในนาข้าวแล้ว"
อายุข้าว 40-55 วัน


ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า มอบหมายให้ นายพีระวัฒน์
สังข์น้อย เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด นายสมชัย  คล้ายทับทิม นายอำเภอ
นายสำเริง  บุญค้ำ เกษตรอำเภอ ประสานงานในการป้องกันกำจัด
ใช้สายไฟฟ้าโดยเครื่องปั่นไฟ ล่า กับดัก สุดท้ายคือ การใช้สารเคมี
โดยหมู่บ้านที่หนักที่สุดคือ ตำบลดงสิงห์ 18 หมู่บ้าน ตำบลผักแว่น
นายรัตนพงษ์  ศิริแว่น กำนัน นายสิงห์  พรมเลิศ ม.4บ้านโนนเชียงบัง
นายเกษม  พรมเลิศ ม.1 บ้านคางฮุง นายสำราญ สินธิวาส ม.6 บ้านบาก
ผู้ใหญ่บ้าน ประสานงานอย่างใกล้ชิด พร้อมออกประกาศเตือนเกษตรกร
ริมฝั่งลำน้ำชี จากอำเภอจังหาร เชียงขวัญ ธวัชบุรี โพธิ์ชัย ทุ่งเขาหลวง
อาจสามารถ พนมไพร พื้นที่กว่า 200,000 ไร่ ให้เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล
ลงตรวจสอบดูแลพื้นที่ ออกประกาศเตือนด่วน
                                                  //////////////////



วัชรินทร์  เขจรวงศ์/รายงาน
โทร.085-7567108
E-mail:[email protected]

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 334310เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การป้องกัน และกำจัดหนู หนู คือ ศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่ง สามารถทำลายพืชผลของเกษตรกรได้เป็นจำนวนมหาศาล ผลผลิตที่ได้รับจึงมักจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แล้วท่านจะปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกระนั้นหรือ ? มาซิ........ มาช่วยกันป้องกัน และกำจัดหนูศัตรูร้ายให้หมดสิ้นไป ลักษณะทั่วไปของหนู 

 หนูมีกี่ชนิด หนูที่พบในไร่นาหรือใกล้นามักจะเรียกว่า หนูนา มีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หนูท้องขาว หนูสวน หนูหริ่งหางยาว หนูหริ่งหางสั้น การขยายพันธุ์ หนูจะขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เฉลี่ยอายุ 2-3 เดือนก็สามารถผสมพันธุ์ได้ ปีหนึ่ง ๆ ตกลูกได้ 4-6 ครอก ๆ หนึ่งประมาณ 6-10 ตัว ที่อยู่อาศัย และอาหาร หนูมักจะขุดรูอยู่ใต้ดิน หรือหลบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่รก ๆ หรือแหล่งที่มีอาหารมาก ๆ และหนูจะกินอาหารมาก ๆ โดยหนูจะกินอาหารไม่เลือก ปริมาณที่กินเข้าไปเท่ากับ 1 ใน 10 เท่าของน้ำหนักตัว ต่อวัน และฟันแทะของหนูจะยาวปีละ 6-9 นิ้ว มันจึงจำเป็นต้องแทะเพื่อไม่ให้ฟันยาวเกินไป ร่องรอยของหนู เมื่อหนูออกกินอาหารที่เป็นพืชผลของเกษตรกรแล้ว มักจะทิ้งร่องรอยการทำลายไว้ให้สังเกตได้โดยง่าย เช่น รอยเท้า ทางเดิน มูลที่ตกหล่น ซากพืชที่ถูกทำลาย การสำรวจร่องรอย เกษตรกรจะต้องหมั่นสำรวจแปลงไร่นาเสมอ ๆ เพื่อจะได้ทราบแหล่งที่อยู่อาศัย และหากพบร่องรอยการทำลายพืชของหนูแล้ว ควรจะรีบป้องกันและกำจัดโดยเร็ว การป้องกัน และกำจัดหนูอย่างไรให้ได้ผลดี << กลับหน้าสารบัญ 1. การป้องกัน และกำจัดโดยใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว โดยใช้ยาเบื่อหนูซิงค์ฟอสไฟด์ 80% (ผงสีดา) ผสมกับเหยื่อปลายข้าว หรือข้าวโพดป่นในอัตราส่วน 1/100 โดยน้ำหนัก จะห่อด้วยใบตอง ห่อละ 1 ช้อนแกง หรือจะวางจุดละ 1 ช้อนแกงแล้วคลุมด้วยแกลบเพื่อป้องกันความชื้น โดยนำเหยื่อไปวางตามทางเดิน หรือร่องรอยที่สำรวจพบ เป็นจุด ๆ ละ 1 ห่อ หรือ 1 ช้อนแกง ทุกระยะ 5-15 เมตร เมื่อหนูมากินเหยื่อนี้จะตายภายใน 24 ชั่วโมง ข้อสังเกตุ การใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ขอแนะนำให้ใช้กำจัดหนูในหน้าแล้ง หรือก่อนเตรียมการเพาะปลูก และควรใช้เพียง 1 ครั้ง ก็จะสามารถกำจัดหนูได้ทั่วถึงอย่างรวดเร็ว เป็นการลดปริมาณหนูให้น้อยลง ถ้าใช้มากกว่า 1 ครั้งจะทำให้หนูเกิดการเข็ดขยาดต่อเหยื่อพิษชนิดนี้ 2. การใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า เช่น ใช้เหยื่อสำเร็จรูปแบบซอง หรือแบบก้อนขี้ผึ้ง เช่น ราคูมิน โบรไดฟาคูม โปรมาดิโอโลน ฟลอคูมาเฟน หรือยาหมันแอลฟลาคลอโรไฮดริน ให้วางไร่ละ 20 ซอง หรือ 20 ก้อน ตามคันนาหรือตามร่องรอยของหนู ห่างกันซอง/ก้อนละ 5-10 เมตร เมื่อหนูมากินเหยื่อนี้จะตายภายใน 2-8 วัน การวางยาเบื่อหนูชนิดนี้ ควรวางเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง 3. การป้องกันและกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม เช่น การถางหญ้าหรือจุดไฟเผาบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู หรือใช้วิธีกล เช่น การขุดทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย วางกับดัก และการล้อมตี การใช้ยาเบื่อหนู และข้อปฏิบัติในการใช้ยาเบื่อหนู 

 

 1. ห้ามใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็วผสมกับยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า แล้วผสมกับเหยื่อโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้หนูเข็ดยาทั้งสองชนิด เป็นปัญหาที่จะต้องหาตัวยาใหม่มาใช้ในภายหลัง 2. ห้ามนำยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็วมาใส่ในภาชนะใส่เหยื่อ เพราะจะทำให้หนูเข็ดยา เข็ดที่ใส่เหยื่อ แล้วไม่ยอมกินเหยื่อ 3. การผสมยาเบื่อหนู จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในสลากยา หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล เช่น ถ้าผสมยาประเภทออกฤทธิ์ช้ามากเกินไปจะทำให้หนูเข็ดไม่ยอมกินยาอีก หรือถ้าผสมน้อยเกินไปหนูกินยาจะไม่ตาย และเกิดความต้านทานยาในภายหลัง 4. การใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า ควรเตรียมยาเบื่อหนูให้พอใช้ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก 5. การใช้ยาเบื่อหนู จะต้องวางเหยื่อพิษในที่ใส่เหยื่อเสมอ เพราะถ้าวางกับพื้นดิน ยาเบื่อหนูจะเกิดความชื้น และเสื่อมคุณภาพ ทำให้เสียเวลา และสิ้นเปลืองแรงงานโดยเปล่าประโยชน์ 6. ควรสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายทุกครั้งที่ใช้ยาเบื่อหนู 7. ควรถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่ซัก และอาบน้ำ ก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ 8. ภาชนะใส่ยาเบื่อหนูควรมีสลากติดครบถ้วนและเก็บภาชนะไว้ในที่เก็บยาเบื่อหนูโดยเฉพาะ และมีอากาศถ่ายเทได้ดี การปฐมพยาบาลขั้นต้น

 1. เมื่อมีอาการผิดปกติทางร่างกายที่เกิดจากการใช้ยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว ควรเอานิ้วมือสะอาดล้วงคอให้อาเจียน หรือดื่มน้ำเกลือเข้มข้น หากอาการยังไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว 2. เมื่อมีอาการผิดปกติทางร่างกายจากยาเบื่อหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า สังเกตได้จากจะมีเลือดไหลซึมหรือไหลไม่หยุดออกตามผิวหนัง หู ปาก ตา จมูก ควรบำบัดอาการเบื้องต้นด้วยการกินยาวิตามินเค จะทำให้เลือดแข็งตัว หากอาการยังไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

สวัสดีค่ะ

...เคยเรียนอยู่ร้อยเอ็ด 5 ปี

...ร้อยเอ็ด เพชรอีสาน พลาญชัยบึงงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมชั้นดี สตรีโสภา ทุ่งกุลาสดใส

...คำขวัญนี้ยังใช้อยู่หรรือเปล่าคะ

สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่  ผ้าไหมสาเกต  บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีชัยมงคล  งามน่ายลบึงพลาญชั เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ....คำขวัญแรก ประพันธ์โดยคุณมงคล  ตั้งภักดี ปี 2529 ตอนนี้เสียชีวิตแล้วครับ  แต่มาต่อคำสุดท้ายคือ  "งานใหญ่บุญผะเหวด"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท