ฝันไปข้างหน้า : มหาวิทยาลัยนเรศวรและการเป็นศูนย์กลางการศึกษากฎหมายผังเมือง และการจัดการผังเมืองในภาคเหนือตอนล่าง


ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับกฎหมายผังเมือง

 ผมมีฝันมาแชร์ และเป็นฝันที่ผมจะฝันออกมาดังๆ ถ้ามีโอกาสจะทำก็จะทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ ใครเอาแนวคิดไปสานต่อเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติบ้างก็ยังดีครับ

****************************************************************

สืบเนื่องจากการที่ผมมาศึกษาต่อในสาขาวิชากฎหมายและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่มหาวิทยาลัยAberdeen ประเทศสก๊อตแลนด์ ในเทอมที่ ๑ ที่พึ่งผ่านไปนี้ผมศึกษาในสองรายวิชา คือ กฎหมายผังเมืองระหว่างประเทศ และกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ หลังจากศึกษาแล้วได้แรงบันดาลใจอยากเล่าสู่กันฟังครับ ดดยเฉพาะในวิชากฎหมายผังเมือง

สำหรับในต่างประเทศนั้นการศึกษากฎหมายผังเมืองสมัยใหม่ในสถาบันการศึกษาชั้นสูงมีมานานพอสมควรแล้ว เป็นเวลาหนึ่งร้อยปี เนื่องจากกฎหมายผังเมืองสมัยใหม่ฉบับแรกของโลกเกิดที่สหราชอาณาจักร ในปี ๑๙๐๙ [ ที่จริงมีกฎหมายที่มีผลเป็นการจัดรูปแบบผังเมืองก่อนหน้านั้นหลายฉบับ แต่ ไม่ได้เป็นการวางผังเมืองอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน]และมีวิวัฒนาการต่อมา เรื่อยๆ จนปัจจุบัน ในสหราชอาราชจักรเอง ไม่ได้มองกฎหมายผังเมืองในมิติของการจัดวางสิ่งก่อสร้างให้เรียบร้อย สวยงามอย่างเดียว เนื่องด้วย เดิมทีนั้นเป้าหมายที่แทรกอยู่ของกฎหมายผังเมือง คือเจตนาในการป้องกันโรคระบาดที่ระบาดอยู่ทั่วอังกฤษ ในขณะนั้น เช่นกาฬโรคด้วย นอกจากนี้ผลอีกประการหนึ่ง คือเป็นการจัดการบ้านเรื่อนให้เรียบร้อยถูก สุขลักษณะ สะดวกแก่การใช้สอย และเป็นการป้องกันเหตุรบกวนรำคาญไปในขณะเดียวกัน

ปัจจุบันกฎหมายผังเมืองของสหราชอาณาจักร ถูกมองในลักษณะของเครื่องมือในการควบคุมทิศทางการพัฒนาของประเทศ"Development Control"โดยรวม และถูกเรียกชื่อว่า Town and Country Planning Law ACT  ในสหราชอาณาจักร แบ่งเป็นสี่ประเทศ คือ อังกฤษ(England) สก็อตแลนด์ (Scotland) เวลล์(Wales) และไอร์แลนด์เหนือ(Northern Irland) แต่ละประเทศมีอำนาจบัญญัติกฎหมายภายในของตนเอง (คล้ายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา) นั่นทำให้กฎหมายผังเมืองของสหราชอาณาจักรแม้จะจัด อยู่ในระบบที่เรียกว่า Discretionary System เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในปลีกย่อย ถึงสี่ แบบ อย่างไรก็ตาม ลักษณะร่วมกัน คือ ระบบการจัดวางผังเมืองแบบนี้จะมีแผนแม่บทการพัฒนาที่เรียกว่า "development Plan" แต่แผนแม่บทการพัฒนานี้จะไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งต่างจากระบบของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า Euclidean System ที่แผนกำหนดย่าน Zoning Ordinance จะมีผลบังคับทางกฎหมาย

โดยมิติการมองกฎหมายผังเมืองในลักษณะที่กว้างขวางนี้เองทำให้กฎหมายผังเมืองไม่ได้มีผลเป็นเพียงเฉพาะการจัดวางสิ่งก่อสร้างในเขตเมืองเท่านั้น ระบบการผังเมือง ของสหราชอาณาจักร ยังรวมไปถึงระบบการจัดการมลภาวะ และสิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยาการต่างๆ รวมทั้งการใช้พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น สัตว์ และพืชอีกด้วย  ระบบการควบคุมการพัฒนานี้ จะเป็นระบบที่ประสานรร่วมกันเพื่อตอบสนองนโยบายของประเทศที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน

ในการนี้ ภารกิจของนักกฎหมายผังเมือง และนักผังเมืองในสหราชอาณาจักร จึงเป็นการทำงานร่วมกันกับศาสตร์อื่นๆ แบบสหศาสตร์ที่จะต้องสอดประสานไปพร้อมๆ กัน เพื่อ เดินไปให้ถึงเป้าหมายร่วมกันในปัจจุบันของสหราชอาณาจักร คือ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน"

วิชากฎหมายผังเมืองในประเทศไทยมีมานานพอสมควรแล้ว และมีการเปิดสอนในหลายสถาบัน แต่ส่วนใหญ่มักจะทำการสอนในสองคณะ คือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์  หรืออาจจะมีการสอนในหลักสูตรการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง

   สำหรับคณะนิติสาสตร์ จากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ตพบว่า ส่วนใหญ่จะสอนในรายวิชา กฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งจะสอนรวมไปกับกฎหมายอื่นๆ ด้วย เนื่องจากลักษณะเฉพาะตัวของกฎหมายไทยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องการก่อสร้าง การใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการจัดวางผังเมืองมีหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง ยังกระจัดกระจาย และไม่ได้มีการจัดทำเป็นประมวลกฎหมายการวางผังเมือง และการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเช่นในประเทศฝรั่งเศสที่มีการCodify กฎหมายในสาขานี้ไว้ด้วยกัน [ทั้งๆที่ประเทศไทยจัดอยู่ในระบบ Civil Law  แต่นับจากเราจัดทำประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณราความพ่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายอาญาทหาร ประมวลรัษฎากร ก็ยังไม่เคยมีการจัดจำประมวลกฎหมายอะไรอีกเลย(หากข้อมูลผิดพลาด หรือ ข้อมูลผมเก่าช่วยแนะนำด้วยนะครับ)]  

ยิ่งกว่านั้นในสาขานิติศาสตร์ไทยเอง กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองก็มักจะถูกละเลยไม่ค่อยมีนักนิติศาสตร์ที่เข้ามาสนใจ ในเรื่องนี้มากนัก ทั้งๆ ที่บทบาทของกฎหมายผังเมืองในต่างประเทศในปัจจุบันมีความสำคัญเปรียบเสมือนแผนแม่บทที่ควบคุมทิศทางการพัฒนาของประเทศทีเดียว [ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เรารู้ว่ามี แต่ไม่ค่อยมีผลในทางปฏิบัติอยู่แล้ว]

คำถามเริ่มต้นในหัวผมขณะนี้ คือ มหาวิทยาลัยจะทำอย่างไร จึงจะให้การบังคับใช้กฎหมายผังเมืองของไทยที่มีอยู่นี้ มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ ในฐานะเครื่องมือในการควบคุมทิศทางการพัฒนาของประเทศ และจะต้องเป็นการบังคับใช้ อย่างที่เป็นสหศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสังคมไทยมีความเข้าใจในบทบาทของกฎหมายผังเมืองในลักษณะนี้ด้วย

ฝันที่ผมมีในขณะนี้ คือ ในบุคคลากรในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีพันธกิจในการสร้างสรรค์สังคมไทย ผมฝันที่จะเห็น หน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ผมทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคณะสถาปัตตยกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะ วิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมได้เข้ามาร่วมมือกัน สร้างความเข้าใจให้กับสังคมและสร้างประสิทธิภาพในกระบวนการจัดทำ และการใช้บังคับกฎหมายผังเมือง เพื่อให้การพัฒนาประเทศของเรามีประสิทธิภาพ มีทิศทางและ ผังเมือง ตลอดจนแผนพัฒนาต่างๆ นั้นใช้ได้จริง ไม่เป็นเพียงกระดาษที่ม้วนอยู่ในกล่องอีกต่อไป และมีการจัดสอนแบบองค์รวมในทุกมิติ ตอบสนองการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 331686เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับ ความรู้ครับ

จะพยายามช่วยนำไปต่อยอดให้นะครับ

ขอบใจที่แวะมาเยี่ยมครับ

ฝันต้องเป็นจริงเพื่อความยั่งยืนของชุมชนและประเทศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท