คิดวิเคราะห์ในการทำงาน


พอพูดว่า “วิเคราะห์” สาวๆ หลายคนคงนึกภาพ การเก็บข้อมูล เอามา Process แล้วก็รายการเป็นผลการวิเคราะห์ออกมา
แต่ที่จริง ไม่ว่าจะมีข้อมูลดีขนาดไหน มี Process ขั้นตอนในการวิเคราะห์ที่หรูเลิศอลังการยังไง แต่สุดท้ายถ้าไม่สามารถเอาผลที่วิเคราะห์ออกมา ใช้ตัดสินใจเพื่อเปลี่ยนให้เป็น Action ที่เหมาะสมที่สุดต่อไปได้ ก็ไม่มีความหมาย

ถ้าเกิดสาวๆ มีเจ้านายที่มาบอกให้เราช่วยวิเคราะห์ข้อมูล อาจจะมีตัวเลขร้อยแปด ที่เราสรุปออกมาเป็นกราฟ เป็นตารางได้มากมาย แต่ถ้าบรรทัดสุดท้ายบอกกลับไปไม่ได้ว่า “แล้วไงต่อ” ควรจะทำอะไรต่อไป ก็เหนื่อยทำกราฟเปล่าๆ ค่ะ


ไม่ต้องพูดถึงคนที่ทำงานในสายการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นแบบวิชาการ หรือวิจัยผู้บริโภค เหล่าชาวมาร์เก็ตติ้ง แม้แต่งานขายที่ต้องวางแผนการทำยอดขาย ไม่ว่างานอะไรก็ตาม “ความสามารถในการคิดวิเคราะห์” เป็นทักษะสำคัญมากที่จะทำให้เราก้าวขึ้นไปในสายงานได้

ปกติแล้ว “ความสามารถในการคิดวิเคราะห์” หมายถึงอะไร? วิธีการคิด วิเคราะห์ ข้อมูล

โดยปกติถ้าพูดถึงการวิเคราะห์ ก็คือการรวบรวมเอาข้อมูลต่างๆ เท่าที่มีมา
”ตีความ” “ตัดสินใจ” เพื่อนำไปสู่ “ข้อสรุป” ที่เอาไปใช้ประโยชน์ได้

ถ้ามีงานให้วิเคราะห์มาวางตรงหน้า แล้วเวลา “คิด” จะต้องทำยังไงดี??? ไปดูขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นกันค่ะ

ฟังแล้วอาจจะไม่เห็นภาพ ไปยกตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ!

ก่อนจะเริ่ม “คิดหรือวิเคราะห์” ก่อนอื่นก็ต้องมีข้อมูลก่อน พอเรามีข้อมูลที่ตรงกับหัวเรื่องของเราแล้วก็ เอามา “แบ่งกลุ่ม” ให้อยู่ในปริมาณหรือขนาดที่ “ง่ายต่อการวิเคราะห์” ค่ะ

และ การที่เราจะ “แบ่งกลุ่ม” ข้อมูลที่จะเอามาวิเคราะห์ได้ ก็ต้องเคลียร์กับตัวเองก่อนซักนิดค่ะ ว่า “จะเอาข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เพื่ออะไร” หรือว่าเป็นการ เคลียร์วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูลของเราเองก่อน

เช่น สมมติตัวอย่างค่ะ

เราอยากรู้ว่า สินค้าของบริษัทเรา มีผลตอบรับใน “พื้นที่ไหน” “ลูกค้าแบบไหน” “ความพึงพอใจเป็นเช่นไร”

เวลาที่เรารวบรวมข้อมูลก็คงจะมีหมวดหมู่ต่างๆ ของข้อมูล เช่น รายงานยอดขาย, รายการจากเซลล์, ผลตอบแบบสอบถามของลูกค้า, รายงาน Claim จากลูกค้า ได้มาแล้ว ก็ต้องแบ่งแยกข้อมูลเหล่านี้เป็นกลุ่มต่างๆ อีกที

เอามาแยกตามพื้นที่ จะแบ่งตามภาค หรือจะแบ่งเป็นระดับจังหวัดดี ก็ต้องรู้ว่าจะเอาผลวิเคราะห์ของข้อมูลนี้ไปใช้ยังไง จะได้จัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้ได้ตามที่จะเอาไปใช้

เอามาแยกตามประเภทลูกค้า จะแบ่งเป็นแบบไหนดี ซึ่งก็อาจจะไม่เหมือนกันแล้วแต่สินค้า อย่างเช่น แบ่งตาม Demographic ตามอายุ ตามเพศ ตามรายได้ ตามการศึกษา หรือ จะแบ่งตามพฤติกรรม เช่น ความถี่ในการซื้อของ หรือ ตาม attitude หรือ Value จะแบ่งแบบไหนดี ก็ต้องถามตัวเองก่อนว่าจะเอาผลวิเคราะห์นี้ไปทำอะไรบ้าง

พอเราเอาข้อมูลเหล่านี้มาจัดกลุ่มใหม่แล้ว ก็จะทำให้เริ่มมองเห็น เช่น “ลักษณะพิเศษของความพอใจของลูกค้าแต่ละภาคที่มีกับสินค้าของเรา” หรือว่า “ ความเหมือนหรือความต่างในความรู้สึกของลูกค้าแต่ละกลุ่มอายุ”

เราก็สามารถเอามาเล่น ปรับมุมมองจากมุมต่างๆ เพื่อ “เปรียบเทียบ” และ “ตีความ” ข้อมูลนั้น ออกมาได้ค่ะ
เป็นก้าวแรกของการเริ่ม “คิดและวิเคราะห์ข้อมูล”


พอทำนานๆ ไปเริ่มเก่งกล้าสามารถแล้ว ก็จะทำขั้นตอนเหล่านี้ได้อย่างเป็นอัตโนมัติมากขึ้น

  • ตั้งจุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลแต่ละอย่าง ว่าจะเก็บอะไรบ้าง และเพื่ออะไร ให้เข้ากับหัวเรื่องที่ต้องการ

  • เก็บข้อมูล นำมา Process

  • เปรียบเทียบจากแต่ละมุมมอง สรุปสถานการณ์ปัจจุบันและสาเหตุ

  • ตัดสินใจเพื่อหาทาง Action ในขั้นต่อไป


นั่นก็คือ ในขั้นตอนแรกสุด เราควรจะตั้งจุดประสงค์ไว้แล้วว่าเราจะเก็บข้อมูลนั้นๆ ไปเพื่อดูอะไรบ้าง พูดอีกอย่างก็คือ เพื่อเอาไปดูว่าเรื่องที่เราคิดเดาเอาไว้ในใจถูกหรือเปล่า (ถ้าเป็นวิชาวิทยาศาสตร์สมัยเรียน ก็เรียกว่า สมมติฐานไงคะ คุ้นๆ มั๊ย) แล้วเอาข้อมูลนั้นมาสนับสนุนหรือปฎิเสธความคิดของเรานั้นเองค่ะ !!  

คำสำคัญ (Tags): #คิดวิเคราะห์
หมายเลขบันทึก: 331684เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท