Note book ของนักส่งเสริมรุ่นเก๋า


           จากบันทึกที่แล้ว  ความแตกต่างระหว่าง...สองเรา  ผมได้บันทึกถึงความความแตกต่างกันของนักส่งเสริมการเกษตร   ที่ปัจจุบันจะมีความแตกต่างกันในหลายๆ  ไม่ว่าจะเป็นอายุ  ประสบการณ์  ทักษะด้านชุมชน  ไอที ความรู้ใหม่ๆ  ฯลฯ  แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่   ผมคิดว่าคนเรานั้นเป็นนักปรับตัวที่เยี่ยมยอด  ยังไงก็คงจะปรับและเชื่อมโยงความต่างเหล่านั้นได้อย่างไม่ยากเย็น  งานก็จะลื่นไหล ถ่ายทอดและเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานให้กันและกัน  ช้าเร็วบ้างตามแต่ละพื้นที่และวัฒนธรรมการทำงาน...

           เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว   ผมได้มีโอกาสลงไปเยี่ยมเยียนสำนักงานเกษตรอำเภอปางศิลาทอง   เจอวิธีการแก้ปัญหาของนักส่งเสริมการเกษตรรุ่นเก๋า คือพี่สมชาย  ศรีทิพย์  ที่ทำงานส่งเสริมมาเกิน 25 ปี แล้ว แต่ด้านคอมพิวเตอร์นั้นไม่สันทัดเอาเสียเลย  ไม่ว่าจะใช้โปรแกรมอะไร   อยากทราบไหมครับว่าพี่เขาใช้แนวทางไหน

           ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไร  เดี๋ยวนี้เขาก็จะมีการเก็บ-สำรวจ-ขึ้นทะเบียนไปเสียทุกอย่าง  จนหลายคนทำงานส่งเสริมจะไม่เป็นเอาเสียเลย   เพราะหาเวลาทำงานตามจุดมุ่งหมายของงานไม่ค่อยมี ไม่ว่าจะน้ำท่วม  ฝนแล้ง  ประกันรายได้ โรค-แมลงระบาด ก็ล้วนแต่ทำงานเฉพาะหน้าเชิงรับไปเสียทุกอย่าง  และทุกครั้งที่สำรวจ-ขึ้นทะเบียนก็จะมีการบันทึกข้อมูลออนไลน์  ข้อนี้รุ่นเก๋าก็ไม่ค่อยสันทัดอีกนั้นแหละ  ดังนั้นการจะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่จัดเก็บข้อมูลก็แทบจะไม่มีเลย

          พี่สมชายเขามีวิธีครับ  ใช้โน้ตบุ๊คส่วนตัวเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้  เวลาสำรวจข้อมูลอะไรมาก็จะนำมาบันทักในโน้ตบุ๊คนี้เสมอ   เวลาลงพื้นที่ก็จะนำติดตัวไปด้วย   จะใช้งานก็หยิบเปิดใช้ได้ทันที  มีครั้งหนึ่งในพื้นที่มีการสอบถามข้อมูลเกษตรกร 2-3 รายเกี่ยวกับว่ามีเลขบัตรประจำตัวประชาชนอะไร  มีนากี่ไร่  พี่เขาตอบได้ทันทีครับ  เพราะเพียงแต่ล้วงไปในย่ามแล้วเปิดข้อมูลด้านการเกษตรของหมู่บ้านนั้นมาอ่าน...อิอิ ตอบได้

 


ทุกๆ ข้อมูลจะถูกนำมาบันทึกลงโน้ตบุ๊คส่วนตัวที่ไม่ต้องเปลืองไฟฟ้าหรือซื้อหาในราคาแพงๆ

 

 

       นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของนักส่งเสริมการเกษตรรุ่นเก๋าที่ปรับวิธี  และเครื่องมือเพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลลงในสมุด(โน้ตบุ๊ค)ส่วนตัว   นี่หากว่าให้พี่เขาสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ลงในคอมฯ (ชีตตาราง) และใช้ได้ด้วยตัวเอง  ก็จะทำให้พี่เขาได้เห็นช่องทางที่ดีๆ อันจะเกิดประโยชน์ต่องานอย่างมหาศาล   นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาที่หน้างานครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์ป่าสัก  28  ม.ค. 2553

หมายเลขบันทึก: 331679เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

นวตกรรม โน๊ตบุ๊ค ไม่มี Virus กิน นิ

สวัสดีค่ะ ..คุณสิงห์ป่าสัก

ได้อ่านเรื่องนี้ แล้วทำให้คิดถึงคุณแม่ค่ะ

คุณแม่ก็จะเป็นแบบนี้เหมือนกัน

แต่ที่เห็นได้ชัดเลยนะคะ ท่านจดเบอร์โทรศัพท์ทุกคนลงใน note book ค่ะ

พอจะโทรหาใครทีบางครั้งก็ใช้ เจ้า note book คู่ใจ นี้ขึ้นมาเปิดค่ะ

เรียกว่าเป็นการผสมผสานได้อย่างเข้ากันเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ นะคะ ^^

สวัสดีครับ

  • มารายงานตัวแล้วครับ
  • โน๊ตบุคหายไปหลายหน้าเลย อิๆ

เคยทำเหมือนกันตอนอยู่ตำบล

 ทำเนียบกลุ่ม เอยรายชือ ต่างๆและที่ดีกว่านี้คือเวลาเขาเลือกตั้งบัญชีรายชื่อ สส13 ดึงมาเก็บไว้ส่วนตัว เยี่ยมมากๆ

ขอบคุณมาก

  •  อ.หมอ JJ 2010
  • ใช่แล้วครับท่าน
  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมยามครับ

 

  • สวัสดีครับน้อง เพลินเพลง
  • ยินดีที่ได้ ลปรร. ผ่านบล็อกครับ
  • อิอิ...วิธีเก่าๆ แต่ใช้ได้เสมอนะครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • สวัสดีครับท่าน หนุ่ม ร้อยเกาะ
  • สบายดีนะครับ
  • อย่าให้หายไปนานนะครับ
  • เดี๋ยวจะเขียนไม่ออก
  • อิอิ..
  • สวัสดีครับพี่ไมตรี เกษตรยะลา
  • เยี่ยมมากเลยครับ  สส.13 รับรองไม่มีชื่อตก
  • รุ่นเก๋าแล้วมีอะไรดีๆ ก็บันทึกมาแบ่งปันบ้างนะครับ
  • เผื่อคนรุ่นใหม่ๆ อาจแวะมา
  • ขอบพระคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท