nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

มาตรการบริหารกำลังคนเพื่อรองรับโครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนสามัญ


ระบบราชการโดยรวมกำลังเป็นองค์กรผู้สูงอายุ ถ้าหายังไม่มีมาตรการที่เหมาะสมมารองรับ จะเกิดความไม่สมดุลของกำลังคน เพราะข้าราชการปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ใน Generation X ซึ่งแก่ตัวลงและทยอยเกษียณอายุ ขณะที่ข้าราชการรุ่นใหม่ Generation Y มีจำนวนน้อยและเติบโตไม่ทัน

        การที่ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ประชากรวัยกำลังแรงงานลดลง มีอัตราการพึ่งพิงสูงขึ้น ข้าราชการจำนวนมากอยู่ในวัยสูงอายุและเริ่มเกษียณอายุราชการ หลายส่วนราชการจะมีข้าราชการอายุเฉลี่ยสูงเกิน 40 ปี  และจากการคาดการณ์ของ    ก.พ. อีก 10 ปี จากนี้ ส่วนราชการเกินครึ่งจะมีอัตราเกษียณอายุเกินกว่าร้อยละ 30 มีบางสายงานมีอัตราเกษียณเกินกว่าร้อยละ 35 ขึ้นไป เช่น สายงานนักบริหาร สายงานอำนวยการ สายงานพยาบาลเทคนิค ซึ่งนั่นหมายความว่า ระบบราชการโดยรวมกำลังเป็นองค์กรผู้สูงอายุ ถ้าหายังไม่มีมาตรการที่เหมาะสมมารองรับ จะเกิดความไม่สมดุลของกำลังคน เพราะข้าราชการปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ใน Generation X  ซึ่งแก่ตัวลงและทยอยเกษียณอายุ ขณะที่ข้าราชการรุ่นใหม่ Generation Y  มีจำนวนน้อยและเติบโตไม่ทัน        

มาตรการบริหารกำลังคนเพื่อรองรับโครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนสามัญ

        เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเน้นการใช้กำลังคนสูงอายุที่ยังคงรับราชการอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด   เตรียมการเพื่อรองรับการสูญเสียกำลังคน   และสร้างสมดุลของกำลังคนในแต่ละช่วงอายุในส่วนราชการ   รายละเอียดมาตรการต่างๆ มีดังนี้

        1. มาตรการบริหารกำลังคนเพื่อรองรับข้าราชการสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น 
            มีแนวทางการดำเนินการดังนี้ 
            ก) ใช้ประโยชน์จากข้าราชการสูงอายุและรักษาข้าราชการพลเรือนที่จะเกษียณอายุซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญหรือความสามารถเฉพาะตัวและหาผู้อื่นมาปฏิบัติงานทดแทนได้ยากให้รับราชการต่อไป            
            ข) ศึกษา ทบทวนและพัฒนาระบบการเกษียณอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มจำนวนข้าราชการสูงอายุในระบบราชการที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอัตราการสูญเสียข้าราชการในบางสายงานเนื่องจากการเกษียณอายุ 
            ค) พัฒนาศูนย์เพิ่มและปรับเปลี่ยนทักษะให้กับข้าราชการสูงอายุที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เดิมซึ่งต้องใช้ความชำนาญและทักษะทางกายภาพได้

         2. มาตรการเตรียมการเพื่อรองรับการสูญเสียกำลังคนเนื่องจากการเกษียณอายุ 
             มีแนวทางการดำเนินการดังนี้  
             ก) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการดำเนินการวางแผนกำลังคน 
             ข) ส่งเสริมให้ส่วนราชการพัฒนาระบบการวางแผนเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการบริหารงาน (Succession Plan) สำหรับเตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมในการดำรงตำแหน่ง 
             ค) ส่งเสริมให้ส่วนราชการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ 
             ง) วางแผนการสรรหาบุคลากรในสายงานที่ขาดแคลน   
             จ) ร่วมกับส่วนราชการดำเนินการทบทวนสายงาน เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลังคนและรูปแบบการจ้างงาน

         3. มาตรการสร้างความสมดุลของกำลังคนในส่วนราชการ 
             มีแนวทางการดำเนินการดังนี้ 
             ก) ใช้มาตรการเกษียณอายุก่อนกำหนดเพื่อถ่ายเทข้าราชการสูงอายุ 
             ข) เพิ่มจำนวนข้าราชการในบางระดับในบางสายงาน ซึ่งเป็นสายงานหรือวิชาชีพขาดแคลน 
             ค) ส่งเสริมส่วนราชการให้ตระหนักถึงความแตกต่างของช่วงอายุ 
             ง) ศึกษาเพื่อพัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับความหลากหลายของกำลังคนในแต่ละช่วงอายุและแนวโน้มข้าราชการสูงอายุเพิ่มขึ้น

        โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ และให้มีการนำมาตรการบริหารกำลังคนรองรับโครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนสามัญ ไปปฏิบัติอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. ร่วมมือกับส่วนราชการเป็นรายกรม/กระทรวงในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์

 ที่นำเสนอมานี้เป็นข่าวการประชุม ก.พ. ครั้งที่  1/2553  เมื่อวันที่  11  มกราคม  2553 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเป็นข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวง ทบวงไหนก็ตาม และที่สำคัญ ข้าราชการกรุงเทพมหานครก็คงหลีกหนีไม่พ้นมาตรการนี้แน่ ๆ แล้วเราคงได้เตรียมตัวไปพร้อม ๆ กันนะ เพื่อน ๆ Gen X ทุกคน

ที่มาของข้อมูล

หมายเลขบันทึก: 329873เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2010 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท