ต้นไม้ประจำจังหวัดประเทศไทย 77 จังหวัด


ต้นไม้ประจำจังหวัด เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ตะวันตก ตะวันออก ใต้

ประเทศไทยมี 77  จังหวัด

ต้นไม้ประจำประเทศไทยคือ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ


        


  ต้นไม้ประจำแต่ละจังหวัดกำหนดให้มีต้นไม้ประจำจังหวัด เมื่อ 1 กพ. 2537


   ภาคเหนือ   

<p></p>

1. กำแพงเพชร  สีเสียดแก่น   ชื่ออื่น สีเสียดเหนือ หรือสะเจ

<p></p>

2. เชียงราย    กาสะลองคำ ชื่ออื่น ปิ่นทอง สะเภา อ้อยช้าง จางจืด สำเภาหลามต้น

<p></p>

3. เชียงใหม่ ทองกวาว  ชื่ออื่น ก๋าว กวาว จอมทอง จ้าจาน                                  

<p></p>

4. ตาก   แดง   ชื่ออื่น ปรน สะกรอม ตะกร้อม เพร่ จาลาน คว้าย ไคว หรือกร้อม

<p></p>

5. นครสวรรค์  เสลา      ชื่ออื่น  เกรียบ ตะเกรียบ ตะแบกขน เสลาใบใหญ่

<p></p>

6. น่าน   กำลังเสือโคร่ง  ชื่ออื่น กำลังพญาเสือโคร่ง 

<p></p>

7.  พะเยา  สารภี          ชื่ออื่น สารภีแนน  สร้อยพี

<p></p>

8. พิจิตร   บุนนาค        ชื่ออื่น  ปะนาคอ นาคบุตร สารภีดอย ค้ำก่อ ก๊า ก่อ

<p></p>

9.  พิษณุโลก   ปีบ       ชื่ออื่น  กาซะลอง

<p></p>

10. เพชรบูรณ์  มะขาม  ชื่ออื่น หมากแกง ตะลูบ ขาม

<p></p>

11.  แพร่  ยมหิน         ชื่ออื่น ยมขาว สะเดาช้าง มะเฟืองช้าง โด้โย่ง เสียดค่าย

<p></p>

12. แม่ฮ่องสอน   กระพี้จั่น

<p></p>

13. ลำปาง ขะจาว ชื่ออื่น กาซาว กระเจา กัเขา กะเซาะ กระเช้า กาจอ มหาเหนียว

<p></p>

14. ลำพูน  จามจุรี  ชื่ออื่น ก้าวปู ก้ามกุ้ง ก้ามกราม ฉำฉา สารสา  ลัง

<p></p>

15. สุโขทัย  มะค่าโมง  ชื่ออื่น มะค่าหลวง มะค่าใหญ่ 

<p></p>

 

<p></p>

      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

<p></p>

<p></p>

16. กาฬสินธุ์  มะหาด          ชื่ออื่น  หาดหนุน หาด ปาแต

<p></p>

17. ขอนแก่น กัลปพฤกษ์      ชื่ออื่น กานส์

<p></p>

18. ชัยภูมิ  ขื้เหล็กบ้าน       ชื่ออื่น ขี้เหล็กใหญ่ ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กแก่น ยะทา

<p></p>

19. นครพนม    กันเกรา       ชื่ออื่น ตำเสา ทำเสา มันปลา  

<p></p>

20. นครราชสีมา  สาธร ชื่ออื่น  กระเจ๊า ขะเจ๊าะ

<p></p>

21. บุรีรัมย์  กาฬพฤกษ์

<p></p>

22. มหาสารคาม พฤกษ์  ชื่ออื่น มะรุมป่า มะขามโคกซีก

<p></p>

23.มุกดาหาร ช้างน้าว ชื่ออื่นช้างโหม ช้างโน้ม กำลังช้างสาร ขมิ้นพระต้น ตาลเหลือง

<p></p>

24. ยโสธร  กระบาก       ชื่ออื่น กระบากขาว กระบากดำกระบากโคก กระบากช่อ

<p></p>

25. ร้อยเอ็ด  กระบก       ชื่ออื่น  ตระบก จะบก หมากบก มื่น มะลื่น หมักลื่น

<p></p>

26. เลย  สนสามใบ        ชื่ออื่น สนเขา จ๋วง เกี๊ยะเปลือกบาง เกี๊ยะเปลือกแดง

<p></p>

27. ศรีสะเกษ ลำดวน       ชื่ออื่น หอมนวล

<p></p>

28. สกลนคร   อินทนิลน้ำ ชื่ออื่น อินทนิล ตะแบกดำ

<p></p>

29. สุรินทร์  มะค่าแต้       ชื่ออื่น มะค่าหยุ่ม มะค่าหนาม แต้

<p></p>

30. หนองคาย ชิงชัน       ชื่ออิ่น ประดู่ชิงชัน ดู่สะแตน

<p></p>

31. หนองบัวลำภู  พะยูง    ชื่ออื่น แดงจีน ประดู่เสน ขะยูง

<p></p>

32. อำนาจเจริญ  ตะเคียนหิน ชื่ออื่น ตะเคียนทราย เหลาเดา

<p></p>

33. อุดรธานี  รัง     ชื่ออื่น เปา เปาดอกแดง ฮัง เรียงพนม

<p></p>

34. อุบลราชธานี  ยางนา ชื่ออื่น ยางตัง ยางแม่น้ำ ยางซษว ยางควาย ชันนา ทองหลัก

<p></p>


<p></p>

            ภาคตะวันตก

<p></p>

<p></p>

35.  เพชรบุรี    หว้า  ชื่ออื่น หัวขี้แพะ

<p></p>

36. ราชบุรี โมกมัน ชื่ออื่น มูกมัน มักมัน มูกน้อย

<p></p>

37. ลพบุรี   พิกุล  ชื่ออื่น  ซางดง  กุน  แก้ว

<p></p>

38. สมุทรปราการ  โพทะเล  ชื่ออื่น ปอมัดไซปอกะหมัด ไพร บากุ

<p></p>

39. สมุทรสงคราม จิกทะเล  ชื่ออื่น โคนเล

<p></p>

40. สมุทรสาคร สัตบรรณ  ชื่ออื่น พญาสัตบรรณ  ตีนเป็ด หัสบรรณ   

<p></p>

41. สระบุรี ตะแบก ชื่ออื่น  ตะแบกไข่ ตะแบกนา เปื่อยหางด่าง เปื่อยนา

<p></p>

42. สิงห์บุรี  มะกล่ำต้น  ชื่ออื่น  มะกล่ำตาช้าง มะโหดแดง มะหัวแดง

<p></p>

43. สุพรรณบุรี  มะเกลือ  ชื่ออื่น มะเกลื้อ ผีเผา

<p></p>

44. อ่างทอง  มะพลับ  ชื่ออื่น พลับ มะพลับใหญ่ ตะโกสวน

<p></p>


<p></p>

           ภาคกลาง

<p></p>

<p></p>

45. กรุงเทพมหานคร  ไทรย้อยใบแหลม ชื่นอื่น ไทรย้อย ไทรกระเบื้อง

<p></p>

46. กาญจนบุรี  ขานาง  ชื่ออื่น ค่านาง ช้างเผือกหลวง ลิงง้อ เปลือย

<p></p>

47. ฉะเชิงเทรา  นนทรี ชื่ออื่น ร้าง คางรุ้ง ช้าชม อะราง ละล้าง

<p></p>

48. ชัยนาท มะตูม ชื่ออื่น ตูม มะปี่ส่า ตุ่มดัง กะทันตาเถร

<p></p>

49. นครนายก  สุพรรณิการ์ ชื่ออื่น ฝ้ายคำ

<p></p>

50. นครปฐม  จันทร์หอม ชื่ออื่น จันทร์ขาว จันทร์พม่า จันทร์ชะมด  จันทร์

<p></p>

51. นนทบุรี   นนทรี  ชื่ออื่น  กระถินแดง กระถินป่า สารเงิน

<p></p>

52. ปทุมธานี  ทองหลางลาย ชื่ออื่น ปาริฉัตร ปาริชาติ ทองบ้าน ทองหลางลาย

<p></p>

53. ประจวบคีรีขันธ์  เกด ชื่ออื่น ครินี โรนี

<p></p>

54. ปราจีนบุรี  โพศรีมหาโพธิ์  ชื่ออื่น สลี ย่อง ปู โพ

<p></p>

55. พระนครศรีอยุธยา  หมัน

<p></p>


<p></p>

            ภาคตะวันออก

<p></p>

<p></p>

56. จันทบุรี  จัน ชื่ออื่น จันขาว จันลูกหอม จันอิน

<p></p>

57.  ชลบุรี  ประดู่ป่า  ชื่ออื่น  ประดู่เสน ดู่

<p></p>

58. ตราด  หูกวาง  ชื่ออื่น หลุมปัง ดัดมือ

<p></p>

59. ระยอง สารภีทะเล  ชื่ออื่น ทิง กระทิง เนาวกาน

<p></p>


<p></p>

             ภาคใต้

<p></p>

<p></p>

60. กระบี่   ทุ้งฟ้า            ชื่ออื่น ทุ่งฟ้าไก่ พวงพร้าว

<p></p>

61. ชุมพร   มะเดื่อชุมพร     ชื่ออื่น มะเดื่อ

<p></p>

62. ตรัง   ศรีตรัง               ชื่ออื่น  แคฝอย

<p></p>

63. นราธิวาส ตะเคียนชันตาแมว   ชื่ออื่น ตะเคียนชัน

<p></p>

64 นครศรีธรรมราช  แซะ         ชื่ออื่น กะแซะ

<p></p>

65. ปัตตานี  ตะเคียนทอง      ชื่ออื่น ตะเคียนใหญ่ จะเคียน แคน โกกี้

<p></p>

66. พังงา  เทพทาโร      ชื่ออื่น พลุต้นขาว จางหอม จะโคหอม จะโคต้น

<p></p>

67. พัทลุง  พะยอม        ชื่ออื่น  พะยอมแดง พะยอมทอง ขะยอม แคน

<p></p>

68. ภูเก็ต  ประดู่บ้าน      ชื่ออื่น   ประดู่กิ่งอ่อน อังสะนา

<p></p>

69. ยะลา  โศกเหลือง     ชื่ออื่น  โสกน้ำ ศรียะลา โสกใหญ่  โสกป่า

<p></p>

70. ระนอง อบเชย          ชื่ออื่น สมุลแว้ง มหาปรามฝนแสนห่า เชียกใหญ่

<p></p>

71. สงขลา สะเดาเทียม    ชื่ออื่น  สะเดาช้าง  สะเดาเทียม

<p></p>

72. สตูล  กระซิก            ชื่ออื่น  ซิก ครี้ สรี้

<p></p>

73. สุราษฏร์ธานี เคี่ยม      ชื่ออื่น เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง   เคี่ยมขาว

<p></p>

<p></p>

74.  อุตรดิดถ์                  ต้น สัก           

<p></p>

75.  อุทัยธานี                  ต้น สะเดา        

<p></p>

76.   สระแก้ว                  ต้น มะขามป้อม  

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

77. บึงกาฬ                ต้นสิรินธรวัลลี


<p></p>

 ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือวิชาการงานพืชสวนโลก 2549

 ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี


</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 329559เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สวัสดีค่ะคุณ ธนิตย์

    จะได้ทราบกันค่ะ เราเกิดหรืออยู่จังหวัดไหน ต้นไม้ประจำจังหวัดคือต้นอะไร

บางจังหวัดก็จะปลูกต้นไม้ประจำจังหวัดมากเป็นพิเศษ อย่างเช่นเชียงใหม่ก็มีปลูกต้นทองกวาวไว้ในต้วเมือง เวลาออกดอกพร้อมๆกันก็ดูสวยงาม ซึ่งตอนนี้กำลังออกดอกพอดีจนถึงต้นเดือนหน้า

    

    

           ต้นสัก จ. อุตรดิดถ์

ข้อมูลนี้ดีมากๆ ขอบคุณมากคะ

สวัสดีค่ะคุณพิมลวรรณ

  ขอบคุณค่ะ 

 ประเทศไทยเรามี สัญลักษณ์ประจำจังหวัดหลายอย่าง

  แต่เราไม่ค่อยทราบกัน เช่น  ตรา ประจำจังหวัด  คำขวัญ ประจำจังหวัด

   ต้นไม้ ประจำจังหวัด    ดอกไม้ ประจำจังหวัด    สี ประจำจังหวัด เป็นต้น

      ต้นยางนา จ.อุบลราชธานี

จังหวัดตัวเองก็เพิ่งรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณมณีวรรณ

  ค่ะมีหลายจังหวัดก้ยังไม่ทราบเหมือนกันว่าทราบชื่อแต่ไม่เคยเห็นต้นเลยค่ะ ที่พืชสวนโลก ก็มีปลูกไว้สวนหนึ่งเลยต้นไม้ประจำจังหวัด แต่บางจังหวัดไม่มีต้นไม้มาปลูกค่ะ เช่น ต้นกระซิก จ. สตูล

       ต้นมะขาม จ. เพชรบูรณ์

ไม่รู้ว่าท่านบรรหารจะเอาด้วยหรือเปล่าครับ นโยบายท่านจะทำเป็นเมืองแห่งการศึกษา จนทุกวันนี้จะหางานทำในจังหวัดไม่ได้อยู่แล้ว สงสัยท่านอยากให้กลับไปทำนา

ขอบคุณที่ไปเยื่ยมน่ะค่ะ  บันทึกนี้ได้ความรู้มากเลยค่ะ..บางจังหวัดก็ไม่รู้เลยว่าดอกไม้อะไร  ขอบคุณที่แบ่งปันน่ะค่ะ

ใจดี..ที่แบ่งปันจ้า..

สวัสดีค่ะคุณ สามารถ

   นโยบายทำเมืองการศึกษา แต่งานในจังหวัดไม่มีให้ทำ คงให้ไปทำต่างจังหวัดนะเพราะจังหวัดสุพรรณไม่มีบริษัทใหญ่ๆหรือเปล่า หรือโรงงานต่างๆก็อยู่ต่างจังหวัด  มีที่เรียน เพื่อให้เด็กต่างจังหวัดเข้ามาเรียนได้ไม่ต้องไปที่กทม.ทั้งหมด

แต่เวลาจบก็แยกย้ายไปทุกจังหวัดเพราะการจ้างงานของแต่ละสถานที่ ก็มีคนประจำอยู่แล้วก่อน การเข้าออกงานไม่ได้มีตลอด เพราะฉะนั้นเด็กรุ่นหลังจบออกมาจะว่างงานมาก หากไม่ทำเป็นของตัวเอง เดี๋ยวนี้ค้าขายมากจริงๆ เพราะคนที่เรียนไม่สูงก็มาทำเองไม่ไปเป็นลูกจ้าง อย่างเชียงใหม่ คนบนดอย มาค้าขายในเมืองมากๆ ทุกอย่างทีเดียวไม่ว่าจะร้านอาหารกลางคืน หรือกลางวัน ลักษณะคือ เขาเป็นคนขยันและพยายามนั้นเอง  คนที่จบปริญญา ก็ทำร้านเองมากๆเช่นกัน

พี่ดาว่างานที่จะรับเข้าทำเป็นลูกจ้าง ตามวุฒิที่จบ

     มีไม่พอกับผู้ที่เรียนจบเลย คนว่างงานจึงมากมาย

     ขอบคุณนะคะนำ เรือขายดอก ธรรมรักษา ดาหลา มาฝาก

   

สวัสดีค่ะคุณครู New

 พอดีข้อมูลที่นำมาลงไม่มีบอกดอกไม้ค่ะ

ขาดไป 3 จังหวัดหาดูจากgoogle มีดอกไม้ด้วย จึงบอกแค่ 3จังหวัด

จังหวัดอื่นๆคลิกตัวตามชื่อจังหวัดได้เลยนะคะ จะทราบหมดค่ะว่า ผู้ว่าชื่ออะไร

และมีอะไรประจำจังหวัดบ้าง

 

   ขึ้เหล็ก จ.ชัยภูมิ

สวัสดีค่ะคุณ PHATCHA

    76 จังหวัด ไม่มีภาพต้นไม้ให้ชม นะคะ

หากทราบว่าจังหวัดของตัวเองเป็นต้นอะไร

 คลิดดูในgoogle ดูนะคะ จะมีภาพต้นไม้

 ที่เราอยากทราบให้เราชม และประวัติ ฯ

   

     ต้นไทร   กรุงเทพมหานคร

เทพทาโร  เพิ่งทราบนี่ล่ะคะ

คุณกานดา สบายดีนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณPOO

  พี่ดาสบายดีค่ะ  พี่ดาคงได้คลิกชมบ้างแล้วละค่ะ

 ต้นเทพทาโรเป็นอย่างไรบ้างชื่อเพราะนะคะ

     มะเดื่อชุมพร จ.ชุมพร

จังหวัดนครปฐมต้นไม้ประจำจังหวัดคือต้นอะไรกันแน่ ใครรู้จริงบ้าง

- ระหว่างต้นจัน กับต้นจันทน์หอม ขอคำตอบหน่อย

- แล้วต้นไม้ประจำจังหวัดกับ ไม้มงคลพระราชทานเหมือนกันรึเปล่า

- ต้นไม้ประจำจังหวัดมีซ้ำกันได้หรือไม่

ใครรู้และมีข้อมูลอ้างอิง ช่วยตอบด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณpicha

      คุณถามมาก็ทำให้สงสัยเช่นกันค่ะ เพราะเมื่อดูข้อมูลจาก" วิกิพีเดีย "เป็น ต้นจัน แต่ในหนังสือที่กรมวิชาการเกษตร เป็นจันทร์หอม  คงมีความเข้าใจผิดกันแน่แท้ และคิดว่าน่าจะเป็น ต้นจัน ค่ะ เพราะระหว่าง ต้นจัน และ ต้นจันทร์หอม  นั้นเป็นต้นไม้คนละชนิดกัน            

       ดอกไม้ประจำจังหวัดนครปฐมคือ ดอกแก้ว นะคะ

  ( ตอนนี้ดอกแก้วกำลังดังเป็นที่ชื่นชอบของคนไทย อยากปลูก อยากหอม เพราะช่อง 7 ละคร 2 เรื่องออกอากาศพร้อมกัน  นางเอกชื่อดอกแก้ว นอกเรื่องหน่อยนะคะ  เพลงละคร ดอกแก้ว ชอบมากๆ )

   ส่วนต้นไม้ประจำจังหวัด และต้นไม้มงคล  ไม่เหมือนกันค่ะ  

  ต้นไม้มงคลนามของไทย ที่ใช้ไม้มาทำในพิธีมงคล

   เช่น ปลูกบ้าน สร้างอาคาร ฯ มี 9 ชนิด คือ

   1. ราชพฤกษ์      2. ทรงบาดาล      3. สัก              

   4. ขนุน             5. ไผ่สีสุก         6. กันเกรา

  7. ชัยพฤกษ์        8. พยุง             9. ทองหลาง

    ซึ่งโดยส่วนตัวอยากให้ทุกบ้านปลูกไว้เป็นเคล็ด เป็นมงคลกับบ้าน ความหมายของแต่ละต้น 9 ต้นดีมากๆกับทุกคนทุกบ้าน ทุกครอบครัว  เพราะเวลาเราปลูกบ้านกันส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้นำไม้มงคลทั้ง 9 อย่างมาทำพิธี แต่ต้นไม้ทั้ง 9 อย่างมีขายหรือหามาปลูกได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีพื้นดินปลูกเราก็ปลูกในกระถางได้เช่นกัน หมั่นเปลี่ยนดิน ตัดแต่งได้เพื่อต้นไม้ได้อายุยืนอยู่กับบ้านเราได้นาน(ที่บ้านก็ปลูกในกระถางค่ะ ต้นไหนตายเราก็นำมาปลูกใหม่ได้ ให้มี 9 ชนิดไว้ในบ้านเสมอ สบายใจ อบอุ่นค่ะ)  หรือหากมีการรณรงค์การปลูกต้นไม้ไม่ว่าจะสถานที่ไหนก็อยากให้คิดถึงต้นไม้ 9 ชนิด หรือบางชนิดใน 9 ชนิดนี้ด้วย เพราะจะได้เป็นมงคลกับสถานที่นั้นๆและส่วนรวม ประเทศไทยของเรา

 

 ต้นไม้ประจำจังหวัด ไม่มีซ้ำ กัน

 แต่ดอกไม้ประจำจังหวัดหลายจังหวัด มีซ้ำกัน ค่ะ

 

 ขอบคุณมากนะคะ ที่ถามมาแต่ยังไม่ขอแก้ไขที่บันทึก

 ขอถาม กรมวิชาการเกษตรก่อนนะคะ เพื่อความแน่ใจ

 

ทำไมถึงต้องมีต้องไม้ประจำจังหวัดหรอค่ะ

แล้วดอกไม้ประจำจังหวัดสำคัญยังไง

ประวัติความเป้นมาคืออะไรหรอค่ะ

หนุสนใจเรื่องดอกไม้ประจำจังหวัดเลยอยากนำข้อมูลไปทำโครงงานค่ะ


ครอบคุณคับที่ให้ความรู้ทุกอย่าง.........................*-*..*-*

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท