การวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา


การวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา

สวัสดีครับ เพื่อนครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกท่าน เชื่อว่าในขณะนี้พวกเราหลายคนกำลังปวดเศียรเวียนเกล้ากับหลักสูตรใหม่อยู่ใช่ไหมครับ ผมคิดว่าตอนนี้หลายคนกำลังมองหาบะหมี่ (หลักสูตร) กึ่งสำเร็จรูปกันอยู่จากสำนักพิมพ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าเราลองมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำหลักสูตรสถานศึกษาจากหลักสูตรแกนกลางปี 51 กันดีกว่าไหมครับ เผื่อว่าเราจะได้อ้างด้วยความภาคภูมิใจว่า "เห็นไหมนี่หลักสูตรนี้ ฉันทำมากับมือทีเดียว" ซึ่งผมคิดว่าเป็นความเท่ห์ไม่หยอกเลยทีเดียว ในวันนี้ผมตั้งใจจะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูในเรื่องการวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา เอาเป็นว่าช่วงแรกนี้เราคุยกันเรื่องการวิเคราะห์สาระและหลักสูตรกันก่อนดีกว่าครับ ซึ่งผมมีวิธีการดังนี้

ในขั้นที่ 1. วิเคราะห์ให้ได้ว่าในแต่สาระและมาตรฐานต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร ทำอะไรได้ และด้วยวิธีการอะไร ยกตัวอย่างเช่น สาระที่ 1 มาตรฐานที่ 1.1 มีว่า เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เพื่อนครูจะเห็นว่าสิ่งที่สาระและมาตรฐานนี้ต้องการให้ผู้เรียนทำได้คือ เข้าใจและตีความ ส่วนสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้คือ สื่อประเภทต่างๆ ด้วยวิธีการ ฟังและอ่าน ครับ เพื่อนครูลองทำอย่างนี้ทุกสาระและมาตรฐานนะครับ การทำอย่างนี้จะช่วยให้พวกเราเห็นว่าในสาระและมาตรฐานนี้ควรสอนทักษะอะไร และสอนเนื้อหาอะไร โดยรวมๆครับ

ในขั้นที่ 2 วิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปีในแต่ละสาระและมาตรฐานว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร และทำอะไรได้ ยกตัวอย่างเช่น ตัวชี้วัดชั้นปีข้อที่ 1 สาระที่ 1 มาตรฐานที่ 1.2 มีว่า สนทนา แลก เปลี่ยนข้อมูลเกี่ยว กับตนเอง กิจกรรม และสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ในตัวชี้วัดนี้หลักสูตรต้องการให้ผู้เรียน สามารถ สนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูล ในเรื่อง ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง กิจกรรม และสถานการณ์ต่างๆ ดำเนินการอย่างนี้ทุกตัวชี้วัดครับ

ในขั้นที่ 3 ให้ลองพิจารณาดูว่าในแต่ละสาระและมาตรฐานนั้นอะไรเป็นสาระและมาตรฐานหลัก และอะไรเป็นสาระและมาตรฐานรอง โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าสาระและมาตรฐานหลักนั้นควรจะเป็นสาระที่ 1 และมาตรฐานที่ 1.1 1.2 และ 1.3 นอกนั้นเป็นสาระและมาตรฐานรองหรือสาระและมาตรฐานองค์ประกอบทั้งสิ้น (ตรงนี้เพื่อนครูอาจนึกค้านอยู่ในใจก็ได้นะครับ ไม่เป็นไรลองแลกเปลี่ยนมาดูครับเพื่อความงอกงามทั้งแก่ตนเองและผมด้วย)

ในขั้นต่อมา ให้ดูว่าในแต่ละสาระและมาตรฐานนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะอะไร ฟัง พูด อ่านหรือเขียน และหลักสูตรกำหนดให้เราต้องสอนเนื้อหาอะไร เช่น ฟังอะไร พูดอะไร อ่านอะไร หรือเขียนอะไร

ทีนี้ผมจะลองนำเสนอการวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปีที่ผมลองทำให้เพื่อนครูได้พิจารณาครับ ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดก็ท้วงติงมาได้นะครับ ถ้าชอบใจอยากเห็นคำอธิบายรายวิชาที่เขียนไว้ก็มาให้กำลังใจด้วยก็แล้วกันครับ

 

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางเพื่อกำหนดคำอธิบายรายวิชา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

สาระที่ ๑   ภาษาเพื่อการสื่อสาร

มาตรฐาน ต ๑.๑   เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนควรทำอะไรได้

ผู้เรียนควรเรียนอะไร/แกนกลาง/ท้องถิ่น

นำไปสู่

สมรรถนะ

คุณลักษณะฯ

๑. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง

คำแนะนำ และ

คำชี้แจงง่ายๆ
ที่ฟังและอ่าน

 

-ฟังแล้วปฏิบัติ

-อ่านแล้วปฏิบัติ

-คำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ และคำชี้แจง

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๒. อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และ
บทร้อยกรอง (poem) สั้นๆ ถูกต้องตาม หลักการอ่าน  

-อ่านออกเสียง

-ข้อความ นิทาน และบทร้อยกรอง

-หลักการอ่านออกเสียง

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๓. เลือก/ระบุประโยคและข้อความ ให้สัมพันธ์กับ

สื่อที่ไม่ใช่ความเรียง (non-text information)ที่อ่าน 

-เลือกหรือระบุ

-ประโยค/ข้อความและความหมายตามหัวข้อที่กำหนดโดยสภายุโรป

-การถ่ายโอนข้อมูลที่ไม่ใช้ความเรียง

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๔.  ระบุหัวข้อเรื่อง (topic) ใจความสำคัญ(main idea) และตอบคำถาม
จากการฟังและอ่านบทสนทนา  นิทาน และเรื่องสั้น

-ระบุ

-ตอบคำถามจากการฟัง

-อ่าน

-การจับใจความสำคัญ

-การฟังเพื่อระบุข้อมูล

-บทสนทนา นิทาน เรื่องสั้น หรือ input จากสื่อประเภทต่างๆ

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

สาระที่ ๑   ภาษาเพื่อการสื่อสาร

มาตรฐาน ต ๑.๒   มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร  แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนควรทำอะไรได้

ผู้เรียนควรเรียนอะไร/แกนกลาง/ท้องถิ่น

นำไปสู่

สมรรถนะ

คุณลักษณะฯ

๑. สนทนา แลก เปลี่ยนข้อมูลเกี่ยว กับตนเอง กิจกรรม และ

สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

-ฟังและพูดเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล

-ภาษาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

-ข้อมูลของตนเอง

-กิจกรรมต่างๆ

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๒. ใช้คำขอร้อง 

ให้คำแนะนำ  และคำชี้แจง ตามสถานการณ์

-พูดขอร้อง ให้คำแนะนำ และคำชี้แจง

-สถานการณ์ต่างๆ

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๓. พูดและเขียนแสดงความต้องการ 
ขอความช่วยเหลือ   ตอบรับและ

ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม

-พูดเพื่อแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับ-ปฏิเสธการช่วยเหลือ

-เขียนเพื่อแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับ-ปฏิเสธการช่วยเหลือ

-สถานการณ์ต่างๆที่กำหนด

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๔. พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่าน อย่างเหมาะสม

-พูดขอและให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็น

-เขียนขอและให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็น

-เรื่องที่ฟังและอ่าน

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๕. พูดและเขียนแสดงความรู้สึก และความคิดเห็น ของตนเอง  เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว กิจกรรมต่างๆพร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆประกอบ
อย่างเหมาะสม

-พูดเพื่อแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก การให้เหตุผลประกอบ

-เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก การให้เหตุผลประกอบ

 

-เรื่องเกี่ยวกับตนเอง

-เรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

สาระที่ ๑   ภาษาเพื่อการสื่อสาร

มาตรฐาน ต ๑.๓  นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนควรทำอะไรได้

ผู้เรียนควรเรียนอะไร/แกนกลาง/ท้องถิ่น

นำไปสู่

สมรรถนะ

คุณลักษณะฯ

๑. พูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเอง  กิจวัตรประจำวัน   ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว

-พูดบรรยาย

-เขียนบรรยาย

-เรื่องของตนเอง

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๒. พูด/เขียน สรุปใจความสำคัญ/แก่นสาระ (theme) ที่ได้จากการวิเคราะห์เรื่อง/เหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของสังคม

-พูดหรือเขียนสรุป

-ใจความสำคัญหรือแก่นสาระของเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของสังคม

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๓. พูด/เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมหรือเรื่องต่างๆ ใกล้ตัวพร้อมทั้งให้เหตุผลสั้นๆ ประกอบ

-พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นและให้เหตุผลประกอบ

-กิจกรรมหรือเรื่องต่างๆใกล้ตัว

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

สาระที่ ๒  ภาษาและวัฒนธรรม

มาตรฐาน ต ๒.๑  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนควรทำอะไรได้

ผู้เรียนควรเรียนอะไร/แกนกลาง/ท้องถิ่น

นำไปสู่

สมรรถนะ

คุณลักษณะฯ

๑.ใช้ภาษา  น้ำเสียง และกิริยาท่าทาง

สุภาพ เหมาะสม ตามมารยาทสังคม  และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

-พูดสนทนา

-พูดบรรยาย/นำเสนอ

-การใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาที่สุภาพเหมาะสมกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๒. บรรยาย เกี่ยวกับเทศกาล 

วันสำคัญ ชีวิตความเป็นอยู่ และประเพณี ของเจ้าของภาษา 

-พูดบรรยาย

-ความเป็นมาและความสำคัญของเทศกาล วันสำคัญ

ชีวิตความเป็นอยู่

ประเพณีของเจ้าของภาษา

1. การสื่อสาร

2. การคิด

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๓. เข้าร่วม/จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ

-เข้าร่วม หรือจัด

-กิจกรมทางภาษาและวัฒนธรรม

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

สาระที่ ๒  ภาษาและวัฒนธรรม

มาตรฐาน ต ๒.๒  เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนควรทำอะไรได้

ผู้เรียนควรเรียนอะไร/แกนกลาง/ท้องถิ่น

นำไปสู่

สมรรถนะ

คุณลักษณะฯ

๑. บอกความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการ

ออกเสียงประโยค
ชนิดต่างๆ  การใช้เครื่องหมายวรรคตอน  และการลำดับคำ ตามโครงสร้างประโยค ของ

ภาษาต่างประเทศ

และภาษาไทย

-บอกความเหมือน ความแตกต่าง

-เติมเครื่องหมายวรรคตอน

-การนิรนัยและอุปนัยโครงสร้างทางภาษา

-การออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ

-เครื่องหมายวรรคตอน

-โครงสร้างในประโยคภาษาอังกฤษและภาษาไทย

1. การสื่อสาร

2. การคิด

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

๒ เปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างระหว่างเทศกาลงานฉลอง 
วันสำคัญ และชีวิตความเป็นอยู่

ของเจ้าของภาษา กับของไทย

-เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง

-เทศกาล งานฉลอง

วันสำคัญและชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษกับของไทย

1. การสื่อสาร

2. การคิด

 

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

สาระที่ ๓  ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

มาตรฐาน ต ๓.๑  ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนควรทำอะไรได้

ผู้เรียนควรเรียนอะไร/แกนกลาง/ท้องถิ่น

นำไปสู่

สมรรถนะ

คุณลักษณะฯ

๑. ค้นคว้า  รวบรวม และสรุปข้อมูล/ ข้อเท็จจริง
ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ
การเรียนรู้อื่นจากแหล่งเรียนรู้และนำเสนอด้วยการพูด/
การเขียน

-ค้นคว้า รวบรวม และสรุป

-นำเสนอด้วยการพูดหรือการเขียน

-ข้อมูลและข้อเท็จจริงจากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

 

1. การสื่อสาร

2. การคิด

3. การใช้เทคโนโลยี

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

สาระที่ ๔  ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

มาตรฐาน ต ๔.๑  ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนควรทำอะไรได้

ผู้เรียนควรเรียนอะไร/แกนกลาง/ท้องถิ่น

นำไปสู่

สมรรถนะ

คุณลักษณะฯ

๑. ใช้ภาษาสื่อสาร ในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา

-ฟัง-พูด

-ฟังแล้วปฏิบัติ

-สถานการณ์จริง สถานการณ์จำลอง

 

1. การสื่อสาร

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

สาระที่ ๔  ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

มาตรฐาน ต ๔.๒  ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

ตัวชี้วัด

ผู้เรียนควรทำอะไรได้

ผู้เรียนควรเรียนอะไร/แกนกลาง/ท้องถิ่น

นำไปสู่

สมรรถนะ

คุณลักษณะฯ

๑. ใช้ภาษา

ต่างประเทศ

ในการสืบค้น/ค้นคว้า ความรู้/ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆในการศึกษาต่อ และ ประกอบอาชีพ

-อ่าน ค้นคว้า สืบค้น

-ข้อมูลจากสื่อประเภทต่างๆ เพื่อการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ

 

1. การสื่อสาร

2. การคิด

3. การใช้เทคโนโลยี

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นทำงาน

หมายเลขบันทึก: 329551เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีคะ อ.ต้น
  • มาเยี่ยมนะคะ
  • มีประโยชน์มากคะ

ขอบคุณค่ะที่แนะนำการวิเคราะห์สาระและมาตรฐาน

ขอบคุณอาจารย์ทั้งสอบท่านมากนะครับสำหรับกำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท