ลงข่วง


ข่วง คือ สถานที่ปลูกยกพื้นสูง ๑ ศอก กว้างยาวประมาณ ๘ – ๑๐ เมตร มีเสาตอหม้ออย่างแข็งแรงปูพื้นด้วยแป้นหรือฝากไม้ไผ่เต็มข่วง ข้างบนไม่มีอะไรมุงส่วนมากจะปลูกที่สนามหน้าบ้านหรือใต้ร่มไม้ใหญ่อาศัยร่มไม้แทนหลังคา

ประเพณีลงข่วงของชาวภูไท กระทำกันในช่วงเวลาว่างจากการทำไร่ทำนา โดยหนุ่มสาวจะใช้เวลานี้ในการพบปะสร้างความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน จนสานต่อเป็นความรักต่อไป

    ข่วง คือ สถานที่ปลูกยกพื้นสูง ๑ ศอก กว้างยาวประมาณ ๘ – ๑๐ เมตร มีเสาตอหม้ออย่างแข็งแรงปูพื้นด้วยแป้นหรือฝากไม้ไผ่เต็มข่วง ข้างบนไม่มีอะไรมุงส่วนมากจะปลูกที่สนามหน้าบ้านหรือใต้ร่มไม้ใหญ่อาศัยร่มไม้แทนหลังคา ในเวลากลางวันจะมีร่มเงาตลอดวัน ส่วนเวลากลางคืนจะได้รับน้ำค้างด้วย ตรงกลาง ข่วงจะมี  เตาไฟ ทำด้วยไม้หน้ากว้างประมาณ ๕ – ๖ นิ้ว ยาวด้านละ ๑ – ๑.๒๐ เมตร ตีขอบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้กาบกล้วยรองพื้นเตาไฟแล้วใช้ดินเหนียวมาใส่ทับอีกชั้นหนึ่งจนเต็มขอบเตาไฟ ใช้น้ำรดข้างบนเกลี่ยจนเรียบปล่อยให้แห้ง ก็จะได้เตาไฟสำหรับก่อกองไฟ บริเวณกลางข่วง

ข่วง  เป็นสถานที่เข็นฝ้าย(ปั่นฝ้าย)ของสาวภูไท โดยใช้ หลาเข็นฝ้าย (ปั่นฝ้าย) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ ข่วงหนึ่ง ๆ จะมีหญิงสาวในคุ้มนั้นประมาณ ๔ – ๕ คนมาลงข่วงเข็นฝ้าย   โดยจะเริ่มลงข่วงหลังจากการเก็บเกี่ยวเอาข้าวขึ้นเล้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นฤดูหนาว  กองไฟกลางข่วงจะมีแสงสว่างเพียงพอในการเข็นฝ้ายและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

พอข้าวขื้นเล้าแล้วในตอนบ่ายหนุ่มสาวภูไทจะชวนกันไปเก็บฟืนกันมาเป็นหาบๆ เพื่อก่อกองไฟที่ข่วง คุ้มใครคุ้มมันตามที่นัดหมาย  พอตกค่ำประมาณ ๑ ทุ่ม สาวๆต่างแต่งตัว เกล้ามวยผมสวยงาม นำหลาเข็นฝ้ายมารวมกันเข็นฝ้ายที่ข่วง ในขณะที่สาวเข็นฝ้าย หนุ่มก็อาจจะเป่าแคน เล่นพิณ หรือเล่านิทานสนุกสนานตามประสาหนุ่มสาว  จนถึงประมาณ ๕ ทุ่ม ก็จะเลิกแล้วกลับบ้าน สาว ๆ บางคนอาจจะไปนอนกับเพื่อนที่บ้านใกล้ข่วง   ถ้ามีหนุ่มมาติดพันก็จะนั่งเกี้ยวพาราสีต่อที่บ้านอาจจะอยู่จนเที่ยงคืนหรือตีหนึ่ง  ช่วงเวลาลงข่วงนี้จะอยู่ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม...สนุกเฮฮาตามประสาหนุ่มสาว.......

..............

หนุ่มภูไท เตรียมไปลงข่วง

ขอบพระคุณที่แวะเข้ามา “ ลงข่วง ” ครับผม.............

 

ข้อมูลจากเอกสารแจก  จากโรงเรียนบ้านนายูง

หมายเลขบันทึก: 329510เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

P 

มาเรียนประเพณีครับ...

ขอบพระคุณครับอาจารย์

P 

ชอบมาก

เลยคะ

*-*

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

  • เป็นวัฒนธรรมอันงดงามนะคะ
  • ผู้เฒ่าผู้แก่  ยิ้มแย้มแจ่มใส 
  • ไม่ทราบว่าสมัยปัจจุบันมีการฟื้นฟูอย่างไรบ้างคะ
  • หนุ่มสาวยุคใหม่ได้เหฌนคุณค่าบ้างไหม
  • ขอขอบคุณค่ะ รักษาสุขภาพนะคะ

P 

สวัสดีค่ะ

  • เป็นวัฒนธรรมอันงดงามนะคะ
  • ผู้เฒ่าผู้แก่  ยิ้มแย้มแจ่มใส 
  • ไม่ทราบว่าสมัยปัจจุบันมีการฟื้นฟูอย่างไรบ้างคะ
  • หนุ่มสาวยุคใหม่ได้เห็นคุณค่าบ้างไหม

สวัสดีครับ  เป็นบุญเดือนสามขึ้นสามค่ำ ปีนี้จัดเป็นปีสาม รูปแบบ แสง สี เสียง ผู้แสดงเป็นชาวบ้าน เริ่มตั้งแต่บรรพบุรุษมาสร้างบ้านที่ที่แห่งนี้จากนั้นเป็นการแสดงวิถีชีวิตของชาวภูไทบ้านนายูง...แกนนำหลัก ๆ ก็ครูอาจารย์ในโรงเรียน และ อบต..ปีนี้ ผอ.สพฐ เขต ๒ นำ ผอ.รร.ในเขตกว่า ๒๐๐ ท่านมาร่วมงานด้วย ครับ ขอบพระคุณครับ

  • สวัสดีคะ
  • มาเยี่ยมนะคะ
  • แม้ว่าเวลาน้อย แต่ก็คิดถึงนะคะ
  • น่าชื่นชมจริงๆ

P 

  • มาเยี่ยมนะคะ
  • แม้ว่าเวลาน้อย แต่ก็คิดถึงนะคะ
  • ขอบพระคุณครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท