มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

สร้อยอักษร อ่อนพฤกษ์ภูมิ : เล่าเรื่องเหล้า...จากพื้นที่ (ตอนที่ 1)


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา สมาคมป้องกันปัญหาจากสุราแห่งประเทศไทย ได้เชิญตัวแทนจากสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เข้าร่วมในพิธีเปิดศูนย์ป้องกันปัญหาจากสุรา ณ ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ภายหลังจากที่สมาคมฯ ได้ดำเนินกิจกรรมนำร่องชุมชนป้องกันปัญหาจากสุรามาแล้ว ใน 9 จังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดได้มีการจัดตั้งชมรมข้างต้นไปแล้วทั้งสิ้น อนึ่ง ในจังหวัดอ่างทอง มีการจัดตั้งชมรมฯ ขึ้นใน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางเจ้าฉ่า และตำบลบางระกำ สำหรับตำบลบางเจ้าฉ่าได้รับเลือกให้เป็นชมรมฯ ดีเด่นของสมาคม เนื่องจากมีกิจกรรมที่เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องประจำปี 2548 และต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์ป้องกันปัญหาจากสุรา ตำบลบางเจ้าฉ่า...

คุณทวีคูณ มาลยาภรณ์ ( กรรมการสมาคมป้องกันปัญหาจากสุราแห่งประเทศไทย )

ถาม…คุณทวีคูณ มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรในศูนย์ป้องกันปัญหาจากสุราฯ

ตอบ…ทำหน้าที่สองตำแหน่ง คือ กรรมการสมาคมป้องกันปัญหาจากสุราแห่งประเทศไทย อีกบทบาทหนึ่งอยู่ในฐานะของที่ปรึกษากลุ่มรัตนเยาวชน สำหรับแนวคิดของรัตนเยาวชนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนให้กับสมาคมฯ คือ…ที่ปรึกษาของกลุ่มรัตนเยาวชนมาเป็นกรรมการ ฉะนั้นงานก็จะตามมา แต่จริงๆ เรามองว่าเรื่องสุรากับเรื่องชุมชนเป็นเรื่องเดียวกัน เนื่องจากรัตนเยาวชน เราคัดเลือกเยาวชนมาจากชุมชนที่อยู่ใน กทม. ผ่านผู้นำชุมชนที่ส่งลูกหลานเข้ามาอบรมเป็นรัตนเยาวชน คือเยาวชนที่เป็นคนเก่งและเป็นคนดี และทำงานในชุมชน เราจะสอนให้เด็กรักบ้านเกิดทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ในชุมชนได้ เน้นขบวนการมีส่วนร่วมระดับชุมชน เพราะประสบการณ์ในการสร้างเยาวชนของเราที่ผ่านมากว่า 20 ปี พอเราสร้างเยาวชนไป ปรากฏว่าเยาวชนจะไปไขว่คว้าหารางวัล หาหน้าตาทางสังคม เราจึงตั้งคำถามว่าจะทำยังไงถึงจะกระตุกวิญญานเยาวชนว่า เมื่อคุณขึ้นมาสู่ระดับไหนก็ตามจะต้องไม่ลืมว่าบ้านเกิดอยู่ที่ตรงไหน


เราจึงเลือกเยาวชนจากชุมชนเข้ามาผ่านกระบวนการเปิดเวทีแล้วเจอเยาวชนที่มีใจม ีจิตสาธารณะอยากช่วยเหลือสังคมอยากช่วยเหลือชุมชน เราโชคดีที่ได้ อ. ศรีวงศ์ ซึ่งเป็นนายกสมาคมป้องกันปัญหาจากสุราฯ ที่เห็นด้วย เพราะเริ่มแรกสำหรับกลุ่มรัตนเยาวชนนั้นเราไปเสนอว่า อยากทำงานเรื่องสุราในชุมชนเพราะมันเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนทับซ้อนกับหลายๆ ปัญหา มองว่าต้นปัญหาอยู่ที่ชุมชนตราบใดที่ชุมชนยังไม่ลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาของ ตัวเอง ทั้งเรื่องความรุนแรงในครอบครัว เรื่องการติดสุราของเยาวชน เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีไปซื้อเหล้า แม้ปัจจุบันจะมี พรบ. ข้อห้ามเรื่องนี้ แต่ก็เน้นไปที่การป้องปรามมากกว่าการลงโทษ มองว่ากฏหมายเป็นเพียงกลไกในการกำกับดูแล มากกว่านั้นคือเรื่องความรุนแรงในครอบครัว ครอบครัวแตกแยกและนำไปสู่ปัญหายาเสพติดหรือพฤติกรรมไม่เหมาะสมอื่นๆ

กระบวนการของรัตนเยาวชนคือ เมื่อเราไปเสนอกับสมาคมฯ แล้วสมาคมฯ เห็นด้วยที่จะทำงานในชุมชน เรามีเครือข่ายอาสาสมัคร 10 จังหวัด เริ่มครั้งแรกที่นครศรีธรรมราช โดยวิธีการทำงานคือเราประสานไปที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ขอให้เค้าถามไปที่อำเภอต่างๆ ที่มีสาธารณสุขอำเภอซึ่งเป็นเครือข่ายว่า ที่ไหนบ้างสนใจจะทำศูนย์ป้องกันฯ ในชุมชน…ตำบลควนหนองคว้า อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอำเภอแรก จากนั้นเราจึงประสานกับสาธารณสุขให้ไปหารือกับกำนัน ให้ช่วยเลือกคนในหมู่บ้านมาทำเวทีประชาคมคุยกัน แล้วเชิญ อ. ศรีวงศ์ไปให้ความรู้เรื่องสุรา ในเวทีมีกระบวนการปลุกจิตสำนึกที่เราซ่อนเอาไว้ โดยคนที่เข้ามาร่วมถ้าเป็นเยาวชนก็จะต้องพาพ่อแม่เข้ามาด้วย แล้วจึงเปิดเวทีคุยกันว่าทุกวันนี้ชุมชนคิดว่าเรื่องสุราเป็นปัญหาของชุมชนห รือไม่ มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาไว้ที่ลำดับไหน และโดยศักยภาพของชุมชนจะแก้ไขปัญหาอย่างไร พร้อมกับสอดแทรกความรู้เรื่องสุราเข้าไป เช่น รู้หรือไม่ว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซื้อเหล้าไม่ได้…ซึ่งในยุคแรกๆ ที่เราไปทำชาวบ้านยังไม่รู้เรื่องนี้ เพราะข้อมูลยังไม่ถึงเพราะเป็นเรื่องระดับนโยบาย พอพูดอย่างนี้ก็จะมีคนที่มีทุกข์ที่ครอบครัวตัวเองต้องเดือดร้อนเพราะเหล้า เราก็จะทำเวทีให้เค้าเปิดว่ามีความทุกข์ยังไงบ้าง แล้วเราก็กระตุ้นเค้าให้ความมั่นใจเค้าให้เค้าช่วยเป็นอาจารย์ให้เรา กุสโลบายคือ ให้เค้าเป็นวิทยากรเปิดเผยเรื่องราวของตัวเองในแง่มุมที่จะมีประโยชน์ต่อคนอ ื่นๆ มาถึงตรงนี้หลายๆ คนในเวทีร้องไห้ เพราะมันทุกข์คล้ายๆ กัน เสร็จแล้วเราจะมีผ้าผืนใหญ่ 1 ผืน ซึ่งด้านบนเขียนคำขวัญของสมาคมว่า “ ทุกหยดของสุรา คือหยาดน้ำตาของครอบครัว “ เราให้เค้าเขียนว่า ถ้าทุกข์แล้วจะแก้ทุกข์ยังไง…แล้วเราก็ทำพันธสัญญาว่า ต่อไปในชุมชนจะไม่ขายเหล้าให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งเราให้ร้านขายเหล้าเข้าร่วมเวทีประชาคมด้วย โดยเค้าเปิดเผยกับเราว่า เค้าไม่มีความสุขในการขายเหล้าให้คนในชุมชน เพราะมันทำให้เค้าไม่มีเวลาสำหรับครอบครัวเพราะคนมากินเหล้ากันดึกๆ ดื่นๆ หนำซ้ำยังมีคนมาต่อยตีกันบ่อยๆ ที่ร้านทำให้ข้าวของเสียหายอยู่เรื่อยๆ แต่ก็ยอมรับว่าหยุดขายไม่ได้เพราะเหล้าเป็นตัวเรียกคนเข้าร้าน แต่ก็รับปากว่าจะลดการขายลงรวมถึงไม่ขายให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีด้วย

มุมมองของผุ้นำชุมชน…เราบอกว่าต่อไปถ้ามีงานอะไรก็ตามในชุมชน ซึ่งปกติทางภาคใต้เวลามีงานขึ้นมาจะมีแผงขายเหล้าเล็กๆ ไปตั้ง นอกเหนือจากการเลี้ยงดูปูเสื่อของเจ้าภาพ ซึ่งกำนันรับปากว่าต่อไปแผงขายเหล้าจะไม่ให้มีแล้ว รวมถึงขอร้องเจ้าภาพให้งดใช้เหล้าเป็นเครื่องดื่มรับแขก แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้ร้อยเปอร์ซ็นต์ ที่สุดแล้วทุกคนก็เห็นด้วยและพร้อมใจกันจัดตั้งชมรมป้องกันปัญหาจากสุรา โดยเราได้ให้เค้าทำสัญญาข้อตกลงระหว่างเวทีประชาคมเป็นลายลักษณ์อักษรใจความ ว่า ต่อไปชุมชนจะมีบทบาทอย่างไรในการต่อต้านสุรา เทียบได้กับการใช้กติกาของสังคมเป็นแม่บท มีการลงนามกันระหว่างสาธารณสุขอำเภอ ประธานชมรมฯ ซึ่งก็เลือกมาจากเวทีในวันนั้น กำนัน สุดท้ายคือ อ. ศรีวงศ์ ก่อนที่จะนำสัญญาฉบับนั้นไปหาพระ คุยกันต่อหน้าพระว่า…เราพร้อมจะจัดตั้งสิ่งเหล่านี้แล้ว ให้พระท่านเป็นพยานร่วมลงนามด้วย

ในภาคบ่าย คนในหมู่บ้านที่เข้าร่วมเวทีประชาคมซึ่งก็คือสายพันธุ์ที่ผ่านกระบวนการคัดเ ลือก จะถูกถามว่า ใครบ้างที่อยากเป็นอาสาสมัคร ซึ่งเราจะเน้นไปที่เยาวชน แต่เราก็ชี้แจงว่าเยาวชนอย่างเดียวเคลื่อนไม่ได้ถ้าไม่มีผู้ใหญ่ประคับประคอ ง จากนั้น อ. ศรีวงศ์ ก็จะมอบทุนตั้งต้นในการดำเนินงานของศูนย์ให้จำนวนห้าพันบาท ขั้นต่อไปในวันเดียวกันนั้นคือ เราจะอบรมคนที่เราเลือกมาประมาณ 60 คน ถึงเรื่องกระบวนการของรัตนเยาวชนโดยสอดแทรกปัญหาเรื่องสุราลงไป ระหว่างอบรมก็จะมีกิจกรรมทำป้ายข้อความเตือนใจเรื่องสุรา พอถึงตอนเย็นเราจะนำป้ายผ้าที่ช่วยกันเขียนไปแห่กันรอบหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์คือ

1. เพื่อให้คนที่ไม่ได้เข้าร่วมได้รู้ว่าภายในหมู่บ้านมีอะไรเกิดขึ้น


2. เราให้เด็กเดินถือกล่องรับบริจาคเงินจากคนในชุมชน มาเป็นเงินก้นถุงเพื่อทำงานตรงนี้

ความจริงแล้ว…เรื่องเงินไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งสำคัญคือกระบวนการจุดประกายให้เกิดสิ่งดีๆ ลงในความรู้สึกนึกคิดของคนในชุมชนมากกว่า

เสร็จแล้วเราจึงปล่อยเด็กๆ กลับบ้าน โดยมีงาน 1 ชิ้นกลับไปด้วยคือ ต้องไปคิดคำขวัญประจำชมรมเอามาประกวดกัน พอตอนกลางคืนกลับมารวมกันอีกทีจะมีการแสดงละครใบ้เกี่ยวกับปัญหาเรื่องสุราใ นชุมชน หลังจากนั้นเราจึงนิมนต์พระคุณเจ้าที่เคยมีประสบการณ์เรื่องสุรามาเทศน์ให้ค นในหมู่บ้านฟัง แล้วก็มีการแสดงของเด็กๆ พร้อมกับขอเรี่ยไรเงินเข้าชมรมอีก

สุดท้าย…ก็นำไปสู่การทำเวิร์คชอปในวันรุ่งขึ้น ให้อาสาสมัครที่มาวิเคราะห์ปัญหาว่า ตัวเค้าและคนรอบข้างได้รับผลกระทบจากสุราอย่างไรบ้าง และจะมีบทบาทในการแก้ไขอย่างไรภายใต้ศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ แล้วจึงให้เค้านำเสนอ โดยเราได้เชิญ อบต. และผู้นำหมู่บ้านมารับฟัง พร้อมกับขายโครงการไปที่ อบต. ว่าจะสามารถนำเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่นได้หรือไม่ อย่างไร และไม่ลืมที่จะเชิญ อบต. มาเป็นพี่เลี้ยงให้โครงการด้วย แล้วเราจึงเลือกคณะกรรมการของชมรม โดยพระคุณเจ้าจะเป็นที่ปรึกษาให้ รวมถึงสาธารณสุขอำเภอ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็คือประธานคือกรรมการของสมาคม มีเยาวชนเป็นเลขา แล้วก้ประชุมกันในวาระต่อไปเพื่อกำหนดบทบาทแบ่งหน้าที่กัน

แต่สิ่งที่เราขอให้เค้าทำก่อนคือ…ขอให้ขึ้นป้าย “ หมู่บ้านป้องกันป้องปัญหาจากสุรา “ ในวาระต่อมาเราก็จะมอบเกียรติบัตรให้ หลังจากนั้นก็ลงไปติดตามประเมินผล ที่ผ่านมาเราทำอย่างนี้ไปแล้ว 9 จังหวัด กระบวนการคล้ายกันซึ่งทุกจังหวัดก็จะได้ผลดี จากนั้นพอถึงวันเข้าพรรษาเค้าจะคิดกิจกรรมของเค้า เช่น เดินรณรงค์บ้างอะไรบ้าง ซึ่งเวลาที่เค้าจะทำกิจกรรม เราจะขอให้เค้าแจ้งเราเพื่อทางเราจะได้ไปร่วมด้วยหากเป็นกิจกรรมที่สำคัญและ เรามีเวลาพอ

สำหรับโครงการที่เรานำลงไปซ้ำอีกทีก็คือ เราให้แต่ละชมรมทำโครงการต่อเนื่องคือ “ เลิกเหล้าแล้วรวย “ ประเด็นคือ เรากำหนดโจทย์ว่าในหมู่บ้านถ้าใครกินเหล้าแล้วเลิกเหล้าได้ เราจะให้ทุนประกอบอาชีพพร้อมเชิญผู้ว่าฯ มามอบโล่ห์ หรือเราอาจจะเชิญเค้ามารับโล่ห์ที่สภาพัฒนาสังคม โดยออกค่าเดินทางให้ทั้งหมด แล้วก็ให้อาสาสมัครของเราติดตามเค้า 1 ปี ซึ่งในขั้นตอนนี้เราได้คนร่วมโครงการมา 17 คน จาก 8 ชมรม

ขณะเดียวกันในแต่ละชุมชนจะมีการทำกล่องเปิดใจด้วย…คือใครมีความทุกข์จากสุราก็ให้มาเขียนระบายไว้แล้วหย่อนลงในกล่อง พอถึง 1 เดือนก็จะเปิดออกมาอ่านกัน ในส่วนของเด็กทุกเดือนก็จะได้ไปประชุมกับ อบต. เสนอแผนงานโครงการ เช่น ทำวอร์คแรลลี่ เพื่อป้องกันปัญหาจากสุรา หาเงินเข้าชมรมโดยการแข่งฟุตบอลอะไรพวกนี้ สำหรับที่อ่างทองนี้มีการเปิดเวทีในลักษณะเดียวกันที่ ต. บางระกำซึ่งเราถือว่าเป็นตำบลคู่แฝดเพื่อให้มีการเกาะเกี่ยวทางด้านความคิดแ ละการลงมือปฏิบัติตามแผนงานร่วมกัน


ในความเป็นจริงแล้ว…ทางสมาคมพยายามเชื่อมชุมชนกับจังหวัดโดยเฉพาะด้านการขอ รับความสนับสนุนด้านงบประมาณ เพราะเราไม่อาจจะหนุนเค้าไปได้ตลอด แต่ถ้าเค้าเดินได้ด้วยตัวเองความยั่งยืนก็จะบังเกิด

ถาม…ปัญหาและอุปสรรคของสมาคมป้องกันปัญหาสุราได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ…เรื่องการทำความเข้าใจในเรื่องสุรา เรื่องสุราพอทุกคนฟังก็มักจะเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว และยังคิดว่าสุรามีประโยชน์ เช่น ไปช่วยในการทำงานคือเป็นสิ่งที่สามารถเรียกคนมารวมกันเพื่อช่วยงานกันได้อย่ างสนุกสนาน เป็นเหมือนสินน้ำใจ เป็นเครื่องปลอบประโลมใจ ซึ่งสิ่งนี้ก็ฝังรากลึกมานานมันเป็นวัฒนธรรมประเพณีเราไม่สามารถไปรื้อมันได ้ ซึ่งเป็นมุมมองที่ตองใช้เวลาในการแก้ไข แต่ว่าเราจะทำยังไงที่จะไม่ให้คนใหม่ๆ คนที่ไม่เคยดื่มเหล้า คนที่เป็นวัยรุ่นเข้าไปสู่กระบวนการเรื่องสุรา ใช้สุราในการแก้ไขปัญหาชีวิตในการทำร้ายตัวเอง โดยเฉพาะเยาวชนปัจจุบันเวลาที่เค้ามีปัญหา หรือแม้แต่เวลาที่มีความสุขก็จะมีเรื่องเหล้าเข้ามา โดยคนที่เข้ามาตรงนี้มักจะเด็กลงไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางที่นำไปสู่ยาเสพติดรวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม อาชญากรรม เรื่องการละเมิดทางเพศ ทำร้ายร่างกายกัน เรามองว่ากลุ่มรัตนเยาวชนก็ดี สมาคมป้องกันปัญหาจากสุราฯ ก็ดี เสมือนต้นหญ้าเล็กๆ ที่ต้านทานน้ำที่ไหลบ่ามาแรงๆ เช่น กระแสของสื่อ การขายเหล้าที่มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ใช้เยาวชนมาเป็นเด็กส่งเสริมการขายตามบาร์เบียร์ แม้จะเป็นอาชีพหนึ่งแต่ก็จูงใจให้คนไปกินเหล้า เราซึ่งเป็นต้นหญ้าเล็กๆ ได้พยายามต้านทานน้ำ ให้ไหลช้าลงไปนิดนึง เราอยากจะเชื่อมกับคนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันให้มาทำงานในทิศทางเดียวกัน ใครจะอยู่ตรงไหนก็ได้ไม่ใช่ประเด็น พอจิ๊กซอว์มันมาต่อเข้าด้วยกันก็จะเป็นพลัง

ในการทำกิจกรรม…เรื่องเงินไม่ใช่อุปสรรค เพราะบางโครงการก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน เพียงแค่เรามีใจเรามีเป้าหมายและเราคิดว่าเราจะขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริ งจัง มีหลายองค์กรที่เค้าสนับสนุนให้คนทำเรื่องนี้ การหาเงินมาทำงานก็ไม่ได้ลำบาก
………………………………………………………………………………………………………………………….


สัมภาษณ์…นพ. ศรีวงศ์ หะวานนท์ นายกสมาคมการป้องกันปัญหาจากสุราแห่งประเทศไทย

ถาม…ขอทราบถึงประวัติความเป็นมาของสมาคมการป้องกันปัญหาจากสุราฯ


ตอบ…ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำนี้ก่อนว่า “ ทุกหยดสุรา คือหยาดน้ำตาของครอบครัว “ นี่คือจุดสำคัญเพราะว่าพอมีใครในครอบครัวดื่มเหล้าแล้ว ทุกคนในบ้านก็จะร้องไห้ จุดกำเนิดของสมาคมเริ่มตั้งแต่ปี 2532 ท่านชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น ผมในฐานะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านเวชกรรมก็ต้องติดตามท่านไปชี้แจงโรงพยาบาลต่างๆ ครั้งหนึ่งไปที่นนทบุรี ท่านชวนก็ขอร้องผมว่า “ หมอ…ในสังคมทุกวันนี้ คนกินเหล้าเป็นปัยหาทำให้สังคมมันร้าวฉานแตกแยกอย่างมาก หมอช่วยทำเรื่องนี้ให้ผมด้วย ช่วยแก้ปัญหาด้วย “

เรื่องนี้ตรงกับใจผมพอดี เพราะผมเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาคุณภาพ ในเรื่องนี้ผมเห็นว่าเหล้าเป็นปัญหา ก็มาพิจารณาว่าเหล้ามีปัญหาอย่างไรบ้าง ซึ่งได้มา 6 ประการคือ 1. ปัญหาอุบัติเหตุ การบาดเจ็บและตาย

2. ปัญหาการทำร้ายร่างกายในชุมชน

3. ปัญหาครอบครัวแตกแยก

4. ปัญหาในเยาวชนที่อายุน้อยลงและหันมากินเหล้ามากขึ้น ทั้งชาย - หญิง เกิดปัญหาเรื่องการศึกษาที่ตกต่ำลง

5. ปัญหาของแรงงานที่กินเหล้า ในภาคอุตสาหกรรมและอื่นๆ

6. ปัญหาสุขภาพ

ด้วยเหตุนี้เองที่ผมได้เสนอขึ้นไป โดยชูประเด็นที่เรื่องของอุบัติเหตุซึ่งเกิดขึ้นมาก เพราะเกือบทุกครั้งของอุบัติเหตุมักจะมาจากการกินเหล้า ประมาณถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และเราจะเห็นว่าในช่วงเวลาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เข้าพรรษา วิสาขบูชา สงกรานต์หรือปีใหม่ก็จะมีคนกินเหล้ามากขึ้น ทำให้อุบัติเหตุสูงขึ้น ซึ่งเมื่อผมทำเรื่องไปชี้แจงท่านชวนก็เห็นดีด้วย ท่านก็ถามว่าจะทำอย่างไร

ผมก็เรียนท่านไปสามประการ อันที่หนึ่งคือ เราจะต้องมี พรบ. งดดื่มสุรา โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดให้ได้มาตรฐานในระดับ 0 มิลลิกรัม เรื่องนี้มีตัวอย่างที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีกฏระเบียบว่าหากมีการเดินทางโดยรถยนต์ต่างๆ คนขับจะต้องไม่

ดื่มสุรา แต่คนอื่นๆ จะดื่มก็ได้ ขณะเดียวกันแอลกอฮอล์ระดับ 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์นั้น จะทำให้มีปัญหาคือสมองแปรปรวน ความจำไม่ดี แต่ก็มาได้ข้อตกลงกันที่ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงเข้าสู่สภา…ในที่สุดก็ผ่าน จากนั้นผมก็ติดตามพระราชกฤษฎีกาก็ผ่าน ก่อนที่กระทรวงมหาดไทยจะออกมาเป็นกฏหมาย ทำไมถึง 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พิสูจน์ว่าระดับแอลกอฮอล์เท่านี้จะก่อให้เกิดสิ่งใดขึ้นบ้าง


ข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้เมื่อผมเกษียณอายุแล้วในปี 2534 ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้คนมีสุขภาพชีวิตที่ดี ทั้งที่เราเป็นเมืองพุทธแต่ทุกคนไม่นับถือศีลห้าเลย มีแค่ 4 ศีลเท่านั้นเอง อันนี้เป็นประเด็นที่สอง

ประเด็นที่สาม…สังคมทุกวันนี้มีปัญหาจากเหล้าอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าของเหล้า หรือการติดเหล้าของประชาชน จริงอยู่มันทำให้ธุรกิจดีขึ้นแต่เมื่อเปรียบเทียบแล้วมันทำลายชีวิต ทำลายอนาคต ทำลายชาติ ทำลายมากมาย ก็มีการศึกษาเหมือนกันว่าการที่เค้าผลิตเหล้า ชาติได้ภาษีซักเท่าไหร่ ปรากฏว่าได้มาหมื่นสองพันล้าน แต่คนที่กินเหล้าแล้วต้องรักษาตัว ชาติต้องเสียงบประมาณตรงนี้ไปเกือบสามหมื่นล้าน

จากเหตุเหล่านี้เองที่ทำให้เราตั้งสมาคมขึ้นมา เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เราคิดว่าจะไปห้ามคนไม่ให้กินเหล้าคงไม่ได้ แต่ว่าเมื่อกินเหล้าก็อย่าสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น

จากนั้นก็มีการจดทะเบียนสมาคมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2535 ตั้งแต่นั้นมาเราก็พยายามรณรงค์ในการแก้ปัญหาเรื่องสุรามาโดยตลอด


วัตถุประสงค์ของสมาคมอันที่หนึ่งก็คือ…ป้องกันไม่ให้มีการกินเหล้า เพื่อไม่ให้เหล้าเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา

อ ันที่สองคือ…เราจะต้องติดตาม ให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกินเหล้า โดยการให้คำแนะนำหรือเชิญผู้ดื่มเหล้าและครอบครัวมาพูดคุยทำความเข้าใจร่วมก ันเพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก

อ ันที่สามคือ…การที่เราต้องขยายผลลงไปทั่วประเทศ เวลานี้เราขยายผลไปหลายจังหวัดแล้ว ทั้งนครศรีธรรมราช อุบล มุกดาหาร ปราจีนบุรี อ่างทอง ตราด พิษณุโลกและอีกหลายๆ แห่ง รวมถึงในกรุงเทพฯ เช่น ที่ลาดปลาเค้า เป็นต้น ซึ่งเรารณรงค์ในกรุงเทพฯ ก่อนที่จะจัดตั้งสมาคม แล้วเวลานี้กรุงเทพฯ ก็ให้ความสนใจ โดยผู้บริหารท่านหนึ่งซึ่งปัจจุบันนี้ท่านเป็นที่ปรึกษาของ กทม. แล้ว คือท่านเพ็ญศรี พิชัยสนิท ท่านก็เห็นว่าเหล้าเป็นปัญหาสังคม

ท างสมาคมเองได้รับการสนับสนุนจากหลายๆ ฝ่ายให้ขยายงานออกไป ไม่ว่าจะเป็น สสส. กทม. หน่วยงานในจังหวัดต่างๆ เช่นวันนี้ที่เราจะไปปลุกความรู้สึกของคนอ่างทองเพื่อให้มีการงดเหล้าเข้าพร รษา

ส ่วนประเด็นเรื่องเหล้ากับการทำลายสุขภาพนั้น…ขอเรียนว่าการดื่มเหล้าทำให้ เป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ เส้นเลือดตีบ โรคลำไส้และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อตายไปย่อมนำความเศร้าโศกมาสู่คนในครอบครัว
………………………………………………………………………………………………………………………….


สัมภาษณ์ คุณปรีชา พิมพ์วิจิตร ประธานสมาคมป้องกันปัญหาจากสุรา ต. บางเจ้าฉ่า อ. โพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

ถาม…สมาคมฯ มีแผนดำเนินงานในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านลด ละ เลิก การดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรบ้าง

ตอบ…ในปัจจุบันซึ่งเราได้ทำการรณรงค์และต่อต้านสุรา มีผลให้ชาวบ้านบางเจ้าฉ่าและบางระกำดื่มสุราลดลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้เรามีนโยบายว่าเราจะยิงตรงเข้าสู่ตัวผู้ดื่มโดยผ่านอาสาสมัคร ทั้งเรื่องการให้คำปรึกษาและการชี้ให้เห็นโทษ

ถาม…ใช้สิ่งใดเป็นตัวชี้วัดว่าชาวบ้านดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง

ต อบ…วัดจากปริมาณการขายของร้านค้า ยกตัวอย่างครอบครัวผม คือพ่อแม่ของผมมีร้านค้าและขายเหล้าด้วย ก็นำปริมาณการขายมาวัดได้ อย่างเมื่อก่อนเหล้าขาว 40 ดีกรี ขายได้วันละ 16 ขวด แต่เดี๋ยวนี้เหลือประมาณ 7 ขวด

ส ำหรับโครงการต่อไปคือ ขยายวงให้กว้างออกไปอีกเพราะตอนนี้แนวร่วมของเรามีมากพอสมควรแต่เรายังอยากไ ด้เพิ่มอีก คือเราต้องการให้พื้นที่รอบตำบลของเราปลอดจากสุราโดยสิ้นเชิง

ส่วนในตำบลของเราก็พยายามเข้าถึงเป็นรายตัว หรือครอบครัว เพราะโดยส่วนรวมปริมาณการดื่มลดลงก็จริงแต่ลึกๆ แล้วยังมีอยู่
………………………………………………………………………………………………………………………….


สัมภาษณ์ คุณวิวัฒน์ มั่นคง สมาชิกสมาคมป้องกันปัญหาจากสุรา ต. บางเจ้าฉ่า เยาวชนอายุ 18 ปี เคยดื่มเหล้าตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ป. 6 ปัจจุบันได้ปฏิญานตนเลิกเหล้าแล้ว

ถาม…ในอดีต ดื่มเหล้ามานานแค่ไหน อย่างไร

ตอบ…ดื่มตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ป. 6 ถึง ม. 3

ถาม…ปัจจุบันอายุเท่าไหร่

ตอบ…18 ปี

ถาม…เพราะอะไรถึงดื่มเหล้ามาตั้งแต่ ป. 6

ตอบ…ที่บ้านทะเลาะกัน พ่อแม่แยกทางกัน

ถาม…มีใครในการบ้านดื่มเหล้าให้เห็นหรือเปล่า

ตอบ…พ่อ

ถาม…ขณะนี้อาศัยอยู่กับใคร

ตอบ…อยู่กับป้า

ถาม…คิดอะไรในใจ เมื่อตอนครั้งแรกที่ดื่มเหล้า

ตอบ…คิดอะไรไม่ออก

ถาม…ผู้ใหญ่ในบ้านรู้มั้ยว่าดื่มเหล้า

ตอบ…ไม่มีใครรู้ เพราะออกมากินกับพวกเพื่อนๆ

ถาม…ตอนหลังมีใครรู้เรื่องนี้มั้ย

ตอบ…ตอนหลังคนในบ้านก็รู้

ถาม…นานมั้ยกว่าที่คนในบ้านจะรู้เรื่องนี้

ตอบ…ไม่นาน

ถาม…ตอนนั้น การดื่มเหล้าช่วยอะไรได้บ้าง ชีวิตดีขึ้นมั้ย

ตอบ…ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น

ถาม…มันเป็นอย่างไร

ตอบ…สติมันฟุ้งซ่าน

ถาม…เพราะอะไรถึงมาเข้าร่วมกับสมาคมฯ

ตอบ…เพื่อป้องกันพ่อแม่ ที่กินเหล้าแล้วทะเลาะกันเกิดความแตกแยกในครอบครัว อยากจะรณรงค์เรื่องนี้

ถาม…มองเห็นข้อเสียของเหล้ายังไงบ้าง

ตอบ…มันมีผลกระทบต่อสุขภาพและครอบครัวด้วย

ถาม…มันมีข้อดีหรือไม่

ตอบ…ไม่น่าจะมี

ถาม…มันช่วยให้ลืมความทุกข์มั้ย

ตอบ…ก็ลืมได้

ถาม…ลืมได้ตลอดมั้ย

ตอบ…ไม่ตลอด พอตื่นเช้ามาก็เหมือนเดิม

ถาม…ตอนนี้คิดหาทางแก้ปัญหาในครอบครัวได้หรือยัง

ตอบ…ปล่อยมันไปเลย พ่อแม่แยกทางไปเราก็ตั้งตัวของเราให้ดี ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด

ถาม…ปัจจุบันยังเรียนอยู่หรือเปล่า

ตอบ…เรียน กศน. อยู่

ถาม…ยังดื่มเหล้าอยู่บ้างมั้ย

ตอบ…ไม่ดื่มแล้ว

ถาม…มีบทบาทอย่างไรในสมาคมฯ

ตอบ…มาช่วยงานรณรงค์ ติดป้าย และช่วยสื่อสารกับชาวบ้านด้วย

ถาม…ในฐานะที่เคยดื่มมาก่อนแล้วมาทำงานในส่วนนี้ ญาติๆ เห็นแบบนี้แล้วเค้าพูดว่ายังไงบ้าง

ตอบ…เค้าบอกว่า เข้ามาในชมรมนี้ก็ดีนะ ก็รณรงค์ไป

ถาม…เมื่อก่อนนี้มีช่วงไหนที่รู้สึกว่าตัวเองดื่มหนัก

ตอบ…ช่วงก่อนพ่อแม่จะแยกทางกัน

ถาม…กินมากแค่ไหน

ตอบ…1 กลม กินกับเพื่อนสามคน

ถาม…เพื่อนอยู่ในวัยเดียวกันหรือเปล่า

ตอบ…รุ่นเดียวกัน

ถาม…แล้วตอนนี้เพื่อนๆ เหล่านั้นยังดื่มอยู่มั้ย

ตอบ…เดี๋ยวนี้เค้าไม่ค่อยกินแล้ว แต่ว่าที่อื่นก็ไม่แน่ใจ

ถาม…ช่วงที่ยังดื่มเหล้า เคยเจอเหตุการณ์อะไรมั้ยที่เตือนใจถึงอันตรายของเหล้า

ตอบ…มีตอนที่พ่อแม่ทะเลาะกัน แล้วพ่อจะเอามีดขึ้นไปฟันแม่ ตอนนั้นทำอะไรไม่ถูกเลย

ถาม…เคยประสบอุบัติเหตุจากการดื่มเหล้าแล้วขับรถมั้ย

ตอบ…ตอนขับรถไม่ได้กินเลย ถ้ากินก็จะให้เพื่อนไปรับหรือไปส่ง

ถาม…จากการเข้าร่วมสมาคมฯ ตั้งใจไว้อย่างไรเกี่ยวกับการเลิกเหล้า หรือมองว่าอนาคตยังไม่แน่นอน

ตอบ…น่าจะไม่กินแล้ว

ถาม…การกินเหล้าทำให้สิ้นเปลืองเงินทองมั้ย ช่วงนั้นหาเงินเองได้หรือยัง

ตอบ…ตอนนั้นยังหาเงินไม่ได้ แต่ตอนนี้ทำงานแล้วเก็บเงินซื้อมอเตอร์ไซด์เอง
………………………………………………………………………………………………………………………….


สัมภาษณ์ กำนันสุรินทร์ นิลเลิศ ผู้นำชาวบ้านของตำบลบางเจ้าฉ่า

ถาม…กำนันมีแนวคิดที่จะทำชุมชนปลอดเหล้ามานานแค่ไหนแล้ว

ต อบ…เราถือว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาของครอบครัวและสังคม เราทำงานกันมาสองปีแล้ว เริ่มตั้งแต่เราใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือด้วยทำให้เกิดการเรียนรู้ มีการเก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลจะบอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวนี้ รายจ่ายฟุ่มเฟือยหรือเปล่า รายจ่ายประเภทไหนบ้าง มีเรื่องเหล้า และอบายมุขต่างๆ หรือเปล่า เรื่องนี้ก้นำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ นำไปสู่การแก้ไข โดยเราจะมีการทำเป็นแผนในสามระดับ

หนึ่งคือ…การพึ่งตนเอง ก ็คือการลดในเชิงพฤติกรรมของตนเอง เช่น การลดค่าใช้จ่ายทางด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆ ซึ่งคนอื่นจะมาบังคับไม่ได้นอกจากตัวเค้าเองที่จะนำมาสู่การลดค่าใช้จ่ายเหล ่านี้ คือเราใช้กระบวนการเรียนรู้ให้เค้าเข้าใจด้วยตัวเอง

ถาม…ในภาคปฏิบัตินั้นจะต้องรุกคืบเข้าไปอย่างไร เพื่อให้ชุมชนตระหนักรับรู้เรื่องการลดเหล้า

ต อบ…เราต้องทำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางอ้อมคือเรื่องของการประชาสัมพันธ์นำไปสู่การสอดแทรกในเรื่องของกิจกรรมต่ างๆ ให้ผู้คนเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเรื่องของงานศพ งานบวช งานแต่งอะไรต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วเหล้าก็จะเข้าไปอยู่ในงานเหล่านี้คล้ายกับเป็นวัฒนธรรม นั่นคือจุดหนึ่งที่เรามอบหมายให้อาสาสมัครเป็นตัวเข้าไปขับเคลื่อน โดยเฉพาะเยาวชนยังเป็นกลุ่มคนที่ใสๆ ก็จะนำไปสู่การขยายผลในเชิงของความรู้ เชิงของกิจกรรมและสร้างความตระหนักให้ผู้คน ให้พ่อแม่ - เครือญาติ ให้พี่น้องได้เห็นโทษเห็นทุกข์แล้วปรับพฤติกรรมตนเอง

สำหรับทางตรงคือ เราพยายามที่จะรณรงค์เรื่องของการทำกิจกรรมสังคมต่างๆ นั้น ให้ไม่มีสุราเข้าไปข้องเกี่ยว

ถาม…ได้พบปัญหา - อุปสรรคบ้างหรือไม่นับตั้งแต่ทำโครงการนี้มา

ต อบ…โดยตรงยังไม่มี แต่ในเชิงของความเข้าใจและทิฐิอันนี้ยังมีอยู่ เรื่องของการยอมรับวิธีการ ยอมรับอาสาสมัครหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ก็ยังมีอยู่ เพราะชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ยังเคยชินกับวัฒนธรรมเก่าๆ แต่บางส่วนที่ยอมรับได้ก็ปรับพฤติกรรมดีขึ้น เราก็อาจจะต้องใช้เวลา พร้อมกับทำโครงการเรียนรู้ให้เค้าแบบสะสมและต่อเนื่องต่อไป
………………………………………………………………………………………………………………………….

ที่มา :: http://www.stopdrink.com/webboard/public/view.php?id=250


หมายเลขบันทึก: 32939เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท